เมนู

มีวิตกเป็นต้นครอบงำ. ส่วนในตติยฌานนี้ ฌานุเบกขานี้ เกิดมีกิจปรากฏชัด
เป็นดุจยกศีรษะขึ้นได้แล้ว เพราะวิตกวิจารและปีติครอบงำไม่ได้ เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสฌานุเบกขานั้นไว้แล.
การพรรณนาอรรถ โดยประการทั้งปวงแห่งบทว่า อุเปกฺขโก จ
วิหาสึ นี้ จบแล้ว.

[อธิบายลักษณะแห่งสติและสัมปชัญญะ]


บัดนี้จะวินิจฉัยในบาลีนี้ว่า สโต จ สมฺปชาโน. ชื่อว่าสโต เพราะ
อรรถว่า ระลึกได้, ชื่อว่าสัมปชาโน เพราะอรรถว่า รู้ชัดโดยชอบ สติและ
สัมปชัญญะตรัสโดยบุคคล. ในสติและสัมปชัญญะนั้น สติมีความระลึกได้เป็น
เครื่องกำหนด มีความไม่หลงลืมเป็นกิจ มีการควบคุมเป็นเหตุเครื่องปรากฏ.
สัมปชัญญะ มีความไม่หลงเป็นเครื่องกำหนด มีความพิจารณาเป็นกิจ มีความ
สอดส่องเป็นเครื่องปรากฏ. ก็สติและสัมปชัญญะนี้ พึงทราบโดยพิสดาร ตาม
นัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว ในวรรณนาแห่งสติปัฏฐานสูตร ในอรรถกถา-
มัชฌิมนิกายนั่นแล.
บรรดาธรรมในตติยฌานนั้น สติและสัมปชัญญะนี้มีอยู่แม้ในฌาน
ก่อน ๆ โดยแท้ เพราะว่า แม้คุณชาติเพียงอุปจาร ย่อมไม่สำเร็จแก่พระโยคาวจร
ผู้มีสติหลง ไม่มีสัมปชัญญะ, จะกล่าวไปไยถึงอัปปนา. ถึงกระนั้น เพราะ
ความฌานเหล่านั้นหยาบ การดำเนินไปของจิตจึงมีความสะดวก เหมือนการ
ดำเนินไปบนภาคพื้นของบุรุษฉะนั้น กิจแห่งสติและสัมปชัญญะในฌานเหล่านั้น
จึงยังไม่ปรากฏชัด. ก็เพราะความที่ฌานนี้ละเอียด เพราะละองค์ที่หยาบได้
การดำเนินไปของจิต อันกิจแห่งสติและสัมปชัญญะกำกับแล้วทีเดียว
จำปรารถนา เหมือนการเดินใกล้คมมีดโกนของบุรุษฉะนั้น เพราะเหตุนี้