เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาเห็นความไม่มีการบริโภคด้วยอำนาจ
ฉันทราคะ (ดุจ) ของสัตว์ทั้งหลาย ในรูปารมณ์เป็นต้น ในพระองค์ จึง
ทรงรับรองบรรยายอื่นอีก.
พราหมณ์ พิจารณาเห็นการไม่กระทำกรรมคือมรรยาทสำหรับสกุล
มีการกราบไหว้เหล่าชนผู้เจริญวัยเป็นต้น ที่ประชาชนชาวโลกทำกันอยู่ในโลก
จึงกล่าวกระพระผู้มีพระภาคเจ้าอีกว่า พระโคดมผู้เจริญ เป็นผู้กล่าวการไม่
กระทำ. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาเห็นการกล่าว การไม่กระทำนั้น
(มีอยู่) ในพระองค์ เพราะพระองค์ตรัสการไม่กระทำกายทุจริตเป็นต้น จึง
ทรงรับรองบรรยายอื่นอีก.
ก็เจตนาในการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป ในการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของ
เขาไม่ได้ให้และในมิจฉาจาร พึงทราบว่า กายทุจริต ในบรรดาบทเหล่านั้น.
เจตนาในการพูดเท็จ การพูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ พึง
ทราบว่า วจีทุจริต. ความโลภอยากได้ ความปองร้าย ความเห็นผิด พึง
ทราบว่า มโนทุจริต. อกุศลธรรมทั้งหลายที่เหลือ เว้นธรรมเหล่านั้นเสีย
พึงทราบว่า อกุศลธรรมอันลามกมีส่วนมิใช่น้อย.

[เวรัญชพราหมณ์กล่าวหาพระพุทธองค์ว่าเป็นผู้กล่าวการขาดสูญ]


พราหมณ์ไม่เห็นกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้นนั้นแล ในพระผู้มี-
พระภาคเจ้า เข้าใจว่า อาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ แบบแผนประเพณีของ
โลกนี้ ก็จักขาดสูญ จึงกล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าอีกว่า พระโคดมผู้เจริญ
เป็นผู้กล่าวการขาดสูญ. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาเห็นการกล่าวการ
ขาดสูญนั้น (มีอยู่) ในพระองค์ เพราะพระองค์ตรัสการขาดสูญแห่งราคะอัน

เป็นไปในกามคุณ 5 ในจิตตุปบาทอันสหรคตด้วยโลภะ 8 ดวง และโทสะ
อันบังเกิดขึ้นในอกุศลจิต 2 ดวง ด้วยอนาคามิมรรค อนึ่ง ตรัสการขาดสูญ
แห่งโมหะอันเกิดแต่อกุศลทั้งหมดไม่มีเหลือ นอกจากโลภะ โทสะ โมหะ ทั้ง 3 นั้น
ด้วยมรรค 4 ตามสมควร จึงทรงรับรองบรรยายอื่นอีก.

[เวรัญชพราหมณ์กล่าวหาพระพุทธองค์ว่าเป็นผู้รังเกียจ]


พราหมณ์เข้าใจว่า พระสมณโคดม ชะรอยจะทรงรับเกียจกรรมคือ
มรรยาทสำหรับสกุลมีการกราบไหว้เหล่าชนผู้เจริญวัยเป็นต้นนี้ เพราะเหตุนั้น
พระองค์จึงไม่ทรงกระทำกรรมนั้น จึงกล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าอีกว่า พระ-
โดม ผู้เจริญ เป็นผู้รังเกียจ. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาเห็นความ
รังเกียจนั้น (มีอยู่) ในพระองค์ เพราะพระองค์ทรงรังเกียจแต่กายทุจริต
เป็นต้น. พระองค์ตรัสอธิบายไว้อย่างไร. ตรัสอธิบายไว้ว่า ทรงรังเกียจ
ทรงละอาย กายทุจริต 3 วจีทุจริต 4 มโนทุจริต 3 และความเข้าถึงความ
ถึงพร้อม ความเป็นผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยธรรมทั้งหลายที่เหลือ เว้นทุจริต
เหล่านั้นที่ชื่อว่าชั่วช้า เพราะอรรถว่าเลวทราม ที่ชื่อว่าอกุศล เพราะอรรถว่า
เป็นความไม่ฉลาด แม้ทั้งหมด เหมือนบุรุษผู้มีชาติคนประดับ รังเกียจคูถ
ฉะนั้น จึงทรงรับรองบรรยายอื่นอีก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กายทุจฺจริเตน เป็นต้น พึงเห็นตติยา-
วิภตติ. ลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ.

[เวรัญชพราหมณ์กล่าวหาพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้กำจัด]


พราหมณ์ เมื่อไม่เล็งเห็นกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้นแล ในพระผู้มี-
พระภาคเจ้า เข้าใจว่า พระโคดมนี้ ย่อมทรงกำจัด คือทรงทำกรรมที่ควร