เมนู

ตถาคตพึงกราบไหว้ พึงลุกรับ หรือพึงเชื้อเชิญบุคคลใดด้วยอาสนะ, แม้ศีรษะ
ของบุคคลนั้น พึงขาดจากคอตกลงไปบนพื้นดิน โดยเร็วพลันทีเดียว ดุจ
ผลตาลที่มีเครื่องผูกหย่อนเพราะแก่หง่อม หล่นจากขั้วในสุดแห่งราตรี ฉะนั้น.

[เวรัญชพราหมณ์กล่าวตู่พระพุทธเจ้าว่าเป็นคนไม่มีรส]


แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ก็กำหนดไม่ได้
ถึงข้อความที่พระตถาคตเจ้าเป็นเชษฐบุรุษในโลก เพราะทรามปัญญา ไม่ยอม
อดกลั้นพระดำรัสนั้นถ่ายเดียว จึงกล่าวว่า พระโคดมผู้เจริญ ! เป็นคนไม่มีรส.
ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นมีความประสงค์ดังนี้ว่า สามีจิกรรมคือการกราบไหว้
การลุกรับ และประนมมือไหว้อันใด ที่ประชาชนเรียกอยู่ในโลกว่า สามัคคีรส
สามีจิกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้นนั้น ของพระโคดมผู้เจริญ ย่อมไม่มี,
เพราะฉะนั้น พระโคดมผู้เจริญ จึงเป็นคนไม่มีรส คือมีพระชาติไม่มีรส
มีสภาพไม่มีรส.
ลำดับนั้น พระผู้พระภาคเจ้า เพื่อจะให้พราหมณ์นั้นเกิดใจอ่อน
จึงทรงหลีกหนีความเป็นข้าศึกโดยตรงเสีย ทรงรับสมเนื้อความแห่งคำนั้นโดย
ประการอื่นในพระองค์ จึงตรัสว่า พราหมณ์ ! บรรยายนี้มีอยู่แล ดังนี้เป็นต้น.

[ปริยายศัพท์ลงในอรรถ 3 อย่าง]


ในคำว่า ปริยาโย เป็นต้นนั้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ การณะชื่อว่า
ปริยาย. จริงอยู่ ปริยายศัพท์นี้ ย่อมเป็นไปในเทศนา วาระและการณะ.
ความจริง ปริยายศัพท์นั่น ย่อมเป็นไปในเทศนา ในคำทั้งหลายมี
อาทิว่า ท่านจงทรงจำพระสูตรนั้นไว้ว่า มธุปิณฑิกเทศนา* ดังนี้นั่นเทียว.
* ม. ม. 12/230.

เป็นไปในวาระ ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ดูก่อนอานนท์ ! วันนี้เป็น
วาระของใครหนอแล เพื่อโอวาทนางภิกษุณีทั้งหลาย.
เป็นไปในการณะ ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
ดังข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดตรัสบอกปริยาย (เหตุ)
อื่น โดยอาการที่ภิกษุสงฆ์ จะพึงดำรงอยู่ในความเป็นพระอรหันต์.
ในที่นี้ ปริยายศัพท์นี้นั้น ย่อมเป็นไปในการณะ (เหตุ). เพราะฉะนั้น
ในบทว่า ปริยาโย นี้ พึงทราบใจความอย่างนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ! บุคคล
กล่าวหาเราอยู่ว่า พระโคดมผู้เจริญ เป็นคนไม่มีรส ดังนี้ พึงพูดถูก คือ
พึงถึงความนับว่า เป็นผู้พูดไม่ผิด เพราะเหตุใด เหตุนั่น มีอยู่จริงแล.
ถามว่า ก็ปริยาย (เหตุ) นั้น เป็นไฉน ?
แก้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ! รสในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
เหล่านั้นใด, รสในรูปเป็นต้นเหล่านั้น ตรัสอธิบายไว้อย่างไร ?
แก้ว่า ตรัสอธิบายไว้อย่างนี้ คือ รสในรูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ กล่าวคือความยินดีในกามสุข เหล่านั้นใด ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชน
ทั้งหลาย แม้ผู้ที่ชาวโลกสมมติว่า เป็นผู้ประเสริฐ ด้วยอำนาจชาติ หรือด้วย
อำนาจความอุบัติ ผู้ยังยินดี เพลิดเพลิน กำหนัดในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปารมณ์
เป็นต้น, รสเหล่าใด ย่อมฉุดครั้งโลกนี้ไว้เหมือนผูกที่คอ และบัณฑิตเรียกว่า
สามัคคีรส เพราะเมื่อมีความพร้อมเพรียงกันแห่งวัตถุและอารมณ์เป็นต้น ก็เกิด
ขึ้นได้ รสเหล่านั้นแม้ทั้งหมด พระตถาคตละได้แล้ว.

แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าควรจะตรัสว่า อันเราละได้แล้ว ก็ทรง
แสดงธรรม ไม่ยกพระองค์ขึ้นข่มด้วยมมังการ. อีกนัยหนึ่ง นั้นเป็นความ
วิลาสแห่งเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละรสในรูปเป็นต้นได้เด็ดขาด]


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปหีนา ความว่า รสในรูปเป็นต้น
ปราศไปจากจิตตสันดาน (ของพระตถาคต) หรืออันพระตถาคตทรงละได้แล้ว.
แต่ในอรรถนี้ พึงเห็นฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถตติยาวิภัตติ. รสในรูปเป็นต้น
ชื่อว่ามีรากเหง้าอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตัดขาดแล้ว เพราะอรรถว่า รากเหง้า
แห่งความเยื่อใยในรูปเป็นต้นเหล่านั้น อันสำเร็จมาจากตัณหาและอวิชชา อัน
พระองค์ทรงตัดขาดแล้ว ด้วยศัสตราคืออริยมรรค. ชื่อว่าอันพระองค์ทรงทำ
ให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน เพราะอรรถว่า วัตถุแห่งรูปรสเป็นต้นเหล่านั้น
อันพระองค์ทรงทำให้เป็นเหมือนตอตาลฉะนั้น. เหมือนอย่างว่า เมื่อบุคคล
ถอนต้นตาลขึ้นพร้อมทั้งรากแล้ว กระทำประเทศนั้นให้เป็นสักว่าตอแห่งต้น
ตาลนั้น ความเกิดขึ้นแห่งต้นตาลนั้น ย่อมปรากฏไม่ได้อีกฉันใด, เมื่อพระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงถอนรสในรูปเป็นต้นขึ้นพร้อมทั้งราก ด้วยศัสตราคือ
อริยมรรคแล้ว ทรงทำจิตตสันดานให้เป็นเพียงที่ตั้งแห่งรสในรูปเป็นต้นนั้น
โดยความเป็นสถานที่เคยเกิดมาในกาลก่อน รสในรูปเป็นต้นเหล่านั้นแม้
ทั้งหมด ท่านเรียกว่า ตาลาวัตถุกตา (ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน) ฉันนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง รูปาทิรสเป็นต้นเหล่านั้น มีอันไม่งอกขึ้นเป็นธรรมดา
อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำให้เหมือนตาลยอดด้วนฉะนั้น เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่า ตาลาวัตถุกตา (อันพระองค์ทรงทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน
แล้ว). อนึ่ง เพราะรูปาทิรสเป็นต้น พระองค์ทรงทำให้เป็นเหมือนตาล