เมนู

จักทำให้เป็นเช่นกับแผ่นดิน ครั้นข้าพระพุทธเจ้าทำอย่างนั้นแล้ว จักทำ
เหล่าสัตว์ผู้อาศัยแผ่นดินให้ก้าวไปบนมือนั้น เหมือนทำให้สัตว์ผู้ดำรงอยู่แล้ว
บนพื้นฝ่ามือข้าหนึ่งนั้น ก้าวไปบนพื้นฝ่ามือข้าที่สองฉะนั้น.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้พลิกแผ่นดิน]


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงคัดค้านการทูลขอของ
พระเถระนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า อย่าเลย โมคคัลลานะ !
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลํ เป็นพระดำรัสที่ตรัสคัดค้าน.
หลายบทว่า วิปลฺลาสมฺปิ สตตา ปฏิลเภยฺยํ ความว่า สัตว์
ทั้งหลายพึงเข้าถึงแม้การถือคลาดเคลื่อนไป.
ถามว่า พึงถึงการถือคลาดเคลื่อนอย่างไร ?
แก้ว่า อย่างนี้คือ นี้เป็นแผ่นดิน หรือนี้มิใช่แผ่นดินหนอ. อีกอย่าง
หนึ่ง พึงถึงการถือคลาดเคลื่อนที่ตรงกันข้ามอย่างนี้คือ นี้เป็นบ้านของพวกเรา
หรือเป็นบ้านของคนเหล่าอื่นหนอ. ในนิคม ชนบท นาและสวนเป็นต้น
ก็มีนัยดังกล่าวมาแล้วนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง นั้นมิใช่วิปัลลาส. เพราะว่าอิทธิวิสัยของท่านผู้มีฤทธิ์
เป็นอจินไตย. ส่วนมนุษย์ทั้งหลาย พึงได้รับความเข้าใจผิด อย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า
ทุพภิกขภัยนี้ หาใช่จะมีในบัดนี้เท่านั้นไม่. แม้ในอนาคต ก็จักมี, ในกาลนั้น
ภิกษุทั้งหลาย จักได้เพื่อนพรหมจารีผู้มีฤทธิ์เช่นนั้นแม่ที่ไหนเล่า ? ท่านเหล่านั้น
เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระสุขวิปัสสก ท่านผู้ได้
ฌาน และผู้บรรลุปฏิสัมภิทา แม้เป็นพระขีณาสพก็มี จักเข้าไปบิณฑบาตยัง
ตระกูลอื่น เพราะไม่มีอิทธิพล ความวิตกอย่างนี้ ของมนุษย์ทั้งหลายจักมีขึ้น

ในภิกษุเหล่านั้นว่า ในครั้งพุทธกาล ภิกษุทั้งหลายได้เป็นผู้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
ในสิกขาทั้งหลายแล้ว, ท่านเหล่านั้นได้ให้คุณทั้งหลายเกิดขึ้นแล้ว ทั้งในคราว
มีทุพภิกขภัย ก็ได้พลิกแผ่นดิน แล้วฉันง้วนดิน, แต่บัดนี้ ท่านผู้บำเพ็ญ
ให้บริบูรณ์ในสิขาย่อมไม่มี, ถ้าจะพึงมีไซร้ก็พึงจะทำเหมือนอย่างนั้นทีเดียว
ด้วยคิดว่า มนุษย์ทั้งหลาย ไม่พึงถวายบิณฑบาตที่สุกหรือดิบอย่างใดยอย่างหนึ่ง
แก่พวกเรา เพื่อขบฉัน ดังนี้, เพราะความวิตกอย่างว่ามานี้ มนุษย์เหล่านั้น
พึงได้วิปัลลาส (ความเข้าใจเคลื่อนคลาด) นี้ ในพระอริยบุคคลทั้งหลาย
ซึ่งมีตัวอยู่นั่นแหละว่า พระอริยบุคคลทั้งหลาย ไม่มี :- ก็แลมนุษย์ทั้งหลาย
ผู้ติเตียนว่าร้ายอยู่ซึ่งพระอริยบุคคลด้วยอำนาจวิปัลลาส (ความเข้าใจผิด) จะ
พึงเป็นผู้เข้าถึงอบาย เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า การ
พลิกแผ่นดิน เธออย่าชอบใจเลย ดังนี้.
ลำดับนั้น พระเถระเมื่อทูลขอเรื่องนี้ไม่ได้ จะทูลขอเรื่องอื่น (ต่อไป)
จึงได้กราบทูลคำมีอาทิว่า ดีละ พระเจ้าข้า !
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงคัดค้านคำทูลขอแม้นั้น ของพระเถระ
นั้น จึงตรัสพระดำรัส มีอาทิว่า อย่าเลย โมคคัลลานะ ! .
คำว่า สัตว์ทั้งหลาย พึงได้รับแม้ซึ่งวิปัลลาส ดังนี้ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าไม่ได้ตรัสไว้ในคำว่า อย่าเลย โมคคัลลานะ ! ดังนี้ เป็นต้น แม้ก็จริง.
ถึงกระนั้น บัณฑิตก็ควรถือเอา โดยนัยดังที่กล่าวมาแล้วในตอนต้นนั่นแหละ,
อนึ่ง แม้ใจความแห่งคำนั้น ก็ควรทราบเช่นกับที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง.
ถามว่า ก็ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พึงทรงอนุญาตไซร้ , พระเถระจะ
พึงทำอย่างไร ?

