เมนู

กถาว่าด้วยตติยฌาน


ปีติในคำว่า ปีติยา จ วิราคา นี้ มีเนื้อความดังกล่าวแล้วนั่นแล.
ความเกลียดชัง หรือความก้าวล่วงปีตินั้น ชื่อว่า วิราคะ (ความสำรอก).
จ ศัพท์ ในระหว่างบททั้ง 2 มีการประมวลมาเป็นอรรถ. จ ศัพท์ ประมวล
มาซึ่งความสงบ หรือความเข้าไปสงบวิตกวิจาร. พึงทราบโยชนาอย่างนี้ว่า
ในการประมวลทั้งสองอย่างนั้น ในกาลใดประมวลความสงบมาอย่างเดียว ใน
เวลานั้น เพราะสำรอกปีติ และเพราะสงบได้เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย. ก็ในโยชนานี้
วิราคะ ศัพท์ มีความเกลียดชังเป็นอรรถ เพราะฉะนั้น พึงเห็นใจความดังนี้
ว่า เพราะเกลียดชัง และเพราะระงับปีติ.
พึงทราบโยชนาอย่างนี้ว่า ก็ในเวลาใด ประมวลความสงบระงับวิตก
วิจารมา ในเวลานั้น เพราะสำรอกปีติ และเพราะเข้าไปสงบวิตกวิจารเพิ่มขึ้น
อีกเล็กน้อย. และในโยชนานี้ วิราคะ ศัพท์ มีความก้าวล่วงเป็นอรรถ เพราะ
ฉะนั้น พึงเห็นใจความดังนี้ว่า เพราะก้าวล่วงปีติ และเพราะสงบระงับวิตก
วิจาร.
อนึ่ง วิตกวิจารเหล่านี้ สงบแล้วในทุติยฌานทีเดียวก็จริง ถึงกระนั้น,
คำว่า เพราะเข้าไปสงบวิตกวิจาร นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว ก็เพื่อจะ
ทรงแสดงอุบายเครื่องบรรลุฌานนี้ และเพื่อกล่าวสรรเสริญ (ฌานนี้).
ถามว่า จริงอยู่ เมื่อพระองค์ตรัสว่า และเพราะความสงบระงับวิตก
วิจาร คำนี้ ย่อมปรากฏว่า ความสงบระงับวิตกวิจารก็เป็นอุบายเครื่องบรรลุ
ฌานนี้ มิใช่หรือ ?

แก้ว่า เหมือนอย่างว่าในอริยมรรคที่ 3 ท่านกล่าวการละไว้อย่างนี้ว่า
เพราะละโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง 2 มีสักกายทิฏฐิเป็นต้น แม้นที่ยังละไม่ได้
ย่อมเป็นการกล่าวสรรเสริญ (อริยมรรคที่ 3) เพื่อจะให้เกิดความอุตสาหะ
แก่เหล่าชนผู้มีความขวนขวาย เพื่อบรรลุอริยมรรคที่ 3 นั้น ฉันใด, ใน
ตติยฌานนี้ ท่านกล่าวความสงบระงับวิตกวิจาร แม้ที่ยังไม่สงบราบคาบไว้
เป็นการกล่าวสรรเสริญ (ฌานนี้) ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวใจความนี้ไว้ว่า เพราะก้าวล่วงปีติ และเพราะความสงบระงับวิตกวิจาร
ดังนี้.
ในคำว่า อุเปกฺขโก จ วิหาสึ นี้ มีวินิจฉันดังนี้ :- ธรรมชาติ
ที่ชื่อว่า อุเบกขา เพราะอรรถว่า เพ่งโดยอุบัติ. อธิบายว่า ย่อมเห็นเสมอ
คือย่อมเห็นไม่ตกไปเป็นฝักเป็นฝ่าย. บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยตติยฌาน ท่าน
เรียกว่า ผู้มีอุเบกขา. เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยอุเบกขานั้น อันสละสลวย
ไพบูลย์ มีกำลัง

[อุเบกขา 10 อย่าง]


ก็อุเบกขามีอยู่ 10 อย่าง คือ
1. ฉฬังคุเปกขา อุเบกขาในองค์ (คืออารมณ์) 6.
2. พรหมวิหารรุเปกขา อุเบกขาในพรหมวิหาร.
3. โพชฌังคุเปกขา อุเบกขาในโพชฌงค์.
4. วิริยุเปกขา อุเบกขาในวิริยะ.
5. สังขารุเปกขา อุเบกขาในสังขาร.
6. เวทนุเปกขา อุเบกขาในเวทนา.