เมนู

เวรัญชพราหมณ์ได้สติรู้สึกตัว


ในคำว่า เอวํ วุตฺเต เวรญฺโช พฺราหฺมโณ นี้ มีอธิบายว่า
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงอนุเคราะห์แก่โลก จะทรงอนุเคราะห์พราหมณ์
ได้ตรัสความที่พระองค์เป็นผู้เจริญและประเสริฐที่สุด ด้วยอริยชาติ แม้ที่ควร
ปกปิด ด้วยธรรมเทศนาอันประกาศวิชชา 3 โดยนัยดังกล่าวมาอย่างนี้
เวรัญชพราหมณ์ มีกายและจิตเต็มเปี่ยมไปด้วยความแผ่ซ่านไปแห่งปีติ รู้ความ
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้เจริญและประเสริฐที่สุด ด้วยอริยชาตินั้น จึง
ตำหนิตนเองว่า เราได้กล่าวพระสัพพัญญูผู้ประเสริฐกว่าโลกทั้งหมด ทรง
ประกอบด้วยพระคุณทั้งปวง ชื่อเช่นนี้ว่า ไม่ทรงทำกรรมมีการกราบไหว้
เป็นต้นแก่ชนเหล่าอื่น เฮ้ย ! น่าติเตียนความไม่รู้อะไรเสียจริง ๆ หนอ ดังนี้
จึงตกลงใจว่า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ ชื่อว่าเป็นผู้เจริญที่สุดใน
โลก เพราะอรรถว่าเป็นผู้เกิดก่อน ด้วยอริยชาติ ชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุด
เพราะอรรถว่า ไม่มีผู้เสมอด้วยพระคุณทั้งปวง แล้วได้กราบทูลคำนี้กระพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม เป็นผู้เจริญที่สุด ท่านพระโคดม เป็นผู้
ประเสริฐที่สุด ก็แลครั้นกราบทูลอย่างนั้นแล้ว เมื่อจะชมเชยพระธรรมเทศนา
ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นอีก จึงได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ !
พระดำรัสของพระองค์ น่าชมเชยยิ่งนัก ดังนี้เป็นต้น.

[อรรถาธิบายอภิกกันตศัพท์ลงในอรรถ 4 และ 9 อย่าง]


ในคำว่า อภิกฺกนฺตํ เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- อภิกกันตศัพท์นี้
ย่อมปรากฏในอรรถ คือ ขยะ (ความสิ้นไป) สุนทระ (ความดี) อภิรูปะ
(รูปงาม) และอัพภานุโมทนะ (ความชมเชย).

จริงอยู่ อภิกกันตศัพท์ ปรากฏในความสิ้นไป ในประโยคทั้งหลาย
เป็นต้นว่า พระเจ้าข้า ! ราตรีล่วงไปแล้ว ปฐมยามผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์
นั่งรอนานแล้ว.1
อภิกกันตศัพท์ ปรากฏในความดี ในประโยคทั้งหลายเป็นต้นว่า
คนนี้ ดีกว่า และประณีตกว่า 4 คนเหล่านี้.2
อภิกกันตศัพท์ ปรากฏในรูปงาม ในประโยคทั้งหลายเป็นต้นว่า
ใคร ช่างรุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ ด้วยยศ
มีพรรณงดงามยิ่งนัก ยังทิศทั้งปวงให้สว่าง
อยู่ กำลังไหว้เท้าของเรา3 ?

อภิกกันตศัพท์ ปรากฏในความชมเชย ในประโยคทั้งหลายเป็นต้นว่า
พระเจ้าข้า ! ภาษิตของพระองค์ น่าชมเชยยิ่งนัก.
แม้ในอธิการนี้ อภิกกันตศัพท์ ก็ปรากฏในความชมเชยทีเดียว.
พึงทราบสันนิษฐานว่า ก็เพราะอภิกกันตศัพท์ ปรากฏในความชมเชย ฉะนั้น
เวรัญชพราหมณ์ จึงกล่าวอธิบายไว้ว่า ดีละ ๆ ท่านพระโคดมผู้เจริญ !
ก็ในอธิการนี้ อภิกกันตศัพท์นี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้ 2 ครั้ง
ด้วยอำนาจแห่งความเลื่อมใสและด้วยอำนาจแห่งความสรรเสริญ ด้วยลักษณะ
นี้คือ :-
บัณฑิตผู้รู้ พึงทำการกล่าวซ้ำ ๆ ไว้
(ในอรรถ 9 อย่างเหล่านี้) คือ ในภยะ
(ความกลัว) ในโกธะ (ความโกรธ) ใน

1. วิ. จุลฺล. 7 / 283. 2. องฺ. จตุกฺก. 21 / 933. 3. ขุ. วิมาน. 26 / 89.
4. ที. สี. 9 / 112.

ปสังสา (ความสรรเสริญ) ในตุริตะ (ความ
รีบด่วน) ในโกตุหละ (ความตื่นเต้น) ใน
อัจฉระ (ความอัศจรรย์) ในหาสะ (ความ
ร่าเริง) ในโสกะ (ความโศก) และในปสาทะ
(ความเลื่อมใส).

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อภิกฺกนฺตํ แปลว่า น่าใคร่ยิ่งนัก น่าปรารถนา
ยิ่งนัก น่าชอบใจยิ่งนัก มีคำอธิบายไว้ว่า ดียิ่งนัก.
บรรดาอภิกกันตศัพท์ 2 อย่างนั้น เวรัญชพราหมณ์ ย่อมชมเชย
เทศนา ด้วยอภิกกันตศัพท์อย่างหนึ่ง ย่อมชมเชยความเลื่อมใสของตน ด้วย
อภิกกันตศัพท์อย่างหนึ่ง. จริงอยู่ ในความชมเชยนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ ! พระธรรมเทศนาของท่านพระโคดมผู้เจริญนี้ น่าชมเชย
ยิ่งนัก ความเลื่อมใสของข้าพระองค์อาศัยพระธรรมเทศนาของท่านพระโคดม
ผู้เจริญ ดียิ่งนัก. เวรัญชพราหมณ์ ชมเชยปาพจน์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
นั่นแล มุ่งใจความเป็นสองอย่าง ๆ.

[ปาพจน์มีความดี 18 อย่าง]


บัณฑิต พึงประกอบปาพจน์ ด้วยเหตุทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ คือ :-
พระดำรัสของพระโคดมผู้เจริญ ชื่อว่าดียิ่งนัก เพราะยังโทสะให้พินาศ 1
ชื่อว่าดียิ่งนัก เพราะให้บรรลุคุณ 1 อนึ่ง เพราะให้เกิดศรัทธา 1 เพราะให้
เกิดปัญญา 1 เพราะเป็นไปกับด้วยอรรถ 1 เพราะเป็นไปกับด้วยพยัญชนะ 1
เพราะมีบทอันตื้น 1 เพราะมีเนื้อความลึกซึ้ง 1 เพราะไพเราะโสด 1 เพราะ
เข้าถึงหทัย 1 เพราะไม่ยกตนขึ้นอวดอ้าง 1 เพราะไม่ข่มผู้อื่น 1 เพราะเย็น
ด้วยพระกรุณา 1 เพราะทรงตรัสถามด้วยพระปัญญา 1 เพราะเป็นที่รื่นรมย์แห่ง