เมนู

อิริยนํ (ความเคลื่อนไหว) ปวตฺตนํ (ความเป็นไป) ชีวิตํ (ความเป็นอยู่)
มีใจความอย่างเดียวกัน เพราะฉะนั้น ในบทว่า ทฺวีหิติกา นี้ จึงมีใจความ
เฉพาะบทดังนี้ คือ ความพยายามความเป็นทุกข์ ย่อมเป็นไปในเมือง
เวรัญชานี้ เพราะเหตุนั้น เมืองเวรัญชานี้ จึงชื่อว่า ทฺวีหิติกา.
บทว่า เสตฏฺฐิกา ความว่า เมืองเวรัญชา ชื่อว่ามีกระดูกคนตาย
ขาวเกลื่อน เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ที่เมืองเวรัญชานี้มีกระดูกขาวเกลื่อน.
มีอธิบายว่า ซากศพของพวกมนุษย์กำพร้า ผู้ขอแม้ตลอดวันก็ไม่ได้อะไร ๆ
ตายแล้ว มีกระดูกสีเหมือนเห็ดหัวงูเกลื่อนกลาดอยู่ในที่นั้น ๆ . ปาฐะว่า
เสตัฏฏิกา ดังนี้บ้าง. ความหมายแห่งปาฐะนั้นว่า โรคตายขาว มีอยู่ในเมือง
เวรัญชานี้ เหตุนั้นเมืองเวรัญชานี้ จึงชื่อว่า มีโรคตายขาว. ความอาดูร คือ
ความเสียดแทงเพราะความเจ็บไข้ ชื่อว่า อัฏฏิ. ก็ในเมืองเวรัญชานั้น ใน
เวลาที่ข้ากล้ามีท้องมาน รวงข้าวสาลีก็ดี รวงข้าวเหนียวและข้าวละมานก็ดี
มีสีขาว ๆ ถูกโรคตายขาวนั่นเองทำให้เสีย ก็ขาดน้ำนม ไม่มีเมล็ดข้าวสารงอก
ออกมา (คือตกเป็นรวงออกมา) เพราะฉะนั้น เมืองเวรัญชานี้ ท่านจึงเรียกว่า
เสตัฏฏิกา (เมืองมีโรคข้าวกล้าตายขาว).

[เมืองเวรัญชามีปันส่วนซื้ออาหารเลี้ยงชีพ]


ในเวลาหว่าน ข้าวกล้าที่ประชาชนแม้ผสมพันธุ์หว่านไว้ดีแล้ว ย่อม
สำเร็จเป็นสลากเท่านั้น ในเมืองเวรัญชานั้น เพราะเหตุนั้น เมืองเวรัญชานั้น
จึงชื่อว่า มีข้าวกล้าที่หว่านสำเร็จเป็นสลาก. อีกอย่างหนึ่ง ประชาชน
ทั้งหลาย ย่อมให้ชีวิตเป็นไปในเมืองเวรัญชานั้นด้วยสลาก (คือการแจงบัตร)
เพราะฉะนั้น เมืองเวรัญชานั้น จึงชื่อว่า มีชีวิตเป็นไปได้ด้วนสลาก.

มีคำกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ? มีคำกล่าวอธิบายไว้อย่างนี้ คือ ดังได้
สดับมา ในเมืองเวรัญชานั้น เมื่อประชาชนทั้งหลายผู้ชื้อ ไปยังสำนักของพวก
พ่อค้าผู้ขายข้าวเปลือก พวกมนุษย์มีกำลัง (ทรัพย์) กดขี่พวกมนุษย์ผู้ไม่มี
กำลัง (ทรัพย์) แล้วซื้อเอาข้าวเปลือกไป (หมด). พวกมนุษย์ไม่มีกำลัง
(ทรัพย์) เมื่อไม่ได้ (ข้าวเปลือก) ย่อมส่งเสียงดัง. พวกพ่อค้าผู้ขายข้าวเปลือก
ปรึกษากันว่า พวกเราจักทำการสงเคราะห์ประชาชนทั้งหมด จึงสั่งให้ช่างผู้ตวง
ข้าวเปลือก นั่งในสำนักงานที่ ๆ ตวงข้าวเปลือก แล้วให้ผู้ชำนาญการดูกหาปณะ
นั่งอยู่ที่ส่วนข้างหนึ่ง. พวกมนุษย์ผู้มีความต้องการข้าวเปลือก ก็ไปยังสำนักงาน
ของผู้ชำนาญการดูกหาปณะ. ผู้ชำนาญการดูกหาปณะนายนั้น ถือเอามูลค่า
โดยลำดับแห่งชนผู้มาแล้ว จึงเขียนสลาก (คือบัตร) ให้ไปว่า ควรให้แก่ชน
ชื่อนี้ มีประมาณเท่านี้. พวกมนุษย์ผู้มีความต้องการข้าวเปลือกเหล่านั้น รับเอา
สลากนั้นแล้ว ไปยังสำนักของช่างผู้ตวงข้าวเปลือก แล้วรับเอาข้าวเปลือก
โดยลำดับที่เขาตวงให้. ประชาชนทั้งหลาย ย่อมให้ชีวิตเป็นไป ในเมือง
เวรัญชานั้นด้วยสลาก เพราะเหตุนั้น เมืองเวรัญชานั้น จึงชื่อว่า มีชีวิตเป็นไป
ได้ด้วยสลาก ดังพรรณนามาฉะนี้.
หลายบทว่า น สุกรา อุญฺเฉน ปคฺคเหน ยาเปตุํ ความว่า
ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไป ด้วยการถือบาตรแสวงหา ก็ทำไม่ได้ง่าย.
มีคำอธิบายว่า ใคร ๆ ถือบาตรแล้ว จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการแสวงหา
อย่างที่พวกพระอริยเจ้าทำการแสวงหา คือเที่ยวภิกขาจารนั้น ก็ทำไม่ได้ง่าย ๆ
เลย. ได้ยินว่า คราวนั้น ในเมืองเวรัญชานั้นพวกภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาต
ตลอด 7-8 หมู่บ้าน ก็ไม่ได้อาหารพอสักว่ายังอัตภาพให้เป็นไป แม้ในวันหนึ่ง.

[พ่อค้าม้าถวายข้าวทะนานหนึ่งแก่ภิกษุรูปหนึ่ง]


ข้อว่า เตน โข ปน สมเยน อุตฺตราปถกา อสฺสวาณิชา
ฯ เป ฯ อสฺโสสิ โข ภควา อุทุกฺขลสทฺทํ
พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เตน ความว่า โดยสมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัย
เมืองเวรัญชาจำพรรษานั้น พวกพ่อค้าม้า ผู้อยู่ในอุตราปถชนบท หรือผู้
ได้ชื่ออย่างนั้น เพราะมาจากอุตตราปถชนบท รับ (ซื้อ) เอาม้า 500 ตัว
ในสถานที่เป็นถิ่นเกิดของม้าทั้งหลายในอุตตราปถชนบทแล้ว เมื่อปรารถนา
รายได้ (ผลกำไร) 2-3 เท่า ก็ไปยังต่างประเทศ แล้วเข้าพักฤดูฝนอยู่ใน
เมืองเวรัญชา พร้อมด้วยฝูงม้ามีประมาณ 500 ซึ่งเป็นสินค้าที่ตนจะต้องขาย
เหล่านั้น.
ถามว่า เพราะเหตุไร จึงต้องพักอยู่เช่นนั้น ?
แก้ว่า เพราะว่าในประเทศนั้น ใคร ๆ ไม่อาจเดินทางไกล ตลอด
4 เดือนในฤดูฝนได้. . . ก็พวกพ่อค้าม้าเหล่านั้น เมื่อจะเข้าพักฤดูฝน จึงได้สั่ง
ให้นายช่างสร้างเรือนพักสำหรับตน และโรงม้าสำหรับพวกม้าไว้ในสถานที่น้ำ
จะท่วมไม่ได้ ในภายนอกพระนครแล้ว กั้นรั้วไว้. สถานที่พักของพวกพ่อค้า
เหล่านั้น ๆ ปรากฏว่า อัสสมัณฑลิกา (คอกม้า) เพราะเหตุนั้น ท่าน
พระอุบาลีเถระ จึงกล่าวไว้ว่า พวกพ่อค้าม้าเหล่านั้น ได้ตกแต่งข้าวแดง
แล่งหนึ่ง ๆ สำหรับภิกษุทั้งหลายไว้ที่คอกม้า ดังนี้.
บทว่า ปตฺถปตฺถปุลกํ ได้แก่ ข้าวแดงมีประมาณแล่งหนึ่ง ๆ
สำหรับภิกษุรูปหนึ่ง ๆ ชื่อว่าแล่งหนึ่ง มีประมาณเท่าทะนานหนึ่ง เพียงพอ
เพื่อเลี้ยงอัตภาพให้เป็นไป สำหรับคนหนึ่ง. สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้า