มานั่ง เป็นภาระของภิกษุนั้น ๆ. แต่เมื่อลุกขึ้น พึงกล่าวว่า อาสนะนี้ เป็น
ภาระของท่าน แล้วจึงไป. ถ้าแม้นว่า เมื่อภิกษุผู้สวดผู้แสดงธรรมนอกนี้ยัง
ไม่มานั่นแหละ ภิกษุผู้นั่งอยู่ก่อนลุกไป และภิกษุผู้นั่งก่อนนอกนี้ มานั่งอยู่
ภายในอุปจาร สถานที่นั้นนั่นเอง พระวินัยธรไม่พึงปรับเธอผู้ลุกไปด้วยอาบัติ
ก็ถ้าว่า เมื่อภิกษุผู้สวดและผู้แสดงธรรมนอกนี้ ยังไม่มานั่นแหละ ภิกษุผู้นั่ง
อยู่ก่อนลุกจากอาสนะ เดินเลยเลฑฑุบาตไป, พระวินัยธรพึงปรับเธอด้วยอาบัติ.
แต่ในมหาปัจจรีท่านกล่าววินัยนี้ไว้ว่า ทุก ๆ แห่งในเมื่อเดินเลยเลฑฑุบาตไป
เป็นทุกกฏในย่างเท้าที่ 1, เป็นปาจิตตีย์ในย่างเท้าที่ 2.
[ว่าด้วยเครื่องปูลาดและหน้าที่ในการรักษา]
พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า จิมิลิกํ วา เป็นต้น ดังนี้ .
เครื่องลาดที่เขาทำไว้ เพื่อรักษาผิวของพื้นที่ทำบริกรรมด้วยปูนขาว
เป็นต้น ชื่อว่า จิมิลกา. ชนทั้งหลายปูเครื่องลาดนั้นไว้ข้างล่าง แล้วปูเสื่อ
ลำแพนทับไว้ข้างบน.
เครื่องลาดที่ควรปูลาดไว้บนเตียงและตั่ง ชื่อว่าเครื่องลาดเตียง ชนิด
แห่งเครื่องปูลาด มีเสื่อลำแพนเป็นต้น ที่ควรลาดไว้บนพื้น ชื่อว่า เครื่องลาด
พื้น. เสื่ออ่อนที่เขาทำด้วยใบตาลก็ดี ด้วยเปลือกปอก็ดี ชื่อว่า เสืออ่อน.
แม้บรรดาหนังสัตว์ มีสีหะ เสือโคร่ง เสือเหลือง เสือดาว และหมีเป็นต้น
หนังชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่า แผ่นหนัง. จริงอยู่ ชื่อว่าหนังที่ท่านห้าม ใน
การบริโภคเสนาสนะไม่ปรากฎในอรรถกถาทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้น บัณฑิต
พึงทราบว่า ห้ามเฉพาะในการบริหารหนังสีหะเป็นต้น .
เครื่องเช็ดที่เขาทำด้วยเชือกเล็ก ๆ ก็ดี ด้วยผ้าเก่าก็ดี เพื่อเช็ดเท้า
ชื่อว่า เครื่องเช็ดเท้า.
