เมนู

กถาว่าด้วยทุติยฌาน


สองบทว่า วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา ความว่า เพราะเข้าไปสงบ
คือเพราะก้าวล่วงองค์ทั้ง 2 เหล่านี้ คือ วิตกและวิจาร. มีอธิบายว่า เพราะ
วิตกวิจารไม่ปรากฏในขณะแห่งทุติยฌาน.
พึงทราบสันนิษฐานว่า ในบรรดาฌานทั้ง 2 นั้น ธรรมในปฐมฌาน
แม้ทั้งหมด ไม่มีอยู่ในทุติยฌาน ด้วยว่า ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น มีอยู่
ในปฐมฌานเป็นอย่างหนึ่ง ในทุติยฌานนี้ ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง แม้ก็จริง ถึง
กระนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสอย่างนี้ว่า เพราะเข้าไปสงบวิตกวิจาร เพื่อ
จะทรงแสดงว่า การบรรลุฌานอื่นจากปฐมฌานมีทุติยฌานเป็นต้น. จะมีได้
เพราะก้าวล่วงองค์ที่หยาบ ๆ ได้.

[อรรถาธิบายอัชฌัตตศัพท์]


ในอธิการนี้ บัณฑิตประสงค์เอา นิยกัชฌัตตัง ชื่อว่า อัชฌัตตัง.
แต่ในคัมภีร์วิภังค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพียงเท่านี้ว่า อัชฌัตตังปัจจัต-
ตัง
* เท่านั้น. ก็เพราะบัณฑิตประสงค์เอานิยกัชฌัตตัง ชื่อว่า อัชฌัตตัง
ฉะนั้น ในบทว่า อชฺฌตฺตํ นี้ บัณฑิตพึงเห็นเนื้อความดังนี้ว่า เกิดแล้ว
ในตน คือเกิดแล้วในสันดานของตน.

[อรรถาธิบาย สัมปสาทนศัพท์]


ศรัทธา (ความเชื่อ) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า สัมปสาทนะ
ในบทว่า สมฺปสาทนํ นี้ แม้ฌาน ก็ตรัสเรียกว่า สัมปสาทนะ เพราะ
* อภิ. วิ. 35 / 325-348.

ประกอบด้วยความผ่องใส เหมือนผ้าสีเขียว เพราะประกอบด้วยสีเขียวฉะนั้น
อีกอย่างหนึ่ง เพราะฌานนั้น ย่อมยังใจให้เลื่อมใสด้วยดี เพราะประกอบด้วย
ศรัทธาที่เป็นเครื่องยังใจให้ผ่องใส (และ) เพราะสงบระงับความกำเริบแห่ง
วิตกและวิจารเสียได้ เพราะเหตุแม้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า สมฺป-
สาทนํ. ก็ในอรรถวิกัปนี้ พึงทราบสัมพันธ์เฉพาะบทอย่างนี้ว่า สมฺปสาทนํ
เจตโส (เป็นความผ่องใสแห่งใจ). แต่ในอรรถวิกัปต้น พึงประกอบบทว่า
เจตโส นั่น เข้ากับ เอโกทิภาวะ.

[อรรถาธิบาย เอโกทิภาวศัพท์]


ในบทว่า เอโกทิภาวํ นั้น มีอรรถโยชนาดังต่อไปนี้ :- สมาธิ
ชื่อว่า เอโกทิ เพราะอรรถว่า เป็นธรรมเอกผุดขึ้น. อธิบายว่า ชื่อว่าเป็น
ธรรมที่เลิศ คือธรรมประเสริฐที่สุด ผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารไม่ผุดขึ้น. จริงอยู่
แม้คนที่ประเสริฐที่สุด เข้าก็เรียกว่า เป็นเอก ในโลก. อีกอย่างหนึ่ง จะกล่าวว่า
สมาธิที่เว้นจากวิตกและวิจาร ชื่อว่าเป็นธรรมเอก คือไม่สหาย ดังนี้บ้าง
ก็ควร อีกบรรยายหนึ่ง สมาธิ ชื่อว่า อุทิ เพราะอรรถว่า ย่อมยังสัมปยุตธรรม
ให้ผุดขึ้น อธิบายว่า ให้ตั้งขึ้น, สมาธินั้น เป็นเอก เพราะอรรถว่า ประเสริฐ
และผุดขึ้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เอโกทิ. คำว่า เอโกทิ นั่น เป็นชื่อ
ของสมาธิ. ทุติยฌาน ย่อมยังสมาธิที่ชื่อว่า เอโกทิ นี้ ดังกล่าวนี้ให้เกิด
คือให้เจริญ. เหตุนั้น ทุติยฌานนี้ จึงชื่อว่า เอโกทิภาพ. ก็เพราะสมาธิที่
ชื่อว่า เอโกทิ นี้นั้นย่อมมีแก่ใจ หามีแก่สัตว์ แก่ชีวะไม่ ฉะนั้น ทุติยฌานนั่น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เจตโส เอโกทิภาวํ (เป็นเอโกทิภาพแห่งใจ).
มีคำถามว่า ก็ศรัทธานี้ และสมาธิที่มีชื่อว่าเอโกทินี้มีอยู่ในปฐมฌาน
มิใช่หรือ ? เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ทุติยฌานนี้เท่านั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า จึงตรัสว่า เป็นเครื่องยังใจให้ผ่องใส และว่า เป็นเอโกทิภาพเล่า ?