เมนู

[

พระเจ้าอโศกตรัสถามข้อสงสัยในเรื่องบาป

]
พระราชา ทอดพระเนตรเห็นปาฏิหาริย์นั้นแล้ว ก็ตกลงพระทัยว่า
บัดนี้ พระเถระจักสามารถเพื่อจะยกย่องพระศาสนาได้ จึงตรัสถามความสงสัย
ของพระองค์ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! โยมได้ส่งอำมาตย์นายหนึ่งไปด้วย
สั่งว่า เธอไปยังพระวิหารระงับอธิกรณ์แล้วนิมนต์ให้ภิกษุสงฆ์ทำอุโบสถเถิด
ดังนี้ เขาไปยังพระวิหารแล้ว ได้ปลงภิกษุเสียจากชีวิตจำนวนเท่านี้รูป บาป
นั้นจะมีแก่ใคร ?
พระเถระ ทูลถามว่า ขอถวายพระพร ! ก็พระองค์มีความคิดหรือว่า
อำมาตย์นี้ จงไปยังพระวิหารแล้ว ฆ่าภิกษุทั้งหลายเสีย.
พระราชา. ไม่มี เจ้าข้า.
พระเถระ. ขอถวายพระพร ! ถ้าพระองค์ไม่มีความคิดเห็นปานนี้ไซร้
บาปไม่มีแด่พระองค์เลย.

[พระโมคคลีบุตรติสสเถระอ้างพระพุทธพจน์เล่าอดีตนิทาน]


ลำดับนั้น พระเถระ (ถวายวิสัชนา) ให้พระราชาทรงเข้าพระทัย
เนื้อความนี้ด้วยพระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวเจตนาว่าเป็น
กรรม บุคคลคิดแล้ว จึงกระทำกรรมด้วยกาย วาจา ใจ1 ดังนี้. เพื่อแสดง
เนื้อความนั้นนั่นแล พระเถระจึงนำติดติรชาดกมา2 ( เป็นอุทาหรณ์) ดังต่อ
ไปนี้.
ขอถวายพระพร มหาบพิตร ! ในอดีตกาล นกกระทาชื่อ ทีปกะ
เรียนถามพระดาบสว่า
1. อง. ฉกฺก. 22/463. 2. ขุ. ชา. 27/140-1. ชาตกฏฺฐกถา. 4/305.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! นกเป็นอันมาก
เข้าใจว่า ญาติของพวกเราจับอยู่แล้ว จึงพา
กันมา นายพรานอาศัยข้าพเจ้าย่อมถูกต้อง
กรรม เมื่อนายพรานอาศัยข้าพเจ้าทำบาป
นั้น ใจข้าพเจ้า ย่อมสงสัย ว่า (บาปนั้น
จะมีแก่ข้าพเจ้า หรือหนอ ?).

พระดาบส ตอบว่า ก็ท่านมีความคิด ( อย่างนี้ ) หรือว่า ขอนก
ทั้งหลายเหล่านี้มา เพราะเสียง และเพราะเห็นรูปของเราแล้วจงถูกแร้ว หรือ
จงถูกฆ่า
นกกระทา เรียนว่า ไม่มี ท่านผู้เจริญ
ลำดับนั้น ดาบสจึงให้นกกระทานั้นเข้าใจยินยอมว่า ถ้าท่านไม่มีความ
คิดไซร้ บาปก็ไม่มี แท้จริง กรรมย่อมถูกต้องบุคคลผู้คิดอยู่เท่านั้น หาถูกต้อง
บุคคลผู้ไม่คิดไม่
ถ้าใจของท่าน ไม่ประทุษร้าย (ใน
การทำความชั่ว) ไซร้ กรรมที่นายพราน
อาศัยท่านกระทำ ก็ไม่ถูกต้องท่าน บาปก็
ไม่ติดเปื้อนท่าน ผู้มีความขวนขวายน้อย
ผู้เจริญ (คือบริสุทธิ์).

[พระเจ้าอโศกทรงชำระเสี้ยนหนามแห่งพระพุทธศาสนา]


พระเถระ ครั้น (ถวายวิสัชนา) ให้พระราชาทรงเข้าพระทัยอย่างนั้น
แล้ว พักอยู่ในพระราชอุทยานในพระนครนั้นนั่นแล ตลอด 7 วัน แล้วให้