เมนู

อรรถกถาพระวินัย


ชื่อสมันตปาสาทิกาแปล
มหาวิภังควรรณนา


ภาค 1


อารัมภกถา


*ข้าพเจ้าขอถวายนมัสการแด่พระผู้เป็น
ที่พึ่ง ผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา
พระองค์ผู้ทรงกระทำกรรมที่ทำได้ยากยิ่ง
ตลอดกาลซึ่งจะนับประมาณมิได้ แม้ด้วย
หลายโกฏิกัป ทรงถึงความยากลำบาก เพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์โลก. ข้าพเจ้าขอ
ถวายนมัสการแก่พระธรรมอันประเสริฐ อัน
ขจัดเสียซึ่งข่ายคือกิเลส มีอวิชชาเป็นต้น
ที่พระพุทธเจ้าทรงเสพอยู่เป็นนิตย์ ซึ่งสัตว-
โลก เมื่อไม่หยั่งรู้ต้องท่องเที่ยวไปสู่ภพน้อย
และภพใหญ่. ข้าพเจ้าขอถวายนมัสการด้วย
เศียรเกล้า ซึ่งพระอริยสงฆ์ ผู้ประกอบ

*องค์การศึกษาแผนกบาลี แปลออกสอบในสนามหลวง พ.ศ. 248-2506

ด้วยคุณ มีศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และ
วิมุตติญาณทัสนะเป็นเค้ามูล เป็นเนื้อนาบุญ
ของเหล่าชนผู้มีความต้องการด้วยกุศล. ข้าพ
เจ้านมัสการอยู่ ซึ่งพระรัตนตรัยอันควร
นมัสการโดยส่วนเดียว ด้วยประการดังกล่าว
มานี้ ได้แล้วซึ่งกุศลผลบุญที่ไพบูล หลั่งไหล
ไม่ขาดสายอันใด ด้วยอานุภาพแห่งกุศลผล
บุญนั้น ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้ปลอดอันตราย.
ข้าพเจ้าจักอาศัยอานุภาพของท่านบูรพาจารย์
พรรณนาพระวินัยให้ไม่ปะปนกัน ซึ่งเมื่อ
ทรงอยู่แล้ว ศาสนาของพระพุทธเจ้า ผู้มิได้
ทรงตั้งมั่นอยู่ ( ในส่วนสุดทั้งสอง ) แต่ทรง
ดำรงชอบด้วยดี ( ในมัชฌิมาปฏิปทา ) เป็น
อันประดิษฐานอยู่ได้. แท้ที่จริง พระวินัยนี้
ถึงท่านบูรพาจารย์ผู้องอาจ ซึ่งขจัดมลทิน
และอาสวะออกหมดแล้วด้วยน้ำคือญาณ มี
วิชชาและปฏิสัมภิทาบริสุทธิ์ ฉลาดในการ
สังวรรณนาพระสัทธรรม หาผู้เปรียบปาน
ในความเป็นผู้ขัดเกลาได้ไม่ง่าย เปรียบดัง
ธงชัยของวัดมหาวิหาร ได้สังวรรณนาไว้โดย
นัยอันวิจิตร คล้อยตามพระสัมพุทธเจ้าผู้
ประเสริฐ. กระนั้น เพราะสังวรรณนานี้

มิได้อำนวยประโยชน์ไร ๆ แก่ชาวภิกษุใน
เกาะอื่น เพราะท่านเรียบเรียงไว้ด้วยภาษา
ชาวเกาะสิงหล ฉะนั้น ข้าพเจ้าผู้รำลึกอยู่
ด้วยดีโดยชอบ ถึงคำเชิญของพระเถระนาม
ว่า พุทธสิริ จึงจักเริ่มด้วยดี ซึ่งการสังวรรณ-
นานี้ อันควรแก่นัยพระบาลี ณ บัดนี้. และ
เมื่อจะเริ่มด้วยดี ซึ่งสังวรรณนานั้น จักเอา
มหาอรรถกถาเป็นโครงของสังวรรณนานั้นไม่
ละข้อความอันควร แม้จากวินิจฉัย ซึ่ง
ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถามหาปัจจรี และ
อรรถกถาอันปรากฏด้วยดี โดยชื่อว่ากุรุนที
เป็นต้น กระทำเถรวาทไว้ในภายในแล้ว จึง
จักเริ่มต้นด้วยดีโดยชอบซึ่งสังวรรณนา ขอภิกษุ
ทั้งหลายปูนเถระ ปูนใหม่ และปานกลาง
ผู้มีจิตเลื่อมใสเคารพนับถือพระธรรมของ
พระตถาคตเจ้า ผู้มีดวงประทีปคือพระธรรม
จงตั้งใจฟังสังวรรณนานั้นของข้าพเจ้า โดย
เคารพเถิด.
พระอรรถกถาจารย์ชาวสิงหล มิได้
ละมติ (อธิบาย) ของท่านพุทธบุตรทั้งหลาย
ผู้รู้ธรรมวินัย เหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้า
ตรัสไว้ ได้แต่อรรถกถาในปางก่อน. เพราะ

