ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น
ว่าดังนี้
พระบัญญัติ
62. 3. ก. เป็นปาจิตตีย์ในเพราะความเป็นผู้ให้โพนทะนา.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้ .
เรื่องพระทัพพมัลลบุตร จบ
เรื่องพระทัพพมัลลบุตร (ต่อ)
[269] ก็สมัยนั้น พระเมตติยะและพระภุมมชกะคิดว่า ภิกษุทั้งหลาย
จักเชื่อฟังด้วยพระบัญญัติเพียงเท่านี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามการให้
โพนทะนาแล้ว จึงบ่นว่าท่านพระทัพพมัลลบุตรอยู่ใกล้ ๆ ภิกษุทั้งหลายว่า
พระทัพพมัลลบุตรจัดเสนาสนะตามความพอใจ และแจกภัตตามความพอใจ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย . . .ต่างก็เพ่งโทษติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระเมตติยะ
และพระภุมมชกะจึงได้บ่นว่า ท่านพระทัพพมัลลบุตรอยู่เล่า แล้วกราบทูล
เนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .ทรงสอบถามพระเมทติยะและพระ-
ภุมมชกะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอบ่นว่าภิกษุทัพพมัลลบุตร
จริงหรือ.
พระเมตติยะและพระภุมมชกะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงยังได้บ่นว่าภิกษุทัพพมัลลบุตรอยู่เล่า การกระทำของพวกเธอนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใส
ยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
62. 3. ข. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็นผู้ให้โพนทะนา
ในเพราะความเป็นผู้บ่นว่า.
เรื่องพระทัพพมัลลบุตร (ต่อ) จบ
สิกขาบทวิภังค์
[370] ที่ชื่อว่า ความเป็นผู้ให้โพนทะนา คือ อุปสัมบันผู้อัน
สงฆ์สมมติแล้ว ให้เป็นผู้จัดเสนาสนะ เป็นผู้แจกอาหาร แจกยาคู แจกผลไม้
แจกของเคี้ยว หรือแจกของเล็กน้อยก็ตาม ภิกษุประสงค์จะแส่โทษ ให้อัปยศ
ให้เก้อเขิน จึงให้โพนทะนาก็ดี บ่นว่าก็ดี ซึ่งอุปสัมบัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[371] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็นผู้ให้โพนทะนา ในเพราะความเป็นผู้บ่นว่า.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะความ
เป็นผู้ให้โพนทะนา ในเพราะความเป็นผู้บ่นว่า.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ในเพราะความเป็นผู้ให้โพนทะนา ในเพราะความเป็นผู้บ่นว่า.
ทุกกฏ
[372] ภิกษุให้โพนทะนา หรือบ่นว่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อุปสัมบันผู้อันสงฆ์มิได้สมมติให้เป็นผู้จัดเสนาสนะ เป็นผู้แจกอาหาร
แจกยาคู แจกผลไม้ แจกของเคี้ยว หรือแจกของเล็กน้อยก็ตาม ภิกษุประสงค์
จะแส่โทษ ทำให้อัปยศ ทำให้เก้อเขิน จึงให้โพนทะนาก็ดี บ่นว่าก็ดี ซึ่ง
อุปสัมบันหรืออนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบันผู้อันสงฆ์สมมติก็ดี มิได้สมมติก็ดี ให้เป็นผู้จัดเสนาสนะ
เป็นผู้แจกอาหาร แจกยาคู แจกผลไม้ แจกของเดียว หรือแจกของเล็กน้อย
ก็ตาม ภิกษุประสงค์จะแส่โทษ ทำให้อัปยศ ทำให้เก้อเขิน จึงให้โพนทะนา
ก็ดี บ่นว่าก็ดี ซึ่งอุปสัมบันหรืออนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ติกทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรมต้องอาบัติทุกกฏ. . .
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ . . .
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ...
อานาปัตติวาร
[373] ภิกษุผู้ให้โพนทะนา หรือบ่นว่าภิกษุผู้มีปกติทำเพราะ
ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคูติ 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1
ไม่ต้องอาบัติแล.
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ 3 จบ
เสนาสนวรรค อุปฌาปนสิกขาบทที่ 3
พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ 3 ดังต่อไปนี้
[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องพระทัพพมัลลบุตร]
หลายบทว่า ทพฺพํ มลฺลปุตฺตํ ภิกฺขู อุชฺฌาเปนฺติ มีความว่า
พวกภิกษุเมตติยะ และภุมมชกะ เมื่อกล่าวคำเป็นต้นว่า ฉนฺทาย ทพฺโพ
มลฺลปุตฺโต (พระทัพพมัลลบุตรจัดเสนาสนะโดยฉันทาคติ) ดังนี้ ชื่อว่า
ยังภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นให้ดูหมิ่น คือให้มองดูท่านทัพพะนั้นด้วยความดูหมิ่น.
อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ย่อมให้ติดไปทางลามก. ก็ในคำว่า อุชฺฌายนฺติ นี้
พึงทราบลักษณะ (แห่งศัพท์) ตามแนวแห่งคัมภีร์ศัพทศาสตร์. ปาฐะว่า
โอชฺฌาเปนฺติ ดังนี้ ก็มี. ความก็อย่างนี้เหมือนกัน.
บทว่า ฉนฺทาย ได้แก่ โดยความชอบพอกัน คือ โดยตกเข้าเป็น
ฝักฝ่ายกัน. อธิบายว่า ย่อมจัดแจงเสนาสนะที่ประณีต เพื่อพวกภิกษุผู้เป็น
เพื่อนเห็นเพื่อนคบกันของตน ด้วยความชอบพอกันนั้น.
บทว่า ขิยฺยนฺติ คือ พวกภิกษุเมตติยะและภุมมชกะ เมื่อกล่าว
คำว่า ฉนฺทาย ทพฺโพ มลฺลปุตฺโต เป็นต้น ชื่อว่า ย่อ ประกาศ.
ในคําว่า อุชฺฌาปนเก ขิยฺยนเก ปาจิตฺติยํ นี้ มีวินิจฉัยว่า
พวกภิกษุเมตติยะและภุมมชกะ ย่อมให้โพนทะนาด้วยคำใด. คำนั้น ชื่อว่า
อุชฌาปนกะ. และบ่นว่าด้วยคำใด, คำนั้น ชื่อว่า ขิยยนกะ. ในเพราะ
ความเป็นผู้ให้โพนทะนา ในเพราะความเป็นผู้บ่นว่านั้น.
ด้วยบท ปาจิตฺติยํ พระผู้มีพระภาคเจ้า ปรับปาจิตตีย์ 2 ตัว ใน
2 วัตถุ.