เมนู

เป็นไปในกามคุณ 5 ในจิตตุปบาทอันสหรคตด้วยโลภะ 8 ดวง และโทสะ
อันบังเกิดขึ้นในอกุศลจิต 2 ดวง ด้วยอนาคามิมรรค อนึ่ง ตรัสการขาดสูญ
แห่งโมหะอันเกิดแต่อกุศลทั้งหมดไม่มีเหลือ นอกจากโลภะ โทสะ โมหะ ทั้ง 3 นั้น
ด้วยมรรค 4 ตามสมควร จึงทรงรับรองบรรยายอื่นอีก.

[เวรัญชพราหมณ์กล่าวหาพระพุทธองค์ว่าเป็นผู้รังเกียจ]


พราหมณ์เข้าใจว่า พระสมณโคดม ชะรอยจะทรงรับเกียจกรรมคือ
มรรยาทสำหรับสกุลมีการกราบไหว้เหล่าชนผู้เจริญวัยเป็นต้นนี้ เพราะเหตุนั้น
พระองค์จึงไม่ทรงกระทำกรรมนั้น จึงกล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าอีกว่า พระ-
โดม ผู้เจริญ เป็นผู้รังเกียจ. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาเห็นความ
รังเกียจนั้น (มีอยู่) ในพระองค์ เพราะพระองค์ทรงรังเกียจแต่กายทุจริต
เป็นต้น. พระองค์ตรัสอธิบายไว้อย่างไร. ตรัสอธิบายไว้ว่า ทรงรังเกียจ
ทรงละอาย กายทุจริต 3 วจีทุจริต 4 มโนทุจริต 3 และความเข้าถึงความ
ถึงพร้อม ความเป็นผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยธรรมทั้งหลายที่เหลือ เว้นทุจริต
เหล่านั้นที่ชื่อว่าชั่วช้า เพราะอรรถว่าเลวทราม ที่ชื่อว่าอกุศล เพราะอรรถว่า
เป็นความไม่ฉลาด แม้ทั้งหมด เหมือนบุรุษผู้มีชาติคนประดับ รังเกียจคูถ
ฉะนั้น จึงทรงรับรองบรรยายอื่นอีก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กายทุจฺจริเตน เป็นต้น พึงเห็นตติยา-
วิภตติ. ลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ.

[เวรัญชพราหมณ์กล่าวหาพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้กำจัด]


พราหมณ์ เมื่อไม่เล็งเห็นกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้นแล ในพระผู้มี-
พระภาคเจ้า เข้าใจว่า พระโคดมนี้ ย่อมทรงกำจัด คือทรงทำกรรมที่ควร

ทำแก่ผู้ประเสริฐในโลกนี้ ให้พินาศ, อีกอย่างหนึ่ง เพราะไม่ทรงทำสามีจิกรรม
นั่น ฉะนั้น พระโคดมนี้ จึงควรถูกกำจัด คือ ควรถูกข่มขี่ จึงกล่าวกะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าอีกว่า พระโคดมผู้เจริญ เป็นผู้กำจัด.
ในบทว่า เวนยิโก นั้น มีใจความเฉพาะบท ดังต่อไปนี้ :-
อุบายที่ชื่อว่า วินัย เพราะอรรถว่า ย่อมกำจัด, อธิบายว่า ย่อมทำให้พินาศ,
วินัยนั่นแลชื่อ เวนยิกะ. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมควรซึ่งการกำจัด เหตุนั้น
จึงชื่อว่า เวนยิกะ (ผู้ควรกำจัด). มีอธิบายว่า ย่อมควรซึ่งอันข่มขี่. แต่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าทรงกำจัด เพราะพระองค์ทรงแสดงธรรม
เพื่อกำจัด คือเพื่อความสงบกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น. ในบทว่า เวนยิโก
นี้ มีใจความเฉพาะบทเท่านี้แล. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า เวนยิกะ
เพราะอรรถว่า ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อกำจัด (กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น).
จริงอยู่ วิธีพฤทธิ์แห่งศัพท์ตัทธิต เป็นของวิจิตร. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระ-
องค์นี้นั้น ทรงพิจารณาเห็นความเป็นผู้กำจัดนั้น (มีอยู่) ในพระองค์ จึงทรง
รับรองบรรยายอื่นอีก.

[เวรัญชพราหมณ์กล่าวหาพระพุทธองค์ว่าเป็นผู้มักเผาผลาญ]


พราหมณ์เข้าใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ย่อมเผาผลาญเหล่าชนผู้
เจริญวัย เพราะชนทั้งหลายเมื่อกระทำสามีจิกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้น ย่อม
ทำเหล่าชนผู้เจริญวัยให้ยินดี ให้ร่าเริง แต่เมื่อไม่กระทำ ย่อมทำให้เดือดร้อน
ให้ขัดเคือง ให้เกิดโทมนัสแก่พวกเขา และพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมไม่กระทำ
สามีจิกรรมเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง เข้าใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เป็นคน
กำพร้า เพราะเป็นผู้เว้นจากมรรยาทของคนดี จึงกล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้า
อีกว่า พระสมณโคดม ผู้เจริญ เป็นผู้มักเผาผลาญ.