เมนู

มนต์ทั้งหลาย เหตุนั้น ผู้นั้นชื่อว่าพราหมณ์. จริงอยู่ คำว่า พราหมณ์นี้แล
เป็นคำเรียกพวกพราหมณ์ โดยชาติ. แต่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านเรียกว่า
พราหมณ์ เพราะความเป็นผู้มีบาปอันลอยเสียแล้ว.

[อธิบายเรื่องที่พราหมณ์ได้ฟัง]


บัดนี้ พระอุบาลีเถระเมื่อจะประกาศเรื่องที่เวรัญชพราหมณ์ได้ฟัง จึง
ได้กล่าวคำมีว่า สมโณ ขลุ โภ โคตโม เป็นต้น. ในคำนั้น บัณฑิต
พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่าสมณะ เพราะเป็นผู้มีบาปสงบแล้ว.
ข้อนี้ สมจริงดังคำที่พระองค์ตรัสไว้ว่า เราเรียกบุคคลว่าเป็นพราหมณ์ เพราะ
มีบาปอันลอยเสียแล้ว ว่าสมณะ เพราะความเป็นผู้มีบาปอันสงบแล้ว. ก็
พระผู้มีพระภาคเจ้า จัดว่า เป็นผู้มีบาปอันอริยมรรคอย่างยอดเยี่ยมให้สงบแล้ว.
เพราะฉะนั้น พระนาม คือ สมณะนี้ พระองค์ทรงบรรลุแล้ว ด้วยคุณตาม
เป็นจริง.
บทว่า ขลุ เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า ได้ฟังมา.
คำว่า โภ เป็นเพียงคำร้องเรียนที่มาแล้วโดยชาติ แห่งเหล่าชนผู้มี
ชาติเป็นพราหมณ์. แม้ข้อนี้ ก็สมจริงดังคำที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ผู้นั้นย่อม
เป็นผู้ชื่อว่า โภวาที (ผู้มีวาทะว่าเจริญ) ผู้นั้นแล ยังมีกิเลสเครื่องกังวล.
ด้วยคำว่า โคตโม นี้ เวรัญชพราหมณ์ ทูลเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วย
อำนาจแห่งพระโคตร. เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงเห็นใจความ ในคำว่า สมโณ
ขลุ โภ โคตโม
นี้ อย่างนี้ว่า ได้ยินว่า พระสมณโคตมโคตร ผู้เจริญ.
ส่วนคำว่า สกฺยปุตฺโต นี้ แสดงถึงตระกูลอันสูงส่งของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
คำว่า สกฺยกุลา ปพฺพชิโต แสดงความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงผนวช

ด้วยศรัทธา. มีคำอธิบายว่า พระองค์มิได้ถูกความเสื่อมอะไร ๆ ครอบงำ
ทรงละตระกูลนั้น อันยังไม่สิ้นเนื้อประดาตัวเลยแล้วทรงผนวชด้วยศรัทธา.
คำอื่นจากนั้นมีอรรถอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วแล.
ทุติยาวิภัตติอันมีอยู่ในบทว่า ตํ โข ปน นี้ ย่อมเป็นไปในอรรถ
ที่กล่าวถึงอิตถัมภูต. ความว่า ก็ (กิตติศัพท์อันงาม) ของพระโคดมผู้เจริญ
นั้นแล (ฟุ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า...)
บทว่า กลฺยาโณ คือประกอบด้วยคุณอันงาม อธิบายว่า ประเสริฐ.
เกียรตินั้นเอง หรือเสียงกล่าวชมเชย ชื่อว่า กิตติศัพท์.

พุทธคุณกถา


ก็ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า อิติปิ โส ภควา เป็นต้น มีโยชนาดัง
ต่อไปนี้ก่อนว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ เพราะเหตุ
แม้นี้, เป็นสัมมาสัมพุทธะ เพราะเหตุแม้นี้, เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ
จรณะ เพราะเหตุแม้นี้, เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เพราะเหตุแม้นี้, เป็นผู้รู้แจ้งโลก
เพราะเหตุแม้นี้, เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างยอดเยี่ยม เพราะเหตุแม้นี้, เป็น
ครูสอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพราะเหตุแม้นี้, เป็นผู้เบิกบานแล้ว
เพราะเหตุแม้นี้, เป็นผู้จำแนกแจกธรรม เพราะเหตุแม้นี้. มีอธิบายที่ท่าน
กล่าวไว้ว่า เพราะเหตุนี้และเหตุนี้.
* บัดนี้ จักระทำการพรรณนาโดยนัยพิสดารแห่งบทเหล่านั้น เพื่อ
ความเป็นผู้ฉลาดในสุดตันตนัย และเพื่อรื่นเริงแห่งจิตด้วยธรรมีกถาอัน
ประกอบด้วยพุทธคุณ ในวาระเริ่มต้นแห่งการสังวรรณนาพระวินัยแห่งพระ-
วินัยธรทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้น พึงทราบวินิจฉับ ในคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ แม้เพราะเหตุนี้ ดังนี้เป็นต้น.

[อธิบายพุทธคุณบทว่า อรหํ]


พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นพระอรหันต์
เพราะเหตุเหล่านี้ก่อน คือเพราะเป็นผู้ไกล และทรงทำลายข้าศึกทั้งหลาย และ
ทรงหักกำจักรทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ควรแก่ปัจจัยเป็นต้น เพราะไม่มีความลับ
ในการทำบาป.
* องค์การศึกษาแผนกบาลี แปลออกสอบในสนามหลวง พ.ศ. 2490