เมนู

ตรัสคำมีอาทิว่า เอกมฺปิ ชาตึ เป็นต้น. ในคำว่า เอกมฺปิ ชาตึ เป็นต้นนั้น
มีวินิจฉัยดังนี้ :-
สองบทว่า เอกมฺปิ ชาตึ ความว่า ชาติหนึ่งบ้าง ได้แก่ ขันธสันดาน
อันนับเนื่องในภพหนึ่ง. ซึ่งมีปฏิสนธิเป็นมูล มีจุติเป็นที่สุด. บทว่า เทฺวปิ
ชาติโย เป็นต้น ก็นัยนี้.

[อรรถาธิบายเรื่องกัป]


อนึ่ง ในบทว่า อเนเกปิ สํวฏฺฏกปฺเป เป็นต้น พึงทราบว่า
กัปที่กำลังเสื่อมลง ชื่อว่าสังวัฏฏกัป, กัปที่กำลังเจริญขึ้น ชื่อวิวัฏฏกัป. บรรดา
สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปทั้ง 2 นั้น สังวัฏฏฐายีกัป ชื่อว่าเป็นอันท่านถือเอาแล้ว
ด้วยสังวัฏฏัป เพราะสังวัฏฏกัปเป็นมูลเดิมแห่งสังวัฏฏฐายีกัปนั้น และ
วิวัฏฏฐายีกัป ก็เป็นอันท่านถือเอาแล้วด้วยวิวัฏฏกัป.
จริงอยู่ เมื่อถือเอาเช่นนั้น กัปทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อสงไขยกัป 4 อย่างเหล่านี้, 4 อย่างเป็นไฉน ? คือ
สังวัฏฏกัป 1 สังวัฏฏฐายีกัป 1 วิวัฏฏกัป 1 วิวัฏฏฐายีกัป* 1, ทั้งหมด
ย่อมเป็นอันท่านถือเอาแล้ว.
บรรดากัปเหล่านั้น สังวัฏฏกัปมี 3 คือ เตโชสังวัฏฏกัป (คือกัปที่
พินาศไปเพราะไฟ) 1 อาโปสังวัฏฏกัป (คือกัปที่พินาศไปเพราะน้ำ) 1 วาโย-
สังวัฏฏกัป (คือกัปที่พินาศไปเพราะลม) 1.
เขตแดนแห่งสังวัฏฏกัปมี 3 คือ ชั้นอาภัสสระ 1 ชั้นสุภกิณหะ 1
ชั้นเวหัปผละ 1. ในกาลใด กัปย่อมพินาศไปเพราะไฟ, ในกาลนั้น โลกย่อม
ถูกไฟเผา ภายใต้ตั้งแต่ชั้นอาภัสสระลงมา, ในกาลใด กัปย่อมพินาศไปเพราะน้ำ
* องฺ. จตุกฺก. 21 / 190

ในกาลนั้น โลกย่อมถูกน้ำทำลายให้แหลกเหลวไป ภายใต้ตั้งแต่ชั้นสุภกิณหะ
ลงมา. ในกาลใด กัปย่อมพินาศไปเพราะลม, ในกาลนั้น โลกย่อมถูกลมพัด
ให้กระจัดกระจายไป ภายใต้ตั้งแต่ชั้นเวหัปผละลงมา. ก็โดยส่วนมาก* พุทธเขต
อย่างหนึ่ง (คือเขตของพระพุทธเจ้า) ย่อมพินาศไป แม้ในกาลทุกเมื่อ.
[

พุทธเขต 3 พร้อมทั้งอรรถาธิบาย

]
ขึ้นชื่อว่า พุทธเขต (คือเขตของพระพุทธเจ้า) มี 3 คือ ชาติเขต
(คือเขตที่ประสูติ) 1 อาณาเขต (คือเขตแห่งอำนาจ) 1 วิสัยเขต (คือ
เขตแห่งอารมณ์ หรือความหวัง) 1.
ในพุทธเขต 3 อย่างนั้น สถานเป็นที่หวั่นไหวแล้ว เพราะเหตุทั้งหลาย
มีการถือปฏิสนธิเป็นต้น ของพระตถาคต ชื่อ ชาติเขต ซึ่งมีหมื่นจักวาล
เป็นที่สุด,
สถานที่อานุภาพแห่งพระปริตรเหล่านี้ คือ รัตนปริตร เมตตาปริตร
ขันธปริตร ธชัคคปริตร อาฏานาฏิยปริตร โมรปริตร เป็นไปชื่อว่า อาณาเขต
ซึ่งมีแสนโกฏิจักรวาลเป็นที่สุด.
เขตเป็นที่พึงซึ่งพระองค์ทรงระลึกจำนงหวัง ที่พระองค์ทรงหมายถึง
ตรัสไว้ว่า ก็หรือว่า ตถาคตพึงหวังโลกธาตุมีประมาณเพียงใด ดังนี้เป็นต้น
ชื่อว่า วิสัยเขต ซึ่งมีประมาณหาที่สุดมิได้.
บรรดาพุทธเขตทั้ง 3 เหล่านั้น อาณาเขตอย่างหนึ่ง ย่อมพินาศไป
ดังพรรณนามาฉะนี้, ก็เมื่ออาณาเขตนั้นพินาศอยู่ ชาติเขตก็ย่อมเป็นอันพินาศ
ไปด้วยเหมือนกัน. และชาติเขตเมื่อพินาศไป ก็ย่อมพินาศโดยรวมกันไปทีเดียว.
แม้เมื่อดำรงอยู่ ก็ย่อมดำรงอยู่โดยรวมกัน. ความพินาศไป และความดำรงอยู่
* วิตฺถารโตติ ปุถุกโต. โยชนา 1 / 161