เมนู

เมื่อจะประกาศความที่สัตว์โลกซึ่งยังเหลือ อันพระองค์ทรงกระทำให้แจ้งแล้ว
ด้วยอำนาจการกำหนดอย่างอุกฤษฏ์ จนกระทั่งถึงสมมติและพวกมนุษย์ที่
ยังเหลือ ฟุ้งขจรไปแล้ว ด้วยคำว่า สเทวมนุสฺสํ (พร้อมทั้งเทวดาและ
มนุษย์). ในบททั้งหลายมีบทว่า สเทวกํ เป็นต้นนี้ มีลำดับอนุสนธิเท่านี้.
[อรรถาธิบาย สยํ ศัพท์เป็นต้น]
อนึ่ง ในคำว่า สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทต นี้พึงทราบ
วินิจฉัยดังนี้ : -
บทว่า สยํ แปลว่า ด้วยพระองค์เอง, สยํ ศัพท์นี้ เป็นศัพท์มี
ใจความที่คนอื่นจะพึงนำไปหามิได้. บทว่า อภิญฺญา ความว่า ทรงรู้ด้วย
ความรู้ยิ่ง คือด้วยพระญาณอันยิ่ง. บทว่า สจฺฉิกตฺวา คือทรงทำให้ประจักษ์,
ด้วยบทว่า สจฺฉิกตฺวา นั่น เป็นอันท่านทำการห้ามกิจมีการอนุมานเป็นต้น
เสีย. บทว่า ปเวเทติ ความว่า คือทรงยังหมู่สัตว์ให้ตรัสรู้ คือให้รู้ ได้แก่
ทรงประกาศให้รู้.

[พระธรรมงามในเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุด]


ข้อว่า โส ธมฺมํ เทเสติ อาทิกลฺยณํ ฯ เป ฯ ปริโยสาน
กลฺยาณํ
มีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้ต้องสละสุขอันเกิด
แต่วิเวกอย่างยอดเยี่ยมแล้ว ทรงแสดงธรรมอยู่ ก็เพราะทรงอาศัยความกรุณา
ในสัตว์ทั้งหลาย. ก็แลพระองค์เมื่อทรงแสดงธรรมนั้น จะน้อยหรือมากก็ตาม
ทรงแสดงครบถ้วนทั้ง 3 ประการ มีความงามในเบื้องต้นเป็นอาทิเท่านั้น.
คืออย่างไร ? คืออย่างนี้ ความพิสดารว่า แม้พระคาถาเดียว ก็มีความงาม
ในเบื้องต้น ด้วยบาททีแรก มีความงามในท่ามกลาง ด้วยบาทที่สองและที่สาม