เมนู

ของพระกัสสปผู้มีพระภาคเจ้าอันตรธานไป เหมือนใคร ๆ พึงเปิดของที่ปิดไว้
ออกฉะนั้น ทรงตรัสบอกทางสวรรค์และนิพพานให้แก่เรา ผู้ดำเนินไปสู่ทาง
ชั่วและทางผิด เหมือนใคร ๆ พึงบอกทางให้แก่คนหลงทางฉะนั้น ทรงส่อง
แสงสว่าง คือเทศนา อันเป็นเครื่องกำจัดความมืด คือโมหะอันปกปิดรูป
คือพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นนั้น แก่เรา ผู้จมอยู่ในความมืด คือ
โมหะ ซึ่งไม่เห็นรูป คือพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เหมือนใคร ๆ
พึงส่องประทีปน้ำมันในที่มืดให้ฉะนั้น ได้ทรงประกาศพระธรรมแก่เรา โดย
อเนกปริยาย เพราะทรงประกาศ ด้วยบรรยายทั้งหลายเหล่านี้.

[เวรัญชพราหมณ์แสดงตนถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง]


เวรัญชพราหมณ์ ครั้นชมเชยพระธรรมเทศนาอย่างนั้นแล้ว มีจิต
เลื่อมใสในพระรัตนตรัย เพราะพระธรรมเทศนานี้ เมื่อจะทำอาการอันผู้มี
ความเลื่อมใสพึงกระทำ จึงได้กราบทูลว่า เอสาหํ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอสาหํ ตัดเป็น เอโส อหํ แปลว่า
ข้าพเจ้านี้.
หลายบทว่า ภวนฺตํ โคตมํ สรณํ คจฺฉามิ ความว่า ข้าพเจ้า
ขอถึงพระโคดมผู้เจริญว่าเป็นที่พึ่ง คือข้าพเจ้าขอถึง ขอคบ ขอช่องเสพ ได้แก่
ขอเข้าไปนั่งใกล้พระโคดมผู้เจริญ ด้วยความประสงค์นี้ว่า พระโคดมผู้เจริญ
ทรงเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้า คือทรงเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ทรงเป็นผู้ป้องกัน
ความทุกข์ และทรงทำประโยชน์เกื้อกูล (แก่ข้าพเจ้า) ข้าพเจ้าย่อมทราบ
คือย่อมรู้สึก ดังกราบทูลมาแล้วนั่นแล.
จริงอยู่ คติ (ความถึง) เป็นความหมายแห่งธาตุเหล่าใด แม้ พุทธิ
(ความรู้) ก็เป็นความหมายแห่งธาตุเหล่านั้น เพราะฉะนั้น บทว่า คจฺฉามิ

นี้ ท่านก็กล่าวความหมายแม้นี้ไว้ดังนี้ว่า ชานามิ พุชฺฌามิ (แปลว่า
ย่อมทราบ คือย่อมรู้สึก).
[

อรรถาธิบายคำว่าพระธรรม

]
ก็ในคำว่า ธมฺมญฺจ ภิกฺขุสงฺฆญฺจ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
สภาพที่ชื่อว่า ธรรม เพราะอรรถว่า ทรงไว้ซึ่งบุคคล ผู้ได้บรรลุ
มรรค ผู้ทำให้แจ้งนิโรธแล้ว และผู้ปฏิบัติอยู่ตามคำพร่ำสอน มิได้ตกไปใน
อบาย. ธรรมนั้น โดยอรรถ ได้แก่อริยมรรคและนิพพาน. สมจริงดังพระ-
ดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมทั้งหลาย
ที่ปัจจัยปรุงแต่งได้ก็ดี ที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ก็ดี มีประมาณเพียงไร อริย-
มรรคมีองค์ 8 เราเรียกว่า ประเสริฐกว่าธรรมเหล่านั้น.1 ควรกล่าวให้พิสดาร.
ธรรมนั้น ได้แก่อริยมรรคและนิพพานอย่างเดียว ก็หามิได้ ถึงแม้ปริยัติธรรม
รวมกับอริยผล ก็ชื่อว่าธรรม.
* สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในฉัตตมาณเวกวิมานว่า
ท่านจงเข้าถึงพระธรรม อันเป็นธรรม
คลายความกำหนัด เป็นธรรมไม่หวั่นไหว
ไม่มีความเศร้าโศก อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้
ไม่ปฏิกูล เป็นธรรมไพเราะคล่องแคล่ว

อันเราจำแนกดีแล้ว เพื่อเป็นที่พึงเถิด2 ดังนี้.
แท้จริง ในพระคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสมรรคว่า เป็นธรรม
คลายความกำหนัด ตรัสผลว่า เป็นธรรมไม่หวั่นไหวไม่มีความเศร้าโศก ตรัส
1. ขุ. อิติวุตฺตก. 25 / 29.
* องค์การศึกษาแผนกบาลีแปลออกสอบในสนามหลวง พ.ศ. 2903
2. ขุ. วิมาน. 26 / 94