เมนู

ก่อนแล้ว แม้ก็จริง ถึงกระนั้น (พระโพธิสัตว์) ก็ได้ลากไปตลอดที่ประมาณ
ชั่ว 100 เล่มเกวียน เพื่อให้เกวียนเล่มหลังจอดในที่เกวียนเล่มหน้าจอดอยู่.
จริงอยู่ พระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมไม่มีการกระทำที่ย่อหย่อน.
บาทคาถาว่า เตน จตฺตมโน อหุ มีความว่า โคนันทิวิสาลนั้น
มีใจเบิกบาน เพราะการได้ทรัพย์นั้นของพราหมณ์ และเพราะการงานของตน.
ก็ในคำว่า อกฺโกเสนปิ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะจำแนก
ไว้ข้างหน้าว่า คำด่ามี 2 อย่าง คือ คำด่าที่เลว 1 คำด่าที่ดี 1; เพราะฉะนั้น
จึงไม่ตรัสเหมือนอย่างที่ตรัสไว้ในก่อนว่า ย่อมด่าด้วยคำที่เลวบ้าง ตรัสไว้
อย่างนี้ว่า อกฺโกเสน (โดยคำสบประมาท) ดังนี้.

[แก้อรรถโอมสวาทเป็นต้น ]


ชาติแห่งคนการช่างถากไม้ชื่อว่า เวณชาติ.
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เวฬุการชาติ ดังนี้ก็มี.
ชาติแห่งพรานเนื้อเป็นต้น ชื่อว่า เนสาทชาติ.
ชาติแห่งคนการช่างทำหนัง ชื่อว่า รถการชาติ (ชาติแห่งคนทำรถ).
ชาติแห่งคนเทดอกไม้ ชื่อว่า ปุกฺกุสชาติ.
คำว่า อวกณฺณกา เป็นชื่อของพวกทาส; เพราะฉะนั้น จึงเป็น
คำเลว.
บทว่า โอญาตํ แปลว่า ที่เขาเย้ยหยัน. ภิกษุบางพวกสวดว่า
อุญฺญาตํ ดังนี้ก็มี.
บทว่า อวุญฺญาตํ แปลว่า ที่เขาเหยียดหยาม.
บทว่า หีฬิตํ แปลว่า ที่เขาเกลียดชัง.
บทว่า ปริภูตํ แปลว่า ที่เขาดูหมิ่นว่า จะมีประโยชน์อะไรด้วยคนนี้.
บทว่า อจิตีกตํ แปลว่า ที่เขาไม่กระทำความเคารพยกย่อง.

การงานช่างไม้ ชื่อว่า โกฏฐกกรรม. นิ้วหัวแม่มือ ชื่อว่า มุทธา
(วิชาการช่างนับ). การนับที่เหลือมีการนับไม่ขาดสายเป็นต้น ชื่อว่า คณนา
(วิชาการช่างคำนวณ). อักษรเลข ชื่อว่า เลขา (วิชาการช่างเขียน). โรค
เบาหวาน ท่านเรียกว่า โรคอุกฤษฏ์ เพราะไม่มีเวทนา.
บทว่า ปาฎิกงฺขา แปลว่า พึงปรารถนา.
สองบทว่า ยกาเรน วา ภกาเรน วา มีความว่า คำด่าที่ประกอบ
ย อักษร และ ภ อักษร (ชื่อว่า เป็นคำด่าที่เลว).
ในคำว่า กาฏโกฏจิกาย วา (นี้) นิมิตแห่งบุรุษชื่อว่า กาฏะ นิมิต
แห่งสตรีชื่อว่า โกฏจิกา. คำด่าที่ประกอบด้วยบททั้งสองนั่นอันใด คำด่านั่น
ชื่อว่า เลวแล.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงยกอาบัติขึ้นปรับ ด้วยอำนาจ
แห่งชนิดของอักโกสวัตถุมีชาติเป็นต้นเหล่านั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า อุปสมฺ-
ปนฺโน อุปสมฺปนฺนํ
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น สามบทว่า ขุํเสตุกาโม วมฺเภตุกาโม
มงฺกุกตฺตุกาโม มีความว่า ผู้ประสงค์จะด่า ประสงค์จะติเตียน ประสงค์จะ
ทำให้อัปยศ.
สองบทว่า หีเนน หีนํ ได้แก่ ด้วยคำกล่าวถึงชาติอันเลว คือ
ด้วยชาติที่เลว. บัณฑิตพึงทราบอรรถในบททั้งปวง โดยอุบายอย่างนี้.
อนึ่ง บรรดาบทเหล่านี้ ภิกษุ เมื่อกล่าวให้เลวด้วยถ้อยคำอันเลว
ถึงจะกล่าวคำจริงก็ตาม ถึงอย่างนั้น เธอก็ต้องปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด เพราะ
เป็นผู้ประสงค์จะกล่าวเสียดแทง. และเมื่อกล่าวให้เป็นคนเลวด้วยคำที่ดี แม้
จะกล่าวคำไม่จริงก็ตาม, ถึงอย่างนั้น ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์ด้วยสิกขาบทนี้
เพราะเป็นผู้ประสงค์จะกล่าวเสียดสี ไม่ใช่ด้วยสิกขาบทก่อน. ฝ่ายภิกษุใด
กล่าวคำเป็นต้นว่า เจ้าเป็นจัณฑาลดี เจ้าเป็นพราหมณ์ดี เจ้าเป็นจัณฑาลชั่ว

