เมนู

ส่วนในอธิการนี้ พึงทราบอธิบายว่า พราหมณ์ เมื่อกล่าวถึงสรณคมน์
ซ้ำอีกว่า ผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิต ชื่อว่า ประกาศมอบถวายตน (แก่พระ-
รัตนตรัย).

[พราหมณ์ทูลขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้าจำพรรษา ณ เมืองเวรัญชา]


เวรัญชพราหมณ์ ครั้นมอบถวายตนอย่างนั้นแล้ว มีความประสงค์
จะอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมทั้งบริษัท จึงกราบทูลว่า และขอท่าน
พระโคดมผู้เจริญ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงทรงรับการอยู่จำพรรษาที่เมือง
เวรัญชา ของข้าพเจ้าเถิด.
พราหมณ์ กราบทูลความประสงค์ไว้อย่างไร. กราบทูลไว้อย่างนี้ว่า
ขอท่านพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสก และขอจงทรงรับ
การอยู่จำพรรษาที่เมืองเวรัญชา ของข้าพเจ้าเถิด คือขอให้ทรงรับการอาศัย
เมืองเวรัญชาอยู่จำพรรษาตลอดไตรมาส เพื่ออนุเคราะห์ข้าพระองค์เถิด.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับการอยู่จำพรรษาเมืองเวรัญชา]


หลายบทว่า อธิวาเสสิ ภควา ตุณฺหีภาเวน ความว่า ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสดับคำของพราหมณ์นั้นแล้ว ก็ไม่ทรงยังองค์คือกาย
หรือองค์คือวาจาให้ไหวเลย ทรงไว้ซึ่งพระขันติในภายในนั่นแล ทรงรับ
(คำอาราธนา) โดยพระดุษณีภาพ. ท่านอธิบายไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงรับด้วยพระหฤทัยทีเดียว เพื่อทรงอนุเคราะห์พราหมณ์.
หลายบทว่า อถโข เวรญฺโช พฺราหฺมโณ ภควโต อธิวาสนํ
วิทิตฺวา
ความว่า ครั้งนั้นแล เวรัญชพราหมณ์ คิดว่า ถ้าท่านพระสมณโคดม
ไม่พึงทรงรับ (คำอาราธนา) ของเรา จะพึงทรงคัดค้านด้วยกายหรือด้วยวาจา

แต่เพราะพระองค์ไม่ทรงคัดค้าน ทรงพระขันติไว้ในภายใน, ฉะนั้น พระองค์
ก็ทรงรับ (คำอาราธนา) ของเรา ด้วยพระหฤทัยนั่นเอง ดังนี้ ครั้นทราบ
การทรงรับคำอาราธนาของพระผู้มีพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะความที่ตนเป็นผู้ฉลาด
ในการกำหนดรู้อาการดังพรรณนามาแล้วนั้น จึงลุกจากอาสนะที่ตนนั่ง ถวาย
บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าในทิศทั้ง 4 ด้วยความเคารพ แล้วทำประทักษิณ
3 รอบ แม้ได้ติเตียนจำเดิมแต่เวลาที่ตนมาว่า พระสมณโคดมไม่ทรงทำ
สามีจิกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้น แก่พวกพราหมณ์ผู้แก่กว่าโดยชาติ เป็นต้น
บัดนี้ ได้รู้พระพุทธคุณอย่างซาบซึ้งแล้ว ถึงไหว้อยู่ด้วยกายวาจาและใจ
หลายครั้งหลายหน ก็ยังเป็นผู้ไม่อิ่มนั่นเอง จึงได้ประคองกระพุ่มมือ อัน
รุ่งเรืองด้วยความประชุมพร้อมแห่งนิ้วทั้ง 10 แล้วยกชูขึ้นไว้บนเศียร เดิน
ถอยหลังหันหน้าไปทาง (พระผู้มีพระภาคเจ้า) จนพ้นทัศนวิสัย ได้ถวายบังคม
ในที่พ้นทัศนวิสัยแล้วหลีกไป.

เมืองเวรัญชาเกิดทุพภิกขภัย


หลายบทว่า เตน โข ปน สมเยน เวรณฺชา ทุพฺภิกฺขา โหต
ความว่า โดยสมัยที่เวรัญชพราหมณ์ทูลขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยเมือง
เวรัญชาจำพรรษานั้น เมืองเวรัญชา เป็นเมืองมีภิกษาหาได้ยาก.
บทว่า ทุพฺภิกฺขา แปลว่า มีภิกษาหาได้โดยยาก. ก็ความมีภิกษา
หาได้ยากนั้น ย่อมมีในถิ่นที่พวกมนุษย์ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส ในเวลา
ที่ข้าวกล้าสมบูรณ์ดีก็ตาม ในเวลาปุพพัณณะและอปรัณณะมีราคาถูกก็ตาม
(มีราคาตกต่ำ). แต่ในเมืองเวรัญชา หาได้เป็นอย่างนั้นไม่ โดยที่แท้ ได้มี
เพราะโทษคือความอดยาก เหตุที่มีข้าวกล้าเสียหาย เพราะฉะนั้น ท่านพระ
อุบาลีเถระ เมื่อจะแสดงความข้อนั้น จึงกล่าว่า ทฺวีหิติกา ดังนี้เป็นต้น.
ในคำว่า ทฺวีหิติกา เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ : -
บทว่า ทฺวีหิติกา ได้แก่ ความพยายามที่เป็นไปแล้ว 2 อย่าง.
ความเคลื่อนไหว ชื่อว่า อีหิตะ (ความพยายาม). ความพยายามนี้เป็นไปแล้ว
2 อย่างคือ จิตตอิริยา (ความเคลื่อนไหวแห่งจิต) 1 จิตตอีหา (ความ
พากเพียรแห่งจิต) 1.
ในบทว่า ทฺวีหิติกา นี้ มีอธิบายดังนี้ว่า ความเคลื่อนไหวแห่งจิต
ที่เป็นไปแล้ว 2 อย่างนี้ คือ พวกเราขอวัตถุอะไร ๆ อยู่ในที่นี้จักได้หรือจัก
ไม่ได้หนอแล อีกอย่างหนึ่ง พวกเราจักอาจเพื่อเป็นอยู่หรือจักไม่อาจหนอแล.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ทฺวีหิติกา แปลว่า เป็นผู้อยู่อย่างฝืดเคือง.
จริงอยู่ บททั้งหลายเป็นต้นคือ อีหิตํ (ความพยายาม) อีหา (ความพรากเพียร)