เมนู

อนึ่ง ในพระคาถานี้ บัณฑิตพึงเห็นใจความแห่งบทเหล่านั้น ๆ ตาม
นัยที่กล่าวแล้วในนิเทศนั้นแล. ส่วนนัยอื่นอีก มีดังนี้คือ : -
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด เป็น
ผู้มีโชค (คือมีส่วนแห่งบารมีธรรม) ทรง
หักกิเลส ทรงประกอบด้วยภัคคธรรม ทรง
จำแนก ทรงเสพ และทรงคลายการไปใน
ภพทั้งหลายเสียแล้ว. เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าพระองค์นั้น บัณฑิตจึงเฉลิม
พระนามว่า ภควา.

พึงทราบวินิจฉัยในพระคาถานั้นต่อไป. ผู้ศึกษาพึงทราบอรรถรูปว่า
เพราะภาคยธรรม (คือกุศล) อันถึงซึ่งฝั่งแห่งพระบารมี มีทานและศีลเป็นต้น
อันยังสุขทั้งที่เป็นโลกิยะทั้งที่เป็นโลกุตระให้บังเกิด มีแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น ฉะนั้น ในเมื่อควรจะเฉลิมพระนามว่า ภาคยวา แต่ท่านถือ
เอาลักษณะแห่งนิรุตติว่า ลงตัวอักษรใหม่ แปลงตัวอักษร เป็นต้น หรือ
ถือเอาลักษณะคือรวมเข้าในชุดศัพท์มี ปิโสทรศัพท์เป็นต้น ตามนัยแห่งศัพท์
จึงเฉลิมพระนามว่า ภควา ดังนี้.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหักกิเลสได้ตั้งแสนอย่าง]


อนึ่ง เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้ทรงหักกิเลสเครื่อง
เร่าร้อนกระวนกระวายทุกอย่าง ตั้งแสนอย่าง มีประเภทคือ โลภะ โทสะ
โมหะ วิปรีตมนสิการ อหิริกะ อโนตตัปปะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ
ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ
มทะ ปมาทะ ตัณหา อวิชชา, อกุศลมูล 3 ทุจริต 3 สังกิเลส 3 ,มลทิน 3

วิสมะ 3 สัญญา 3 วิตก 3 ปปัญจะ 3, วิปริเยสะ 4 อาสวะ 4 อาสวะ 4 คัณฐะ 4
โอฆะ 4 โยคะ 4 อคติ 4 ตัณหุปาทาน 4, เจโตขีละ 5 วินิพันยะ 5
นิวรณ์ 5 อภินันทนะ 5, วิวาทมูล 6 ตัณหากาย 6, อนุสัย 7, มิจฉัตตะ 8,
ตัณหามูลกะ 9, อกุศลกรรมบถ 10, ทิฏฐิ 62, และตัณหาวิปริต 108,
หรือโดยย่อได้ทรงหักมาร 5 คือ กิเลสมาร ขันธมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร
และเทวบุตรมาร, ฉะนั้น ในเมื่อควรจะเฉลิมพระนามว่า ภัคควา แต่ท่าน
เฉลิมพระนามว่า ภควา เพราะพระองค์ทรงหักอันตรายเหล่านั้นได้แล้ว.
*อนึ่ง ในตอนนี้ท่านกล่าวไว้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงหักราคะได้แล้ว ทรงหักโทสะได้แล้ว
ทรงโมหะได้แล้ว หาอาสวะมิได้, ธรรม
อันเป็นบาปทั้งหลาย พระองค์ก็ทรงหักเสีย
แล้ว, เพราะเหตุนั้น จึงเฉลิมพระนามว่า
ภควา.

