เมนู

บทว่า ยถากมฺมูปเค ได้แก่ ผู้เข้าถึงตามกรรมที่คนเข้าไปสั่งสม
ไว้แล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกิจแห่งทิพยจักษุด้วยบท
ต้น ๆ ว่า จวมาเน เป็นอาทิ. อนึ่ง กิจแห่งยถากัมมูปตฌาณ (ญาณเครื่อง
รู้สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรม) ก็เป็นอันตรัสแล้วด้วยบทนี้.

[ลำดับความเกิดขึ้นแห่งยถากัมมูปคญาณ]


ก็ลำดับความเกิดขึ้นแห่งญาณนั้น มีดังต่อไปนี้ :-
(ภิกษุในพระศาสนา1นี้) เจริญอาโลกกสิณ มุ่งหน้าต่อนรกเบื้องต่ำ
แล้ว ย่อมเห็นสัตว์นรกทั้งหลาย ผู้ตามเสวยทุกข์อย่างใหญ่อยู่. การเห็นนั้น
จัดเป็นกิจแห่งทิพยจักษุโดยแท้. เธอนั้นใฝ่ใจอยู่อย่างนี้ว่า สัตว์เหล่านี้ ทำกรรม
อะไรหนอแล จึงได้ตามเสวยทุกข์อยู่อย่างนี้ ? ลำดับนั้น ญาณอันมีกรรมนั้น
เป็นอารมณ์ ก็เกิดขึ้นแก่เธอนั้นว่า เพราะทำกรรมชื่อนี้. อนึ่ง เธอนั้น
เจริญอาโลกกสิณ มุ่งหน้าต่อเทวโลกเบื้องบนแล้ว ย่อมเห็นสัตว์ทั้งหลายใน
สวนนันทวัน มิสสกวัน และปารุสกวัน เป็นต้น ผู้เสวยสมบัติอย่างใหญ่อยู่
การเห็นแม้นั้นจัดเป็นกิจแห่งทิพยจักษุโดยแท้. เธอนั้นใฝ่ใจอยู่อย่างนี้ว่า
"สัตว์เหล่านี้ทำกรรมอะไรหนอแล จึงได้เสวยสมบัติอย่างนี้ ?" ลำดับนั้น
ญาณอันมีกรรมนั้นเป็นอารมณ์ก็เกิดขึ้นแก่เธอนั้นว่า "เพราะทำกรรมชื่อนี้."
นี้ชื่อว่า ยถากัมมูปคญาณ (ญาณเครื่องรู้สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรม). ชื่อว่าการ
บริกรรมแผนกหนึ่งแม้แห่งยถากัมมูปคญาณนี้ก็ไม่มี. ยถากัมมูปคญาณนี้ ไม่มี
การบริกรรมไว้แผนกหนึ่งแม้ฉันใด แม้อนาคตดังสญาณก็ไม่มีฉันนั้น. จริงอยู่
ญาณเหล่านี้ 2 ที่เป็นบาทแห่งทิพยจักษุนั่นแล ย่อมสำเร็จพร้อมกับทิพยจักษุ
นั่นเอง.
1. ฎีกาปรมัตถมัญชุสา 2 / 330 อิมานิ ศัพท์นี้เป็น อิมินา ในวิสุทธิมรรคก็เป็น อิมินา.
2. วิสุทธิมรรค 2 / 269 มีศัพท์ว่า อิธ ภิกฺขุ จึงได้แปลไว้ตามนั้น เพราะความชัดดี.

ในคำว่า กายทุจฺจริเตน เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ความประพฤติ
ชั่ว หรือความประพฤติเสียหาย เพราะมีกิเลสเป็นความเสียหาย เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่า ทุจริต. ความประพฤติชั่วทางกาย หรือความประพฤติชั่วที่เกิดจาก
กาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า กายทุจริต. แม้วจีทุจริต และมโนทุจริต ก็
ควรทราบดังอธิบายนี้.
บทว่า สมนฺนาคตา แปลว่า เป็นผู้พร้อมเพรียง.

[การด่าพระอริยเจ้าห้ามสวรรค์และห้ามรรค]


สองบทว่า อริยานํ อุปวาทกา ความว่า สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความ
เห็นผิด เป็นผู้ใคร่ซึ่งความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ กล่าวใส่ร้าย มีคำอธิบายว่า
ด่าทอ ติเตียนพระอริยเจ้าทั้งหลาย คือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า
และพระสาวกของพระพุทธเจ้า โดยที่สุด แม้คฤหัสถ์ผู้เป็นพระโสดาบัน ด้วย
อันติมวัตถุ หรือด้วยการกำจัดเสียซึ่งคุณ.
ในการกล่าวใส่ร้าย 2 อย่างนั้น บุคคลผู้กล่าวอยู่ว่า สมณธรรมของ
ท่านเหล่านั้น ไม่มี, ท่านเหล่านั้น ไม่ใช่สมณะ ดังนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า
กล่าวใส่ร้ายด้วยอันติมวัตถุ. บุคคลผู้กล่าวอยู่ว่า ฌานก็ดี วิโมกข์ก็ดี มรรค
ก็ดี ผลก็ดี ของท่านเหล่านั้น ไม่มี ดังนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่ากล่าวใส่ร้าย
ด้วยการกำจัดเสียซึ่งคุณ. ก็ผู้นั้นพึงกล่าวใส่ร้ายทั่งที่รู้ตัวอยู่ หรือไม่รู้ก็ตาม
ย่อมชื่อว่า เป็นผู้กล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้าแท้ แม้โดยประการทั้งสอง. กรรม
(คือการกล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้า) เป็นกรรมหนัก เป็นทั้งสัคคาวรณ์ (ห้าม
สวรรค์) ทั้งมัคคาวรณ์ (ห้ามมรรค)