เมนู

อิริยนํ (ความเคลื่อนไหว) ปวตฺตนํ (ความเป็นไป) ชีวิตํ (ความเป็นอยู่)
มีใจความอย่างเดียวกัน เพราะฉะนั้น ในบทว่า ทฺวีหิติกา นี้ จึงมีใจความ
เฉพาะบทดังนี้ คือ ความพยายามความเป็นทุกข์ ย่อมเป็นไปในเมือง
เวรัญชานี้ เพราะเหตุนั้น เมืองเวรัญชานี้ จึงชื่อว่า ทฺวีหิติกา.
บทว่า เสตฏฺฐิกา ความว่า เมืองเวรัญชา ชื่อว่ามีกระดูกคนตาย
ขาวเกลื่อน เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ที่เมืองเวรัญชานี้มีกระดูกขาวเกลื่อน.
มีอธิบายว่า ซากศพของพวกมนุษย์กำพร้า ผู้ขอแม้ตลอดวันก็ไม่ได้อะไร ๆ
ตายแล้ว มีกระดูกสีเหมือนเห็ดหัวงูเกลื่อนกลาดอยู่ในที่นั้น ๆ . ปาฐะว่า
เสตัฏฏิกา ดังนี้บ้าง. ความหมายแห่งปาฐะนั้นว่า โรคตายขาว มีอยู่ในเมือง
เวรัญชานี้ เหตุนั้นเมืองเวรัญชานี้ จึงชื่อว่า มีโรคตายขาว. ความอาดูร คือ
ความเสียดแทงเพราะความเจ็บไข้ ชื่อว่า อัฏฏิ. ก็ในเมืองเวรัญชานั้น ใน
เวลาที่ข้ากล้ามีท้องมาน รวงข้าวสาลีก็ดี รวงข้าวเหนียวและข้าวละมานก็ดี
มีสีขาว ๆ ถูกโรคตายขาวนั่นเองทำให้เสีย ก็ขาดน้ำนม ไม่มีเมล็ดข้าวสารงอก
ออกมา (คือตกเป็นรวงออกมา) เพราะฉะนั้น เมืองเวรัญชานี้ ท่านจึงเรียกว่า
เสตัฏฏิกา (เมืองมีโรคข้าวกล้าตายขาว).

[เมืองเวรัญชามีปันส่วนซื้ออาหารเลี้ยงชีพ]


ในเวลาหว่าน ข้าวกล้าที่ประชาชนแม้ผสมพันธุ์หว่านไว้ดีแล้ว ย่อม
สำเร็จเป็นสลากเท่านั้น ในเมืองเวรัญชานั้น เพราะเหตุนั้น เมืองเวรัญชานั้น
จึงชื่อว่า มีข้าวกล้าที่หว่านสำเร็จเป็นสลาก. อีกอย่างหนึ่ง ประชาชน
ทั้งหลาย ย่อมให้ชีวิตเป็นไปในเมืองเวรัญชานั้นด้วยสลาก (คือการแจงบัตร)
เพราะฉะนั้น เมืองเวรัญชานั้น จึงชื่อว่า มีชีวิตเป็นไปได้ด้วนสลาก.