ไม่ใช่พืช ภิกษุสงสัย ตัดเองก็ดี ให้คนอื่นตัดก็ดี ทำลายเองก็ดี
ให้คนอื่นทำลายก็ดี ต้มเองก็ดี. ให้คนอื่นต้มก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ใช่พืช ภิกษุสำคัญว่า ไม่ใช่พืช ตัดเองก็ดี ให้คนอื่นตัด ก็ดี
ทำลายเองก็ดี ให้คนอื่นทำลายก็ดี ต้มเองก็ดี ให้คนอื่นต้มก็ดี ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[357] ภิกษุกล่าวว่า ท่านจงรู้พืชนี้ ท่านจงให้พืชนี้ ท่านจงนำ
พืชนี้มา เรามีความต้องการด้วยพืชนี้ ท่านจงทำพืชนี้ให้เป็นกัปปิยะดังนี้ 1
ภิกษุไม่แกล้งพราก 1 ภิกษุทำเพราะไม่มีสติ 1 ภิกษุไม่รู้ 1 ภิกษุวิกลจริต 1
ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ 1 จบ
ปาจิตตีย์ เสนาสนวรรคที่ 2
ภูตคามสิกขาบทที่ 1
พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ 1 แห่งเสนาสนวรรค* ดังต่อไปนี้
[เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวี ตัดต้นไม้]
บทว่า อนาทิยนฺโต คือ ไม่เชื่อฟังถ้อยคำของเทวดานั้น.
หลายบทว่า ทารกสฺส พาหุํ อาโกฏฺเฏสิ มีความว่า ภิกษุนั้น
ไม่อาจยั้งขวานที่เงื้อขึ้น จึงตัดเอาแขนทรงที่ใกล้ราวนม ของทารกผู้นอนอยู่
บนวิมานทิพย์ ซึ่งตั้งอยู่บนต้นไม้ อันเทวดานั้นได้มาจากสำนักของท้าวจาตุม-
มหาราช ซึ่งล่วงเลยวิสัยแห่งจักษุของพวกมนุษย์.
* บาลีเป็นภูตคามวรรค.
ในคำว่า น โข ปเนตํ ปฏิรูปํ เป็นต้น มีการพรรณนาโดยสังเขป
ดังต่อไปนี้
ได้ยินว่า ในป่าหิมพานต์ มีการประชุมเทวดา ทุก ๆ วันปักษ์, ใน
ป่าหิมพานต์นั้น พวกเทวดาย่อมถามถึงรุกขธรรมว่า ท่านทั้งอยู่หรือไม่ได้ตั้ง
อยู่ในรุกขธรรม. ชื่อว่า รุกขธรรม ได้แก่ การที่รุกขเทวดาไม่ทำความ
ประทุษร้ายทางใจ ในเมื่อต้นไม้ถูกตัด. บรรดาเทวดาเหล่านั้น เทวดาองค์ใด
ไม่ทั้งอยู่ในรุกขธรรม, เทวดาองค์นั้น ย่อมไม่ได้เพื่อจะเข้าสู่ที่ประชุม. เทวดา
องค์นั้น ได้มองเห็นโทษ มีการไม่ตั้งอยู่ในรุกขธรรมเป็นปัจจัยนี้ ด้วยประการ
ดังนี้ และระลึกถึงบุรพจรรยา ในปางที่พระตถาคตเจ้าเสวยพระชาติเป็น
พญาช้างฉัททันต์เป็นต้น โดยกระแสแห่งพระธรรมเทศนาที่คนเคยสดับมา
เฉพาะพระพักตร์แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า. เพราะเหตุนั้น เทวดานั้น จึงได้มี
ความรำพึง น โข ปเนตํ ปฏิรูปํ ฯเปฯ ชีวิตา โวราเปยฺยุํ (ก็การ
ที่เราจะปลงชีวิตภิกษุรูปนี้เสีย ณ ที่นี้ นั่นไม่สมควรเลย) ดังนี้. ก็ความรำพึง
นี้ว่า ถ้ากระไร เราควรกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ ได้มีแก่
เทวดานั้น ผู้ฉุกคิดอยู่อย่างนี้ว่า ภิกษุนี้เป็นบุตรมีบิดา, พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ทรงสดับอัชฌาจารนี้ของภิกษุนี้แล้ว จักทรงป้องกันมารยาท จักทรงบัญญัติ
สิกขาบทแน่นอน.
คำว่า สจชฺช ตฺวํ เทวเต มีความว่า ดูก่อนเทวดา ! ถ้าท่าน
(ปลงชีวิตภิกษุรูปนั้น) ในวันนี้ไซร้.