แก้ว่า พระเถระพึงอธิษฐานมหาสมุทรให้ขนาดเท่าเหมืองที่จะพึงข้าม
ด้วยอย่างเท้าก้าวเดียว แล้วซักหนทางจากต้นสะเดาที่นเฬรุยักษ์สิงอยู่มุ่งหน้าตรง
ไปยังอุตรกุรุทวีป แล้วแสดงอุดรกุรุทวีปไว้ในที่อันสมบูรณ์ด้วยการไปและ
การมา ให้ภิกษุทั้งหลายไปบิณฑบาตแล้วออกไปได้ตามสบาย เหมือนเข้า
ไปสู่โคจรตามฉะนั้น.
สีหนาทกถา ของพระมหาโมคคัลลานะ จบ.

เรื่องปัญหาของพระสารีบุตร


บัดนี้ ท่านพระอุบาลี เมื่อจะแสดงการที่พระสารีบุตรเถระเกิดความ
รำพึง ที่ปฏิสังยุตด้วยสิกขาบท เพื่อแสดงนิทานตั้งต้นแต่เค้าเดิม แห่งการ
ทรงบัญญัติพระวินัย จึงได้กล่าวคำมีอาทิ อถโข อายสฺมโต สารึปุตฺตสฺส
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รโหคตสฺส แปลว่า ไปแล้วในที่สงัด.
บทว่า ปฏิสลฺลีนสฺส แปลว่า หลีกเร้นอยู่ คือถึงความเป็นผู้
โดดเดี่ยว.
บทว่า กตเมสานํ ความว่า บรรดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระ-
วิปัสสีเป็นต้น ที่ล่วงไปแล้ว ของพระพุทธเจ้าพระองค์ไหน ? พรหมจรรย์
ชื่อว่าดำรงอยู่นาน เพราะอรรถว่า พรหมจรรย์นั้นดำรงอยู่ตลอดกาลนาน
หรือมีการดำรงอยู่นาน. คำที่ยังเหลือในบทว่า อถโข อายสฺมโต เป้นต้นนี้
มีใจความเฉพาะบทตื้นทั้งนั้น.
ถามว่า ก็พระเถระ ไม่สามารถจะวินิจฉัยความปริวิตกของตนนี้
ด้วยตนเองหรือ ?
ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยต่อไป :- พระเถระ ทั้งสามารถ ทั้งไม่สามารถ.
จริงอยู่ พระสารีบุตรเถระนี้ ย่อมสามารถวินิจฉัยเหตุมีประมาณเท่านี้ได้ คือ
ธรรมดาศาสนาของพรพุทธเจ้าเหล่านี้ดำรงอยู่ไม่ได้นาน, ของพระพุทธเจ้า
เหล่านี้ ดำรงอยู่ได้นาน แต่ท่านไม่สามารถจะวินิจฉัยเหตุนี้ว่า ศาสนาดำรงอยู่
ไม่ได้นาน เพราะเหตุนี้ ดำรงอยู่ได้นาน เพราะเหตุนี้ ดังนี้.