เมนู

ศัพท์ซึ่งมีอยู่ในบทเป็นต้นว่า อภิวาเทติ นี้ ย่อมเป็นไปในอรรถชื่อว่า
วิภาวนะ (คือคำประกาศตามปกติของชาวโลก) ดุจ วา ศัพท์ในประโยคเป็นต้น
ว่า รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง.
เวรัญชพราหมณ์ ครั้นกราบทูลอย่างนั้นแล้ว ลำดับนั้น เห็นพระผู้มี
พระภาคเจ้า ผู้ไม่ทรงทำสามีจิกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้นแก่ตน จึงกราบทูล
ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! คำที่ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วนี้นั้น เป็นเช่นนั้นจริง
อธิบายว่า คำนั้นใด ที่ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว, คำนั้น ย่อมเป็นเช่นนั้นจริง
คือข้อที่ข้าพเจ้าได้ฟังมาและได้เห็นมานั้น ย่อมสมกัน คือเสมอกัน ได้แก่
ถึงความเป็นอย่างเดียวกันโดยความหมาย. เวรัญชพราหมณ์ กล่าวย้ำเรื่องที่ตน
ได้ฟังมาพร้อมทั้งที่ตนได้เห็นมา อย่างนี้ว่า ท่านพระโคดมผู้เจริญ ไม่กราบไหว้
ได้ลุกรับพวกพราหมณ์ ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาล ผ่านวัยมาโดยลำดับ
หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะเลย เมื่อจะตำหนิ (พระพุทธองค์) จึงกราบทูลว่า
ตยทํ โภ โคตม น สมฺปนฺนเมว ดังนี้, มีอธิบายว่า การที่พระองค์
ไม่ทรงทำสามีจิกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้นนั้น ไม่สมควรเลย.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคัดค้าน]


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงเข้าไปอาศัยโทษคือการกล่าว
ยกตนข่มท่าน แต่มีพระประสงค์จะทรงกำจัดความไม่รู้นั้น ด้วยพระหฤทัยที่
เยือกเย็นเพราะกรุณา แล้วแสดงความเหมาะสมแก่พราหมณ์นั้น จึงตรัส
ว่าดูก่อนพราหมณ์ ! ในโลก ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทพดาและมนุษย์ เราไม่เล็งเห็นบุคคลผู้ที่เราควร
กราบไหว้ ควรลุกรับ หรือควรเชื้อเชิญด้วยอาสนะ, เพราะว่าตถาคตพึง