เจ้าเป็นพราหมณ์ชั่ว ดังนี้, แม้ภิกษุนั้น พระวินัยธรพึงปรับด้วยอาบัติ
เหมือนกัน.
ก็ในวาระว่า สนฺติ อิเธกจฺเจ เป็นต้นนี้ เป็นอาบัติทุกกฏ เพราะ
เป็นคำกล่าวกระทบกระทั่ง. แม้ในวาระว่า เย-นูน-น-มยํ ดังนี้เป็นต้น
ก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่ในอนุปสัมบัน เป็นทุกกฏอย่างเดียว ในวาระทั้ง 4.
แต่ด้วยคำว่า โจโรสิ คณฺฐเภทโกสิ (เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนทำลายปม)
เป็นต้น ทุก ๆ วาระ เป็นทุกกฏเหมือนกัน ทั้งอุปสัมบันทั้งอนุปสัมบัน.
อนึ่ง เพราะความประสงค์จะเล่น เป็นทุพภาษิตทุก ๆ วาระ ทั้งอุปสัมบัน
ทั้งอนุปสัมบัน. ความเป็นผู้มีความประสงค์ในอันล้อเลียนและหัวเราะ ชื่อว่า
ความเป็นผู้มีความประสงค์จะเล่น ก็ในสิกขาบทนี้ เว้นภิกษุเสีย สัตว์ทั้งหมด
มีนางภิกษุณีเป็นต้น บัณฑิตพึงทิราบว่า ตั้งอยู่ในฐานะแห่งอนุปสัมบัน.
ในคำว่า อตฺถปุเรกขารสฺส เป็นต้น พึงทราบว่า ภิกษุผู้กล่าว
อรรถแห่งพระบาลี ชื่อว่า อัตถปุเรกขาระ (ผู้มุ่งอรรถ). ผู้บอกสอนพระบาลี
พึงทราบว่า ธัมมปุเรกขาระ (ผู้มุ่งธรรม). ผู้ตั้งอยู่ในการพร่ำสอน กล่าว
โดยนัยเป็นต้นว่า ถึงบัดนี้ เจ้าเป็นคนจัณฑาล, เจ้าก็อย่าได้ทำบาป, อย่าได้
เป็นคนมีมืดมามืดไปเป็นเบื้องหน้า ดังนี้, พึงทราบว่า ชื่อว่า อนุสาสนี-
ปุเรกขาระ
(ผู้มุ่งสอน). บทที่เหลือตื้นทั้งนั้นแล.
สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน 3 เกิดทางกายกับจิต 1 ทางวาจากับจิต 1
ทางกายวาจากับจิต 1 เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม
วจีกรรม อกุศลจิต ทุกขเวทนา ฉะนี้แล.
แต่ในอาบัติเหล่านี้ อาบัติทุพภาษิต เกิดทางวาจากับจิต เป็นกิริยา
สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ อกุศลจิต มีเวทนา 2 คือ สุขเวทนา 1 อุเปกขา-
เวทนา 1.
โอมสวาทสิกขาบทที่ 2 จบ

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ 3


เรื่องพระฉัพพัคคีย์


[255] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น
พระฉัพพัคคีย์ เก็บเอาคำส่อเสียดของพวกภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง เกิดทะเลาะ
ถึงวิวาทกัน ไปบอกคือฟังคำของฝ่ายนี้แล้ว บอกแก่ฝ่ายโน้น เพื่อทำลาย
ฝ่ายนี้ ฟังคำของฝ่ายโน้น แล้วบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น เพราะ
เหตุนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็รุนแรงยิ่งขึ้น.
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่
ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้เก็บเอา
คำส่อเสียดของพวกภิกษุ ผู้ก่อความบาดหมาง เกิดทะเลาะถึงวิวาทกันไปบอก
คือฟังคำของฝ่ายนี้แล้ว บอกแก่ฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้ ฟังคำของฝ่ายโน้น
แล้วบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น เพราะเหตุนั้น ความบาดหมางที่ยัง
ไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็รุนแรงยิ่งขึ้น แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า.

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ไม่เพราะเหตุ
เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอเก็บเอาคำส่อเสียดของพวกภิกษุผู้ก่อความ
บาดหมาง เกิดทะเลาะ ถึงวิวาทกันไปบอก คือ ฟังคำของฝ่ายนี้ แล้วบอก