เมนู

คำว่า สำเร็จการนอน ความว่า ในวันที่ 4 เมื่อพระอาทิตย์อัส-
คงคตแล้ว อนุปสัมบันนอนแล้ว ภิกษุนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุนอนแล้ว อนุปสัมบันนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
หรือนอนทั้งสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ลุกขึ้นแล้ว กลับนอนอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์


ติกปาจิตตีย์


[292] อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน สำเร็จการนอน
ร่วม ยิ่งกว่า 2-3 คืน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย สำเร็จการนอนร่วม ยิ่งกว่า 2-3 คืน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน สำเร็จการนอนร่วม ยิ่งกว่า
2-3 คืน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ


ในสถานที่มุงกึ่ง บังกึ่ง ภิกษุสำเร็จการนอนร่วม ยิ่งกว่า 2-3 คืน
ต้องอาบัติทุกกฏ
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน สำเร็จการนอนร่วม ยิ่งกว่า
2- 3 คืน ต้องอาบัติทุกกฏ
อุปสัมบัน ภิกษุสงสัย สำเร็จการนอนร่วม ยิ่งกว่า 2-3 คืน ต้อง
อาบัติทุกกฏ

ไม่ต้องอาบัติ


อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน สำเร็จการนอนร่วม ยิ่งกว่า
2-3 คืน ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร


[293] ภิกษุอยู่ 2-3 คืน 1 ภิกษุอยู่ไม่ถึง 2-3 คืน 1 ภิกษุ
อยู่ 2 คืนแล้วคืนที่ 3 ออกไปก่อนอรุณ แล้วอยู่ใหม่ 1 อยู่ในสถานที่มุงทั้ง
หมด ไม่บังทั้งหมด 1 อยู่ในสถานที่บังทั้งหมด ไม่มุงทั้งหมด 1 อยู่ใน
สถานที่ไม่มุงโดยมาก ไม่บังโดยมาก 1 อนุปสัมบันนอน ภิกษุนั่ง 1 ภิกษุ
นอน อนุปสัมบันนั่ง 1 หรือนั่งทั้งสอง 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิ-
กะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ 5 จบ

มุสาวาทวรรค สหเสยยสิกขาบทที่ 5


พึงทราบวินิจฉัยในสิกขาบทที่ 5 ดังต่อไปนี้.

[แก้อรรถเรื่องพระนวกะและสามเณรราหุล]


สองบทว่า มุฏฺฐสฺสตี อสมฺปชานา นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วย
อำนาจการไม่ทำสติสัมปชัญญะในบุรพภาค. ก็ในกาลที่จิตจิตหยั่งสู่ภวังค์ สติ-
สัมปชัญญะจักมีแต่ที่ไหน ?
บทว่า วิกุชฺชมานา คือ ละเมออยู่.
บทว่า กากากจฺฉมานา ได้แก่ เปล่งเสียงไม่มีความหมาย ดุจ
เสียงกา ทางจมูก.
บทว่า อุปาสกา ได้แก่ พวกอุบาสกที่ลุกขึ้นก่อนกว่า.
สองบทว่า เอตทโวจุํ มีความว่า ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวคำนี้ว่า
" ท่านราหุล ! สิกขาบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้ว ดังนี้ ด้วย
เคารพในสิกขาบทนั่นเที่ยว. แต่โดยปกติ เพราะความเคารพในพระผู้มีพระภาค
เจ้า และเพราะท่านราหุลเป็นผู้ใคร่ในการศึกษา ภิกษุเหล่านั้น เมื่อท่านราหุล
นั้นมายังที่อยู่ จึงปูลาดเตียงเล็ก ๆ หรือพนักพิง อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีอยู่
แล้วถวายจีวร (สังฆาฎิ) หรืออุตราสงค์ เพื่อต้องการให้ทำเป็นเครื่องหนุน-
ศีรษะ. ในข้อที่ท่านพระราหุลเป็นผู้ใคร่ในการศึกษานั้น (มีคำเป็นเครื่องสาธก)
ดังต่อไปนี้.
ทราบว่า ภิกษุทั้งหลาย เห็นท่านราหุลนั้นกำลังมาแต่ไกลเทียว ย่อม
วางไม้กวาดกำและกระเช้าเทขยะไว้ข้างนอก. ต่อมา เมื่อภิกษุพวกอื่นกล่าวว่า
ท่านผู้มีอายุ นี้ใครเอามาวางทิ้งไว้ ดังนี้ ภิกษุอีกพวกหนึ่งจะกล่าวว่าอย่างนี้ว่า