เมนู

เมืองเวรัญชาเกิดทุพภิกขภัย


หลายบทว่า เตน โข ปน สมเยน เวรณฺชา ทุพฺภิกฺขา โหต
ความว่า โดยสมัยที่เวรัญชพราหมณ์ทูลขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยเมือง
เวรัญชาจำพรรษานั้น เมืองเวรัญชา เป็นเมืองมีภิกษาหาได้ยาก.
บทว่า ทุพฺภิกฺขา แปลว่า มีภิกษาหาได้โดยยาก. ก็ความมีภิกษา
หาได้ยากนั้น ย่อมมีในถิ่นที่พวกมนุษย์ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส ในเวลา
ที่ข้าวกล้าสมบูรณ์ดีก็ตาม ในเวลาปุพพัณณะและอปรัณณะมีราคาถูกก็ตาม
(มีราคาตกต่ำ). แต่ในเมืองเวรัญชา หาได้เป็นอย่างนั้นไม่ โดยที่แท้ ได้มี
เพราะโทษคือความอดยาก เหตุที่มีข้าวกล้าเสียหาย เพราะฉะนั้น ท่านพระ
อุบาลีเถระ เมื่อจะแสดงความข้อนั้น จึงกล่าว่า ทฺวีหิติกา ดังนี้เป็นต้น.
ในคำว่า ทฺวีหิติกา เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ : -
บทว่า ทฺวีหิติกา ได้แก่ ความพยายามที่เป็นไปแล้ว 2 อย่าง.
ความเคลื่อนไหว ชื่อว่า อีหิตะ (ความพยายาม). ความพยายามนี้เป็นไปแล้ว
2 อย่างคือ จิตตอิริยา (ความเคลื่อนไหวแห่งจิต) 1 จิตตอีหา (ความ
พากเพียรแห่งจิต) 1.
ในบทว่า ทฺวีหิติกา นี้ มีอธิบายดังนี้ว่า ความเคลื่อนไหวแห่งจิต
ที่เป็นไปแล้ว 2 อย่างนี้ คือ พวกเราขอวัตถุอะไร ๆ อยู่ในที่นี้จักได้หรือจัก
ไม่ได้หนอแล อีกอย่างหนึ่ง พวกเราจักอาจเพื่อเป็นอยู่หรือจักไม่อาจหนอแล.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ทฺวีหิติกา แปลว่า เป็นผู้อยู่อย่างฝืดเคือง.
จริงอยู่ บททั้งหลายเป็นต้นคือ อีหิตํ (ความพยายาม) อีหา (ความพรากเพียร)