เมนู

อริยุปวาทเข้าด้วยวจีทุจริตศัพท์นั่นเอง และมิจฉาทิฏฐิเข้าด้วยมโนทุจริตศัพท์
เช่นกันแล้ว การกล่าวถึงกรรมทั้ง 2 เหล่านี้ซ้ำอีก พึงทราบว่า มีการแสดง
ถึงข้อที่กรรมทั้ง 2 นั้นมีโทษมากเป็นประโยชน์. จริงอยู่ อริยุปวาท มีโทษ
มากเช่นกับอนันตริยกรรม. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน
สารีบุตร ! เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อม
ด้วยปัญญาพึงได้ลิ้มอรหัตผล ในภพปัจจุบันนี้แล แม้ฉันใด, ดูก่อนสารีบุตร !
เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ฉันนั้น บุคคลนั้น ไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิด
นั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสียแล้ว ต้องถูกโยนลงในนรก (เพราะอริยุปวาท)
เหมือนถูกนายนิรยบาลนำมาโยนลงในนรกฉะนั้น.1 ก็กรรมอย่างอื่น ชื่อว่า
มีโทษมากกว่ามิจฉาทิฏฐิย่อมไม่มี. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส
ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เรายังไม่เล็งเห็นแม้ธรรมอย่างหนึ่งอื่น ซึ่งมีโทษ
มากกว่าเหมือนอย่างมิจฉาทิฏฐินี้เลย ภิกษุทั้งหลาย ! โทษทั้งหมดมีมิจฉาทิฏฐิ
เป็นอย่างยิ่ง2 ดังนี้.
สองบทว่า กายสฺส เภทา ความว่า เพราะสละอุปาทินนกขันธ์เสีย
(ขันธ์ที่ยังมีกิเลสเข้าไปยึดครองอยู่).
บทว่า ปรมฺมรณา ความว่า แต่การถือเอาขันธ์ที่เกิดขึ้นในลำดับ
แห่งการสละนั้น. อีกอย่างหนึ่ง สองบทว่า กายสฺส เภทา คือ เพราะความ
ขาดสูญแห่งชีวิตินทรีย์. บทว่า ปรมฺมรณา คือ ต่อจากจุติจิต.
[

อรรถาธิบายคำว่านรกได้ชื่อว่าอบายเป็นต้น

]
คำทั้งหมดมีอาทิอย่างนี้ว่า อปายํ เป็นไวพจน์แห่งคำว่า นิรยะ,
จริงอยู่ นิรยะ ชื่อว่า อบาย เพราะไปปราศจากความเจริญ ที่สมมติว่าเป็นบุญ
อันเป็นเหตุแห่งสวรรค์และนิพพาน หรือเพราะไม่มีความเจริญขึ้นแห่งความสุข.
1 ม. มู. 12 / 145. 2. องฺ. ติก. 20 / 4.