เมนู

[อรรถาธิบายคำว่าทิพยจักษุเป็นต้น]


บทว่า โส คือ โส อหํ แปลว่า เรานั้น, ในคำว่า ทิพฺเพน
เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- จักษุประสาท ชื่อว่าทิพย์ เพราะเป็นเช่นกับด้วย
จักษุทิพย์. จริงอยู่ จักษุประสาทของเทวดาทั้งหลาย ที่เกิดเพราะสุจริตกรรม
อันน้ำดี เสลด และเลือด เป็นต้นมิได้พัวพัน ซึ่งสามารถรับอารมณ์แม้ใน
ที่ไกลได้ เพราะเป็นธรรมชาติที่พ้นจากอุปกิเลสเครื่องเศร้าหมอง ชื่อว่าเป็น
ทิพย์. ก็อีกอย่างหนึ่ง ณาณจักษุนี้ ที่เกิดเพราะกำลังแห่งวิริยภาวนา ก็เป็น
เช่นจักษุประสาทนั้นเหมือนกัน, เพราะเหตุนั้น ญาณจักษุนั้น จึงชื่อว่าเป็น
ทิพย์ เพราะเป็นจักษุอันพระองค์ได้แล้วด้วยอำนาจทิพพวิหาร และเพราะ
การกำหนดแสงสว่าง. ชื่อว่าเป็นทิพย์ แม้เพราะมีความรุ่งเรืองมาก ด้วย
การกำหนดแสงสว่าง. ชื่อว่าเป็นทิพย์ แม้เพราะมีคติ (ทางไป) มาก ด้วย
การเห็นรูปที่อยู่ภายนอกฝาเรือนเป็นต้น. หมวด 5 แห่งอรรถทั้งหมดนั้น
บัณฑิตพึงทราบ ตามแนวแห่งคัมภีร์ศัพทศาสตร์.
ชื่อว่าจักษุ เพราะอรรถว่าเห็น เป็นเหมือนจักษุ เพราะทำกิจแห่ง
จักษุ แม้เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าจักษุ. ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะความเป็นเหตุ
แห่งทิฏฐิวสุทธิ ด้วยการเห็นความจุติและความอุปบัติ (แห่งสัตว์ทั้งหลาย).
จริงอยู่ ผู้ใด ย่อมเห็นเพียงความจุติเท่านั้น ไม่เห็นความอุปบัติ (แห่งสัตว์
ทั้งหลาย) ผู้นั้นย่อมยึดเอาอุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นวาขาดสูญ). ผู้ใดย่อมเห็น
เพียงความอุปบัติเท่านั้น ไม่เห็นความจุติ (แห่งสัตว์ทั้งหลาย) ผู้นั้น ย่อม
ยึดเอาทิฏฐิคือความปรากฏขึ้นแห่งสัตว์ใหม่ ๆ. ส่วนผู้ใดย่อมเห็นทั้งสองอย่าง
นั้น ผู้นั้นย่อมล่วงเลยทิฏฐิทั้งสองอย่างนั้นไป เพราะเหตุนั้น ทัสสนะนั้น
ของผู้นั้น จึงชื่อว่าเป็นเหตุแห่งทิฏฐิวิสุทธิ. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทอด