เมนู

[วิธีขอขมาเพื่อให้อดโทษให้ในการด่าใส่ร้าย]


เพราะฉะนั้น ผู้ใดแม้อื่น กล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้า ผู้นั้นไปแล้ว
ถ้าท่านแก่กว่าตนไซร้, ก็พึงให้ท่านอดโทษให้ ด้วยเรียนท่านว่า กระผมได้
กล่าวคำนี้และคำนี้กะพระคุณเจ้าแล้ว ขอพระคุณเจ้าได้อดโทษนั้นให้กระผม
ด้วยเถิด ถ้าท่านอ่อนกว่าตนไซร้ ไหว้ท่านแล้วนั่งกระโหย่งประคองอัญชลี
พึงขอให้ท่านอดโทษให้ ด้วยเรียนท่านว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! กระผมได้กล่าว
คำนี้และคำนี้กะท่านแล้ว ขอท่านจงอดโทษนั้นให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ถ้าท่าน
ไม่ยอมอดโทษให้ หรือท่านหลีกไปยังทิศ (อื่น) เสีย พึงไปยังสำนักของภิกษุ
ทั้งหลายผู้อยู่ในวิหารนั้น. ถ้าท่านแก่กว่าตนไซร้ พึงยืนขอขมาโทษทีเดียว
ถ้าท่านอ่อนกว่าตนไซร้ ก็พึงนั่งกระโหย่งประคองอัญชลี ให้ท่านช่วยอดโทษ
ให้ พึงกราบเรียนให้ท่านอดโทษอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! กระผมได้
กล่าวคำนี้ และคำนี้กะท่านผู้มีอายุชื่อโน้นแล้ว ขอท่านผู้มีอายุรูปนั้น จงอด
โทษให้แก่กระผมด้วยเถิด ถ้าพระอริยเจ้านั้นปรินิพพานแล้วไซร้, ควรไป
ยังสถานที่ตั้งเตียงที่ท่านปรินิพาน แม้ไปจนถึงป่าช้าแล้ว พึงให้อดโทษให้
เมื่อตนได้กระทำแล้วอย่างนี้ กรรมคือการใส่ร้ายนั้น ก็ไม่เป็นทั้งสัคคาวรณ์
มัคคาวรณ์ (ไม่ห้ามทั้งสวรรค์ทั้งมรรค) ย่อมกลับเป็นปกติเดิมทีเดียว.

[การกล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้ามีโทษเช่นกับอนันตริยกรรม]


บทว่า มิจฺฉาทิฏฐิกา แปลว่า มีความเห็นวิปริต.
บทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิกมฺมสมาทานา ความว่า ก็คนเหล่าใด ให้ชน
แม้เหล่าอื่นสมาทาน บรรดากรรมมีกายกรรมเป็นต้น ซึ่งมีมิจฉาทิฏฐิเป็นมูล.
คนเหล่านั้น ชื่อว่ามีกรรมนานาชนิดอันตนสมาทานถือเอาแล้ว ด้วยอำนาจ
มิจฉาทิฏฐิ. ก็บรรดาอริยุปวาทและมิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น แม้เมื่อท่านสงเคราะห์

อริยุปวาทเข้าด้วยวจีทุจริตศัพท์นั่นเอง และมิจฉาทิฏฐิเข้าด้วยมโนทุจริตศัพท์
เช่นกันแล้ว การกล่าวถึงกรรมทั้ง 2 เหล่านี้ซ้ำอีก พึงทราบว่า มีการแสดง
ถึงข้อที่กรรมทั้ง 2 นั้นมีโทษมากเป็นประโยชน์. จริงอยู่ อริยุปวาท มีโทษ
มากเช่นกับอนันตริยกรรม. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน
สารีบุตร ! เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อม
ด้วยปัญญาพึงได้ลิ้มอรหัตผล ในภพปัจจุบันนี้แล แม้ฉันใด, ดูก่อนสารีบุตร !
เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ฉันนั้น บุคคลนั้น ไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิด
นั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสียแล้ว ต้องถูกโยนลงในนรก (เพราะอริยุปวาท)
เหมือนถูกนายนิรยบาลนำมาโยนลงในนรกฉะนั้น.1 ก็กรรมอย่างอื่น ชื่อว่า
มีโทษมากกว่ามิจฉาทิฏฐิย่อมไม่มี. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส
ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เรายังไม่เล็งเห็นแม้ธรรมอย่างหนึ่งอื่น ซึ่งมีโทษ
มากกว่าเหมือนอย่างมิจฉาทิฏฐินี้เลย ภิกษุทั้งหลาย ! โทษทั้งหมดมีมิจฉาทิฏฐิ
เป็นอย่างยิ่ง2 ดังนี้.
สองบทว่า กายสฺส เภทา ความว่า เพราะสละอุปาทินนกขันธ์เสีย
(ขันธ์ที่ยังมีกิเลสเข้าไปยึดครองอยู่).
บทว่า ปรมฺมรณา ความว่า แต่การถือเอาขันธ์ที่เกิดขึ้นในลำดับ
แห่งการสละนั้น. อีกอย่างหนึ่ง สองบทว่า กายสฺส เภทา คือ เพราะความ
ขาดสูญแห่งชีวิตินทรีย์. บทว่า ปรมฺมรณา คือ ต่อจากจุติจิต.
[

อรรถาธิบายคำว่านรกได้ชื่อว่าอบายเป็นต้น

]
คำทั้งหมดมีอาทิอย่างนี้ว่า อปายํ เป็นไวพจน์แห่งคำว่า นิรยะ,
จริงอยู่ นิรยะ ชื่อว่า อบาย เพราะไปปราศจากความเจริญ ที่สมมติว่าเป็นบุญ
อันเป็นเหตุแห่งสวรรค์และนิพพาน หรือเพราะไม่มีความเจริญขึ้นแห่งความสุข.
1 ม. มู. 12 / 145. 2. องฺ. ติก. 20 / 4.