เหตุนั้นแล คำที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถา
ทั้งหมดยกเว้นคำที่เขียนด้วยความพลั้งพลาด
เสีย ย่อมเป็นประมาณแห่งบัณฑิตทั้งหลาย
ผู้มีความเคารพในสิกขาในพระศาสนานี้. ก็
เพราะแม้วรรณนานี้ จะแสดงข้อความแห่ง
คำทั้งหลายที่มาในพระสุตตันตะให้เหมาะสม
แก่พระสูตร ละทิ้งภาษาอื่นจากอรรถกถานั้น
เสียทีเดียว และย่นพลความพิสดาร ( คำ
ประพันธ์ที่พิสดาร ) ให้รัดกุมเข้า ก็จักไม่ให้
เหลือไว้ ซึ่งข้อวินิจฉัยทั้งปวง ไม่ข้ามลำดับ
พระบาลีที่เป็นแบบแผนอย่างใดอย่างหนึ่ง
เพราะฉะนั้น บัณฑิตควรตามศึกษาวรรณนา
นี้โดยเอื้อเฟื้อแล.
*
เพราะข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในคาถาเหล่านั้นว่า จักพรรณนาพระวินัย
ดังนี้ ผู้ศึกษาควรกำหนดพระวินัยก่อนว่า วินัยนั้น คืออะไร? เพราะฉะนั้น
ข้าพเจ้าจึงกล่าวคำนี้ว่า ที่ชื่อว่า วินัย ในที่นี้ประสงค์เอาวินัยปิฎกทั้งสิ้น.
ก็เพื่อจะสังวรรณนาพระวินัยนั้น ข้าพเจ้าจะกล่าวมาติกาดังต่อไปว่า
พระวินัยปิฎกนี้ ผู้ใดกล่าวไว้ กล่าว
ในกาลใด กล่าวไว้เพราะเหตุใด ผู้ใดทรงไว้

*นย. สารตฺถทีปนี 1/43-47 ว่า เพราะแม้วรรณนานี้ ซึ่งจะแสดงข้อความแห่งถ้อยคำอันมา
ในพระสุตตันตะให้เหมาะสมกับพระสูตร ข้าพเจ้าก็จักละภาษาอื่นจากอรรถกถานั้นเสียเลยและ
ย่นพลความที่พิสดารให้รัดกุมเข้า ไม่ละทิ้งข้อวินิจทั้งปวงให้เหลือไว้ ไม่ข้ามลำดับพระบาลี
ที่เป็นแบบแผนอะไร ๆ แล้วจักรจนา, เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาควรตั้งใจสำเหนียกวรรณนานี้แล.

ผู้ใดนำสืบมา และตั้งอยู่แล้วในบุคคลใด
ข้าพเจ้ากล่าววิธีนี้แล้ว ภายหลังจักแสดง
เนื้อความแห่งปาฐะว่า " เตน " เป็นต้นโดย
ประการต่าง ๆ ทำการพรรณนาอรรถแห่ง
พระวินัย.

