เมนู

ส่วนพระมหาปทุมเถระ กล่าวไว้ว่า เหตุการณ์แม้นั่น ก็เป็นของ
ไม่หนักแก่พระอัครสาวก ผู้ได้บรรลุที่สุดยอดแห่งปัญญา 16 อย่างเลย, ส่วน
การที่พระอัครสาวก ผู้อยู่ในสถานที่เดียวกันกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำการ
วินิจฉัยเสียเอง ก็เป็นเช่นกับการทิ้งตราชั่งแล้วกลับชั่งด้วยมือ ; เพราะเหตุนั้น
พระเถระจึงเข้าไปเฝ้าทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าเสียทีเดียว. ถัดจากนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงวิสัชนาคำทูลถามของพระเถระนั้น จึงตรัสพระดำรัส
มีอาทิว่า ภควโต จ สารีปุตฺต วิปสฺสิสฺส ดังนี้. คำนั้นมีเนื้อความตื้น
ทั้งนั้น.
พระเถระ เมื่อจะทูลถามถึงเหตุการณ์ต่อไปอีก จึงได้กราบทูลคำมี
อาทิว่า โก นุ โข ภนฺเต เหตุ (ที่แปลว่า อะไรหนอแลเป็นเหตุ พระเจ้าข้า!)
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก นุ โข ภนฺเต เป็นคำทูลถามถึง
เหตุการณ์. ใจความแห่งบทนั้นว่า เหตุเป็นไฉนหนอแล พระเจ้าข้า !
คำทั้งสองนี้คือ เหตุ ปจฺจโย เป็นชื่อแห่การณ์ จริงอยู่ การณ์
ท่านเรียกว่า เหตุ เพราะเป็นเครื่องไหลออก คือเป็นไปแห่งผลของการณ์นั้น.
เพราะผลอาศัยการณ์นั้นแล้วจึงดำเนิน คือจึงเป็นไปได้ ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า
ปัจจัย. บทแม้ทั้งสองนี้ในที่นั้น ๆ แม้เป็นอันเดียวกันโดยใจความถ้อยคำ ดังที่
กล่าวมาแล้วนั้น. คำที่เหลือในคำว่า โก นุ โข เป็นต้นนี้ ก็มีเนื้อความ
ตื้นทั้งนั้น.

[พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเพราะบริษัทมีมากหรือน้อยก็หาไม่]


ก็เพื่อแสดงเหตุและปัจจัยนั้น ในบัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง
ตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า สารีปุตฺต วิปสฺสี.