ก็ความถึงพร้อมด้วยรูปกาย ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้
ทรงบุญลักษณะนับร้อย ย่อมเป็นอันท่านแสดงแล้ว ด้วยความที่พระองค์ทรง
มีพระกายสมส่วน. ความถึงพร้อมด้วยพระธรรมกาย ย่อมเป็นอันท่านแสดง
แล้วด้วยความที่พระองค์ทรงหักโทสะได้แล้ว. ความที่พระองค์ทรงเป็นผู้อันหมู่
นักวิจารณ์ฝ่ายโลกีย์นับถือมาก ความที่พระองค์เป็นผู้อันคฤหัสถ์และบรรพชิต
พึงเข้าเฝ้า ความที่พระองค์ทรงเป็นผู้สามารถในการบำบัดทุกข์กายและจิต
ของคฤหัสถ์และบรรพชิตเหล่านั้นผู้เข้าเฝ้าแล้ว ความที่พระองค์ทรงมีพระ
* องค์การศึกษาแผนกบาลี แปลออกสอบในสนามหลวง พ.ศ. 2505

อุปการะด้วยอามิสทานและธรรมทาน และความที่พระองค์ทรงสามารถ ในการ
ชักชวนด้วยความสุขทั้งที่เป็นโลกิยะทั้งที่เป็นโลกุตระ ย่อมเป็นอันท่านแสดง
แล้วเช่นเดียวกัน.
อนึ่ง เพราะ ภคะ ศัพท์ ย่อมเป็นไปในธรรม 6 ประการ คือ
ความเป็นใหญ่ ธรรม ยศ สิริ กามะ และความเพียรในโลก. ก็แลความ
เป็นใหญ่ในจิตของพระองค์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ยอดเยี่ยม
หรือความเป็นใหญ่ที่สมมติกันทางโลกิยะ มีการทำกายให้เล็กละเอียดและทำ
กายให้ลอยไปได้ (มีการหายตัวและการล่องหน) เป็นต้น ก็ทรงมีอยู่อย่าง
บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง พระโลกุตรธรรม ก็เช่นเดียวกัน คือทรงมีอยู่อย่าง
บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง. พระยศอันแผ่คลุมโลกสาม ซึ่งทรงบรรลุด้วย
พระคุณตามที่เป็นจริงบริสุทธิ์ยิ่งนัก. พระสิริแห่งพระอังคาพยพน้อยใหญ่
ทุกส่วน บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง สามารถยังความเลื่อมใสแห่งดวงตาและ
ดวงใจ ของชนผู้ขวนขวายในการดูพระรูปกายให้บังเกิด. กามะที่ชนทั้งหลาย
หมายรู้กันว่า ความสำเร็จแห่งประโยชน์ที่ปรารถนา (ก็มีอยู่) เพราะความที่
แห่งความปรารถนาที่พระองค์ทรงตั้งไว้ เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พระองค์ หรือ
เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่นนั้น ๆ สำเร็จแล้วอย่างนั้นทีเดียว หรือว่าความ
เพียร กล่าวคือความพยายามโดยชอบ อันเป็นเหตุแห่งความบังเกิดขึ้นของ
ความเป็นครูแห่งโลกทั้งปวง ก็ทรงมีอยู่เหตุนั้น แม้เพราะพระองค์ทรงประกอบ
แล้วด้วยภคธรรมเหล่านี้ ก็เฉลิมพระนามได้ว่า ภควา ด้วยอรรถนี้ว่า ภคธรรม
ทั้งหลายของพระองค์มีอยู่ ดังนี้.
อนึ่ง เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้จำแนก มีอธิบายว่า ทรงแจก คือ
เปิดเผย แสดงซึ่งธรรมทั้งปวง โดยประเภทมีกุศลเป็นต้น หรือซึ่งธรรมมี

