เมนู

ตรัสคำมีอาทิว่า เอกมฺปิ ชาตึ เป็นต้น. ในคำว่า เอกมฺปิ ชาตึ เป็นต้นนั้น
มีวินิจฉัยดังนี้ :-
สองบทว่า เอกมฺปิ ชาตึ ความว่า ชาติหนึ่งบ้าง ได้แก่ ขันธสันดาน
อันนับเนื่องในภพหนึ่ง. ซึ่งมีปฏิสนธิเป็นมูล มีจุติเป็นที่สุด. บทว่า เทฺวปิ
ชาติโย เป็นต้น ก็นัยนี้.

[อรรถาธิบายเรื่องกัป]


อนึ่ง ในบทว่า อเนเกปิ สํวฏฺฏกปฺเป เป็นต้น พึงทราบว่า
กัปที่กำลังเสื่อมลง ชื่อว่าสังวัฏฏกัป, กัปที่กำลังเจริญขึ้น ชื่อวิวัฏฏกัป. บรรดา
สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปทั้ง 2 นั้น สังวัฏฏฐายีกัป ชื่อว่าเป็นอันท่านถือเอาแล้ว
ด้วยสังวัฏฏัป เพราะสังวัฏฏกัปเป็นมูลเดิมแห่งสังวัฏฏฐายีกัปนั้น และ
วิวัฏฏฐายีกัป ก็เป็นอันท่านถือเอาแล้วด้วยวิวัฏฏกัป.
จริงอยู่ เมื่อถือเอาเช่นนั้น กัปทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อสงไขยกัป 4 อย่างเหล่านี้, 4 อย่างเป็นไฉน ? คือ
สังวัฏฏกัป 1 สังวัฏฏฐายีกัป 1 วิวัฏฏกัป 1 วิวัฏฏฐายีกัป* 1, ทั้งหมด
ย่อมเป็นอันท่านถือเอาแล้ว.
บรรดากัปเหล่านั้น สังวัฏฏกัปมี 3 คือ เตโชสังวัฏฏกัป (คือกัปที่
พินาศไปเพราะไฟ) 1 อาโปสังวัฏฏกัป (คือกัปที่พินาศไปเพราะน้ำ) 1 วาโย-
สังวัฏฏกัป (คือกัปที่พินาศไปเพราะลม) 1.
เขตแดนแห่งสังวัฏฏกัปมี 3 คือ ชั้นอาภัสสระ 1 ชั้นสุภกิณหะ 1
ชั้นเวหัปผละ 1. ในกาลใด กัปย่อมพินาศไปเพราะไฟ, ในกาลนั้น โลกย่อม
ถูกไฟเผา ภายใต้ตั้งแต่ชั้นอาภัสสระลงมา, ในกาลใด กัปย่อมพินาศไปเพราะน้ำ
* องฺ. จตุกฺก. 21 / 190