บรรดามาติกาเหล่านั้น คำว่า วุตฺตํ เยน ยทา ยสฺมา นี้
ท่านอาจารย์กล่าวหมายเอาคำมีอาทิอย่างนี้ก่อนว่า โดยสมัยนั้นพระผู้มีพระภาค-
เจ้าประทับอยู่ ( ณ โคนต้นไม้สะเดาอันนเฬรุยักษ์สิงสถิต ) ใกล้เมืองเวรัญชา1.
เพราะคำนี้มิใช่เป็นคำที่กล่าวให้ประจักษ์กับพระองค์เองแห่งพระผู้มีพระภาค-
เจ้า2. เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงควรกล่าวตั้งปัญหานั่นดังนี้ว่า คำนี้ใครกล่าวไว้
กล่าวไว้ในกาลไหน และเพราะเหตุไร จึงกล่าวไว้. ( แก้ว่า ) คำนี้ท่านพระ-
อุบาลีเถระกล่าวไว้ ก็แลคำนั้น ท่านพระอุบาลีเถระกล่าวไว้ในคราวทำปฐม-
มหาสังคีติ (ในคราวทำสังคายนาใหญ่ครั้งแรก). อันชื่อว่า ปฐมมหาสังคีตินี้
พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้กล่าวแล้วในปัญจสติกสังคีติขันธกะแม้ก็จริง
ถึงอย่างนั้น 3 เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในนิทานบัณฑิตควรทราบตามนัยนี้ แม้ใน
อรรถกถานี้.
1. วิ.มหา. 1/1. 2. นย. สารตฺถทิปนี 1/39 ว่า คือมิใช่เป็นพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ หรือเป็นคำที่ท่านกล่าวไว้ในเวลาที่พระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่
2. วิ. จลฺ . 7/379.

พาหิรนิทานวรรณนา


[

ปรารภมูลเหตุทำปฐมสังคายนา

]
1ความพิสดารว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นที่พึ่งแห่งโลกทรง
บำเพ็ญพุทธกิจ ตั้งแต่ทรงยังพระธรรมจักรให้เป็นไปเป็นต้น จนถึงโปรด
สุภัททปริพาชกแล้วเสด็จปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในเวลา
ใกล้รุ่ง ในวันวิสาขปุณณมี ระหว่างต้นสาละทั้งคู่ในสาลวัน อันเป็นที่เสด็จ
ประพาสของเจ้ามัลละทั้งหลาย ใกล้กรุงกุสินารา ท่านพระมหากัสสปผู้เป็น
พระสังฆเถระแห่งภิกษุประมาณ 7 แสนรูป ซึ่งประชุมกันในสถานที่ปรินิพพาน
แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ระลึกถึงคำที่สุภัททวุฑฒบรรพชิตกล่าว เมื่อพระผู้มี
พระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วได้ 7 วันว่า อย่าเลย ผู้มีอายุทั้งหลาย !
ท่านทั้งหลายอย่าเศร้าโศกไปเลย ท่านทั้งหลายอย่าร่ำไรไปเลย พวกเราพ้น
ดีแล้วจากพระมหาสมณะพระองค์นั้น ด้วยว่าพวกเราถูกพระมหาสมณะ
พระองค์นั้น คอยรบกวนห้ามปรามว่า นี้สมควรแก่เธอทั้งหลาย นี้ไม่สมควร
แก่เธอทั้งหลาย ดังนี้ ก็บัดนี้พวกเราจักปรารถนากระทำกรรมใด ก็จักทำ
กรรมนั้น พวกเราจักไม่ปรารถนากระทำกรรมใด จักไม่ทำกรรมนั่น2 ดังนี้
ดำริอยู่ว่า ข้อที่พวกปาปภิกษุ จะพึงเป็นผู้สำคัญเสียว่า ปาพจน์มีพระศาสดา
ล่วงไปแล้ว ดังนี้ ได้พรรคพวกแล้วพึงยังพระสัทธรรมให้อันตรธานได้ไม่นาน
เลย เรื่องนี้เป็นฐานะที่มีได้แน่. ความจริง พระวินัยยังตั้งอยู่ตราบใด
ปาพจน์ยังมีพระศาสดาไม่ล่วงไปแล้วตราบนั้น ข้อนี้สมด้วยพระดำรัสที่พระผู้มี-
1. องค์การศึกษาแผนกบาลี แปลออกสอบในสนามหลวง พ.ศ. 2490
2. วิ. จลฺ. 7 / 380