กุศลเป็นต้น โดยประเภทมีขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ อินทรีย์ และ
ปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น หรือซึ่งอริยสัจ คือ ทุกข์ ด้วยอรรถว่าเป็นสิ่งบีบคั้น
เป็นสิ่งถูกปรุงแต่ง เป็นสิ่งแผดเผา และเป็นสิ่งแปรผัน, ซึ่งสมุทัย ด้วย
อรรถว่าหอบทุกข์มาให้เป็นต้นเค้า เป็นเครื่องพัวพัน และเป็นเครื่อง
หน่วงเหนี่ยว, ซึ่งนิโรธ ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องสลัดออก เป็นสภาพสงัด
ไม่ถูกปรุงแต่ง และเป็นอมตะ ซึ่งมรรค ด้วยอรรถว่าเป็นธรรมนำออกจากทุกข์
เป็นเหตุ เป็นเครื่องชี้ และเป็นความเป็นใหญ่, ฉะนั้น ในเมื่อควรเฉลิม
พระนามว่า วิภัตตวา ก็เฉลิมพระนามได้ว่า ภควา.
อนึ่ง เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงคบ หรือทรงเสพ
หมายความว่า ได้ทรงทำให้มาก ซึ่งทิพพวิหาร พรหมวิหาร และอริยวิหาร
ซึ่งกายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก ซึ่งสุญญตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์
และอนิมิตตวิโมกข์ และซึ่งอุตริมนุสธรรมเหล่าอื่น ทั้งที่เป็นโลกิยะทั้งที่เป็น
โลกุตระ, ฉะนั้น ในเมื่อควรเฉลิมพระนามว่า ภัตตวา ก็เฉลิมพระนามได้ว่า
ภควา.
อนึ่ง เพราะความไป กล่าวคือตัณหาในภพทั้ง 3 อันพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงคายเสียแล้ว, ฉะนั้น ในเมื่อควรเฉลิมพระนามว่า
ภเวสุ วนฺตคมโน (ผู้มีความไปในภพทั้งหลายอันคายแล้ว) แต่ถวายพระนาม
ว่า ภควา เพราะถือเอา ภ อักษรแต่ ภว ศัพท์ ค อักษรแต่คมนศัพท์
และ ว อักษรแต่ วันตศัพท์ ทำให้เป็นทีฆะ เปรียบเหมือนถ้อยคำในทางโลก
เมื่อควรจะกล่าวว่า เมหนสฺส ขสฺส มาลา (ระเบียบแห่งโอกาสอันลับ)
เขากล่าวว่า เมขลา ฉะนั้น.

[อรรถาธิบาย สเทวกะ ศัพท์ เป็นต้น]


หลายบทว่า โส อิมํ โลกํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงทำโลกนี้ ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง. บัดนี้ จะชี้แจงคำที่ควรกล่าว
ต่อไป : -
บทว่า สเทวกํ คือพร้อมด้วยเทวดาทั้งหลาย ชื่อ สเทวกะ (พระผู้มี
พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้) พร้อมด้วยมาร ที่ชื่อว่า สมารกะ
พร้อมด้วยพรหม ที่ชื่อว่า สพรหมกะ พร้อมด้วยสมณะและพราหมณ์ ที่
ชื่อว่า สัสสมณพราหมณี (ให้แจ้งชัด) ด้วยอาการอย่างนี้. ที่ชื่อว่า ปชา
เพราะความเป็นผู้เกิดจากกรรมกิเลสของตน. ซึ่งหมู่สัตว์นั้น พร้อมด้วยเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย ชื่อว่า สเทวมนุสสะ.
บรรดาคำว่า สเทวกะ เป็นต้น พึงทราบการถือเอาเทวดาชั้น
กามาวจร 5 ชั้น ด้วยคำว่า สเทวกะ (พร้อมด้วยเทวดา). พึงทราบการถือ
เอาเทวดาชั้นกามาวจรชั้นที่ 6 ด้วยคำว่า สมารกะ. พึงทราบการถือเอา
พรหมมีพรหมชั้นพรหมกายิกาเป็นต้น ด้วยคำว่า สพรหมกะ. พึงทราบการถือเอา
สมณะและพราหมณ์ผู้มีบาปอันสงบแล้ว และผู้มีบาปอันลอยแล้ว ด้วยคำว่า
สัสสมณพราหมณี. พึงทราบการถือเอาสัตว์โลก โดยคำว่า ปชา. พึงทราบ
การถือเอาสมมติเทพและมนุษย์ที่เหลือ ด้วยคำว่า สเทวมนุสสะ.
บรรดาบททั้ง 4 นี้ ดังพรรณนามานี้ โอกาสโลก พึงทราบว่าท่าน
ถือเอาแล้วด้วยบททั้ง 3 (คือ สเทวกะ 1 สมารกะ 1 สพรหมกะ 1) สัตว์โลก
พึงทราบว่า ท่านถือเอาแล้วด้วยบททั้ง 2 (คือสัสสมณพราหมณี และสเทว-
มนุสสะ) ด้วยอำนาจแห่งหมู่สัตว์.