เมนู

แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าควรจะตรัสว่า อันเราละได้แล้ว ก็ทรง
แสดงธรรม ไม่ยกพระองค์ขึ้นข่มด้วยมมังการ. อีกนัยหนึ่ง นั้นเป็นความ
วิลาสแห่งเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละรสในรูปเป็นต้นได้เด็ดขาด]


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปหีนา ความว่า รสในรูปเป็นต้น
ปราศไปจากจิตตสันดาน (ของพระตถาคต) หรืออันพระตถาคตทรงละได้แล้ว.
แต่ในอรรถนี้ พึงเห็นฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถตติยาวิภัตติ. รสในรูปเป็นต้น
ชื่อว่ามีรากเหง้าอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตัดขาดแล้ว เพราะอรรถว่า รากเหง้า
แห่งความเยื่อใยในรูปเป็นต้นเหล่านั้น อันสำเร็จมาจากตัณหาและอวิชชา อัน
พระองค์ทรงตัดขาดแล้ว ด้วยศัสตราคืออริยมรรค. ชื่อว่าอันพระองค์ทรงทำ
ให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน เพราะอรรถว่า วัตถุแห่งรูปรสเป็นต้นเหล่านั้น
อันพระองค์ทรงทำให้เป็นเหมือนตอตาลฉะนั้น. เหมือนอย่างว่า เมื่อบุคคล
ถอนต้นตาลขึ้นพร้อมทั้งรากแล้ว กระทำประเทศนั้นให้เป็นสักว่าตอแห่งต้น
ตาลนั้น ความเกิดขึ้นแห่งต้นตาลนั้น ย่อมปรากฏไม่ได้อีกฉันใด, เมื่อพระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงถอนรสในรูปเป็นต้นขึ้นพร้อมทั้งราก ด้วยศัสตราคือ
อริยมรรคแล้ว ทรงทำจิตตสันดานให้เป็นเพียงที่ตั้งแห่งรสในรูปเป็นต้นนั้น
โดยความเป็นสถานที่เคยเกิดมาในกาลก่อน รสในรูปเป็นต้นเหล่านั้นแม้
ทั้งหมด ท่านเรียกว่า ตาลาวัตถุกตา (ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน) ฉันนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง รูปาทิรสเป็นต้นเหล่านั้น มีอันไม่งอกขึ้นเป็นธรรมดา
อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำให้เหมือนตาลยอดด้วนฉะนั้น เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่า ตาลาวัตถุกตา (อันพระองค์ทรงทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน
แล้ว). อนึ่ง เพราะรูปาทิรสเป็นต้น พระองค์ทรงทำให้เป็นเหมือนตาล

ยอดด้วน โดยนัยที่กล่าวแล้วอย่างนั้น ชื่อว่า เป็นอันพระองค์ทรงทำไม่ให้มี
ในภายหลัง คือทรงทำโดยอาการที่รูปาทิรสเป็นต้นเหล่านั้น จะมีในภายหลัง
ไม่ได้, ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า อนภาวํ กตา (กระทำไม่ให้ในภายหลาย).

[อรรถาธิบายศัพท์ อนภาวํ กตา-อนภาวํ คตา]


ในบทว่า อนภาวํ กตา นี้ ตัดบทดังนี้ คือ อนุ อภาวํ กตา
เชื่อมบทเป็น อนภาวํ กตา แปลว่า ทำไม่ให้มีในภายหลัง. ปาฐะว่า
อนภาวํ คตา ดังนี้ก็มี. ความแห่งปาฐะนั้นว่า ถึงแล้วซึ่งความไม่มีใน
ภายหลัง. ในบทว่า อนภาวํ คตา นั้น ตัดบทดังนี้ คือ อนุ อภาวํ คตา
เชื่อมบทเป็น อนภาวํ คตา แปลว่า ถึงแล้วซึ่งความไม่มีในภายหลัง
เหมือนการตัดบทในประโยชน์ว่า อนุอจฺฉริยา เชื่อมบทเป็น อนจฺฉริยา
แปลว่า พระคาถาเหล่านี้มีความอัศจรรย์ในภายหลัง แจ่มแจ้งแล้วแต่พระผู้มี
พระภาคเจ้า*.
สองบทว่า อายตึ อนุปฺปาทธมฺมา แปลว่า มีอันไม่เกิดขึ้นใน
อนาคตเป็นสภาพ. จริงอยู่ รูปรสเป็นต้นเหล่าใด ที่ถึงความไม่มีแล้ว รูปรส
เป็นต้นเหล่านั้น จักเกิดขึ้นได้อย่างไรเล่า ? เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัส
ว่า ถึงแล้วซึ่งความไม่มีในภายหลัง มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป.
หลายบทว่า อยํ โข พฺราหฺมณ ปริยาโย ความว่า ดูก่อนพราหมณ์ !
บุคคลกล่าวหาเราอยู่ว่า พระสมณโคดม เป็นคนไม่มีรส ดังนี้ ชื่อว่าพึงพูดถูก
ด้วยเหตุใด, เหตุนี้ มีอยู่จริง ๆ .
หลายบทว่า โน จ โข ยํ ตฺวํ สนฺธาย วเทสิ ความว่า ก็แล
เหตุที่กล่าวมุ่งหมายเอากะเราไม่มี.
* ที่. มหา. 10 / 41. วิ. มหา. 4 / 8