เมนู

สุข เป็นปัจจัยแห่งโสมนัส, โสมนัส เป็นปัจจัยแห่งราคะ, ทุกข์ เป็นปัจจัย
แห่งโทมนัส, โทมนัส เป็นปัจจัยแห่งโทสะ, และราคะโทสะพร้อมทั้งปัจจัย
เป็นอันจตุตถฌานนั้นกำจัดแล้ว เพราะสังหารความสุขเป็นต้นเสียได้ เพราะ
เหตุนั้น ราคะและโทสะ จึงมีอยู่ในที่ไกลยิ่ง ฉะนี้แล.

[อรรถาธิบายอุเบกขาในจตุตถฌาน]


บทว่า อทุกฺขมสุขํ ความว่า ชื่อว่า อทุกข์ เพราะไม่มีทุกข์
ชื่อว่า อสุข เพราะไม่มีสุข. ในคำว่า ชื่อว่า อทุกฺขมสุขํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงเวทนาที่ 3 อันเป็นปฏิปักษ์ต่อทุกข์และสุขด้วยพระดำรัสนี้ หาทรง
แสดงเพียงสักว่าความไม่มีแห่งทุกข์และสุขไม่. อทุกข์และอสุข ชื่อว่าเวทนา
ที่ 3 ท่านเรียกว่า อุเบกขา บ้าง. อุเบกขานั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มีการ
เสวยอารมณ์ที่ผิดแปลกจากอารมณ์ที่ น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนาเป็น
ลักษณะ มีความเป็นกลาง เป็นรส มีอารมณ์ไม่แจ่มแจ้งเป็นเครื่องปรากฏ
มีความดับสุขเป็นปทัฏฐาน.
บทว่า อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ ความว่า มีสติเป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์
อันอุเบกขาให้เกิดแล้ว. จริงอยู่ ในฌานนี้ สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ด้วยดี
และความบริสุทธิ์แห่งสตินั้น อันอุเบกขาทำแล้ว หาใช่ธรรมดาอย่างอื่นทำไม่,
เพราะเหตุนั้น ฌานนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า มีสติบริสุทธิ์อัน
อุเบกขาให้เกิดแล้ว ดังนี้. แม้ในคัมภีร์วิภังค์ พระองค์ก็ได้ตรัสไว้ว่า สตินี้
ย่อมเป็นธรรมชาติเปิดเผย บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว เพราะอุเบกขานี้ ด้วยเหตุนั้น
จึงเรียกว่า มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา.* ก็ความบริสุทธิ์แห่งสติในจตุตถฌานนั้น
ย่อมมีเพราะอุเบกขาใด, อุเบกขานั้น โดยอรรถพึงทราบว่า มีความเป็นกลาง
* อภิ. วิ. 35 / 352.