บทว่า ปสเวยฺยาสิ แปลว่า พึงให้เกิด คือ พึงให้บังเกิดขึ้น. ก็แล
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสอย่างนั้นแล้ว เมื่อจะให้เทวดานั้นยินยอม จึงได้
ตรัสพระคาถานี้ว่า
บุคคลใดแล ข่มความโกรธที่เกิดขึ้น
แล้วได้ เหมือนกับสารถีหยุดรถ ซึ่งกำลัง
แล่นอยู่ได้ เราตถาคตเรียกบุคคลนั้นว่า
เป็นสารถี ชนนอกจากนี้ เป็นแต่คนถือ
บังเหียน.1
ในเวลาจบพระคาถา เทวดานั้น ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. พระผู้มี
พระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ประชุมกันพร้อมแล้ว จึงได้
ทรงภาษิตพระคาถานี้อีกว่า
ภิกษุใดแล ย่อมกำจัดซึ่งความโกรธ
ที่เกิดขึ้น เหมือนหมอกำจัดพิษงูที่แล่นซ่าน
ไปแล้ว ด้วยโอกาสทั้งหลาย ฉะนั้น ภิกษุนั้น
ย่อมละฝั่งนี้และฝั่งโน้นได้ เหมือนงูลอก-
คราบเก่าแก่ทิ้งไป ฉะนั้น2.
บรรดาคาถาทั้งสองนั้น คาถาที่ 1 พระธรรมสังคาหกาจารย์ยกขึ้นสู่
สังคหะ ในธรรมบท, คาถาที่ 2 ยกขึ้นสู่สังคหะ ในสุตตนิบาต ส่วนเรื่อง
ยกขึ้นสู่สังคหะ ในวินัยปิฏกแล.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมอยู่นั่นเทียว ทรงตรวจ
ดูสถานที่อยู่ของเทวดานั้น ทอดพระเนตรเห็นสถานที่ อันสมควรแล้ว. จึงตรัสว่า
ไปเถิดเทวดา ! ณ ที่โอกาสโน้นมีต้นไม้ว่างอยู่, เธอจงเข้าไปอยู่ที่ต้นไม้นั้น.
ได้ยินว่า ต้นไม้นั้นไม่มีในแคว้นอาฬวี, มีอยู่ภายในกำแพงเครื่องล้อมแห่ง
พระเชตวัน ซึ่งมีเทวบุตรผู้เป็นเจ้าของได้จุติไปแล้ว เพราะเหตุนั้น ต้นไม้นั้น
1. ขุ. ธ. 25/44-45. 2. ข. ส. 25/324.
จึงตรัสว่า ว่างแล้ว . ก็แลจำเดิมแต่ปางนั้นมา เทวดานั้น ได้ความคุ้มครอง
จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เป็นพุทธอุปัฎฐายิกา. ในคราวมีเทวสมาคม เมื่อ
เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ทั้งหลายมาอยู่ เทวดาเหล่าอื่นผู้มีศักดิ์น้อย ย่อมถอยร่นไป
จนจดมหาสมุทร และภูเขาจักรวาล. ส่วนเทวดานี้ นั่งฟังธรรม อยู่ในที่อยู่
ของตนนั่นแหละ. เทวดานั้น นั่งฟังปัญหาทั้งหมด แม้ที่พวกภิกษุถามใน
ปฐมยาม (และ) ที่พวกเทวดาถามในมัชฌิมยามบนวิมานนั้นนั่นแล. แม้ท้าว
มหาราชทั้ง 4 มาสู่ที่บำรุงของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะไป ก็เยี่ยมเทวดา
นั้นก่อนแล้วจึงไป.
[แก้อรรถปาฐะว่าภูตคามปาตัพยตาย]
ในบทว่า ภูตคามปาตพฺยตาย นี้ พึงทราบวินิจฉัย ดังนี้ ที่ชื่อว่า
ภูตะ เพราะอรรถว่า เกิดอยู่ด้วย เติบโตขึ้นอยู่ด้วย. อธิบายว่า ย่อมเกิด
ย่อมเจริญ หรือว่า เกิดแล้ว เจริญแล้ว.
บทว่า คาโม แปลว่า กอง. กองแห่งภูตทั้งหลาย เหตุนั้นจึงชื่อว่า
ภูตคาม. อีกอย่างหนึ่ง กอง คือ ภูต ชื่อภูตคาม. คำว่า ภูตคาม นั่น
เป็นชื่อแห่งหญ้า และต้นไม้เขียวสดที่ยืนต้นแล้ว เป็นต้น.
ภาวะแห่งการพราก ชื่อ ปาตัพยตา (ความเป็นแห่งการพราก).
อธิบายว่า ภาวะอันบุคคลพึงบริโภคใช้สอยตามความพอใจ. ด้วยการตัดและ
การทุบเป็นต้น . ในเพราะความเป็นผู้พรากภูตคามนั้น แห่งภิกษุนั้น. คำนี้
เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถแห่งนิมิต. อธิบายว่า เป็นปาจิตตีย์ เพราะความ
เป็นผู้พรากภูตคามเป็นเหตุ คือ เพราะการตัดภูตตามเป็นต้นเป็นปัจจัย.
[อธิบายภูตคาม 5 ชนิด มีมูลแพะเป็นต้น]
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกแสดงภูตคามนั้น จึงตรัส
คำเป็นต้นว่า ภูตคาโม นาม ปญฺจ วีชชาตานิ ดังนี้.