เมนู

ในคำว่า กายทุจฺจริเตน เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ความประพฤติ
ชั่ว หรือความประพฤติเสียหาย เพราะมีกิเลสเป็นความเสียหาย เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่า ทุจริต. ความประพฤติชั่วทางกาย หรือความประพฤติชั่วที่เกิดจาก
กาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า กายทุจริต. แม้วจีทุจริต และมโนทุจริต ก็
ควรทราบดังอธิบายนี้.
บทว่า สมนฺนาคตา แปลว่า เป็นผู้พร้อมเพรียง.

[การด่าพระอริยเจ้าห้ามสวรรค์และห้ามรรค]


สองบทว่า อริยานํ อุปวาทกา ความว่า สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความ
เห็นผิด เป็นผู้ใคร่ซึ่งความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ กล่าวใส่ร้าย มีคำอธิบายว่า
ด่าทอ ติเตียนพระอริยเจ้าทั้งหลาย คือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า
และพระสาวกของพระพุทธเจ้า โดยที่สุด แม้คฤหัสถ์ผู้เป็นพระโสดาบัน ด้วย
อันติมวัตถุ หรือด้วยการกำจัดเสียซึ่งคุณ.
ในการกล่าวใส่ร้าย 2 อย่างนั้น บุคคลผู้กล่าวอยู่ว่า สมณธรรมของ
ท่านเหล่านั้น ไม่มี, ท่านเหล่านั้น ไม่ใช่สมณะ ดังนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า
กล่าวใส่ร้ายด้วยอันติมวัตถุ. บุคคลผู้กล่าวอยู่ว่า ฌานก็ดี วิโมกข์ก็ดี มรรค
ก็ดี ผลก็ดี ของท่านเหล่านั้น ไม่มี ดังนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่ากล่าวใส่ร้าย
ด้วยการกำจัดเสียซึ่งคุณ. ก็ผู้นั้นพึงกล่าวใส่ร้ายทั่งที่รู้ตัวอยู่ หรือไม่รู้ก็ตาม
ย่อมชื่อว่า เป็นผู้กล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้าแท้ แม้โดยประการทั้งสอง. กรรม
(คือการกล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้า) เป็นกรรมหนัก เป็นทั้งสัคคาวรณ์ (ห้าม
สวรรค์) ทั้งมัคคาวรณ์ (ห้ามมรรค)

[เรื่องภิกษุหนุ่มกล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้าชั้นสูง]


ก็เพื่อประกาศข้อที่การด่าเป็นกรรมที่หนักนั้น พระโบราณาจารย์
ทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้มาเป็นอุทาหรณ์ ดังต่อไปนี้ :-
ได้ยินว่า พระเถระรูปหนึ่ง และภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง เที่ยวไปบิณฑบาต
ในบ้านแห่งใดแห่งหนึ่ง. ท่านทั้ง 2 นั้น ได้ข้าวยาคูร้อนประมาณกระบวนหนึ่ง
ในเรือนหลังแรกนั่นเอง. แต่พระเถระเกิดลมเสียดท้องขึ้น. ท่านคิดว่า ข้าว
ยาคูนี้ เป็นของสบายแก่เรา เราจะดื่มข้าวยาคูนั้นก่อนที่มันจะเย็นเสีย ท่าน
จึงได้นั่งดื่มข้าวยาคูนั้นบนขอนไม้ ซึ่งพวกมนุษย์เข็นมาไว้ เพื่อต้องการทำ
ธรณีประตู. ภิกษุหนุ่มนอกนี้ ได้รังเกียจพระเถระนั้น ด้วยคิดว่า พระเถระ
แก่รูปนี้หิวจัดหนอ กระทำให้เราได้รับความอับอาย. พระเถระเที่ยวไปในบ้าน
แล้วกลับไปยังวิหาร ได้พูดกะภิกษุหนุ่มว่า อาวุโส ที่พึ่งในพระศาสนานี้
ของคุณมีอยู่หรือ ?
ภิกษุหนุ่ม เรียนว่า มีอยู่ ขอรับ ! กระผมเป็นพระโสดาบัน.
พระเถระ พูดเตือนว่า อาวุโส ! ถ้ากระนั้น คุณไม่ได้ทำความพยามยาม
เพื่อต้องการมรรคเบื้องสูงขึ้นไปหรือ ?* เพราะพระขีณาสพ คุณได้กล่าว
ใส่ร้ายแล้ว. ภิกษุหนุ่มรูปนั้น ได้ให้พระเถระนั้นอดโทษแล้ว เพราะเหตุนั้น
กรรมนั้นของภิกษุหนุ่มรูปนั้น ก็ได้กลับเป็นปกติเดิมแล้ว.
* ในวิสุทธิมรรค ภาค 2 / 270- มีดังนี้คือ เตนหาวุโส อุปริมคฺคตฺถาย วายามํ มาอกาสีติ.
กสฺมา ภนฺเตติ. ขีณาสโว ตยา อุปวทิโตติ. แปลว่า พระเถระ พูดเตือนว่า อาวุโส ถ้ากระนั้น
คุณไม่ได้ทำความพยายาม เพื่อต้องการมรรคเบื้องสูงขึ้นไปหรือ ? ภิกษุ นุ่นเรียนว่า เพราะ
เหตุไร ขอรับ ? พระเถระพูดว่า เพราะพระขีณาสพ คุณได้กล่าวใส่ร้ายแล้ว กสฺมา ภนฺเตติ
ในสามนต์นี้ น่าจะตกไป.