ตั่งที่เขาทำด้วยแผ่นกระดาน ชื่อว่า ตั่งแผ่นกระดาน. อีกอย่างหนึ่ง
ได้แก่ แผ่นกระดานและดังที่ทำด้วยไม้. แม้เครื่องไม้เป็นต้นทั้งหมด ท่าน
สงเคราะห์ด้วยทั่งแผ่นกระดานนั้น แต่ในมหาปัจจรีท่านกล่าวไว้โดยพิสดาร
ทีเดียวว่า ภิกษุวางเชิงรองบาตร ฝาบาตร กระเบื้องเช็ดเท้า พัดใบตาล พัด
ใบไม้ เครื่องไม้อย่างใดอย่างหนึ่งชั้นที่สุด กระบวยตักน้ำ สังข์ตักน้ำดื่ม
ไว้ในที่แจ้งแล้วไปเสีย เป็นทุกกฏ. แต่ในมหาอรรถกถานัยนี้ท่านแสดงไว้ใน
สิกขาบทที่ 2. ภิกษุต้มน้ำย้อมในที่แจ้ง แล้วพึงเก็บเครื่องใช้ทั้งปวง คือ
ภาชนะน้ำย้อม กระบวยตักน้ำย้อม รางน้ำย้อมเป็นต้น ไว้ในโรงไฟ. ถ้าโรงไฟ
ไม่มี พึงเก็บไว้ในเงื้อมที่น้ำฝนจะไม่รั่วรด แม้เมื่อเงื้อมนั้นไม่มี ถึงจะวาง
ไว้ในที่ซึ่งมีพวกภิกษุคอยดูแลอยู่แล้วจึงไป ก็ควร
สองบทว่า อญฺญสฺส ปุคฺคลิเก มีความว่า ในมหาปัจจรีเป็นต้น
กล่าวว่า การถือเอาโดยวิสาสะในบุคคลใด ไม่ขึ้น, เป็นทุกกฎในเพราะสิ่งของ
ของบุคคลนั้น, แต่วิสาสะในบุคคลใดขึ้น, สิ่งของของบุคคลนั้น ย่อมเป็นดุจ
ของส่วนตัวบุคคลของตน.
สองบทว่า อาปุจฺฉํ คจฺฉติ มีความว่า บุคคลใด จะเป็นภิกษุก็ดี
สามเณรก็ดี อารามิกบุรุษก็ดี เป็นลัชชี ย่อมสำคัญดุจเป็นภารธุระของตน.
ภิกษุใดบอกลาบุคคลเช่นนั้นแล้วไป. ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น .
สองบทว่า โอตาเปนฺโต คจฺฉติ มีความว่า ภิกษุเอาออกผึ่งไว้ที่
แดด ไปด้วยคิดว่า เราจักมาเก็บ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไปอย่างนั้น.
คำว่า เกนจิ ปลิพุทฺธํ โหติ มีความว่า เสนาสนะถูกรบกวนด้วย
อันตรายบางอย่าง. ก็ถ้าภิกษุผู้แก่กว่าให้ย้ายออกแล้ว ถือเอา (เสนาสนะ) ก็ดี,
ถ้าว่า ยักษ์หรือเปรต มานั่งอยู่ ก็ดี หรือว่าอิสรชนบางคนมายึดเอาก็ดี
เสนาสนะจัดว่าถูกหวงแหน (กางกั้น ). ก็หรือว่าเมื่อสัตว์ร้ายมีสีหะและเสือโคร่ง
เป็นต้น มาสู่ประเทศนั้นแล้วพักอยู่ เสนาสนะจัดว่าถูกรบกวนเหมือนกัน
ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้แม้ไม่เก็บ ไปเสีย เพราะเสนาสนะถูกอันตรายบางอย่าง
รบกวนอย่างนี้.
บทว่า อาปทาสุ คือ ในเพราะอันตรายแห่งชีวิต และอันตราย
แห่งพรหมจรรย์. บทที่เหลือตื้นทั้งนั้นแล.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา 1
ทางกายวาจากับจิต 1 เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ
ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ฉะนั้นแล
ปฐมเสนาสนสิกขาบทที่ 4 จบ
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ 5
เรื่องพระสตัตรสวัคคีย์
[379] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระ-
สัตตรสวัคคีย์มีพวก 17 รูปเป็นสหายกัน เมื่ออยู่ก็อยู่พร้อมกัน เมื่อหลีกไป
ก็หลีกไปพร้อมกัน พวกเธอปูที่นอนในวหารเป็นของสงฆ์แห่งหนึ่งแล้ว เมื่อ
หลีกไป ไม่เก็บเอง ไม่ให้คนอื่นเก็บซึ่งที่นอนนั้น ไม่ได้บอกมอบหมาย
หลีกไป เสนาสนะถูกปลวกกัด บรรดาภิกษุที่มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ
ติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระสัตตรสวัคคีย์ ปูที่นอนในวิหารเป็นของสงฆ์
แล้ว เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเอง ไม่ให้คนอื่นเก็บ ซึ่งที่นอนนั้น ไม่ได้บอก
มอบหมาย หลีกไปแล้ว เสนาสนะจึงได้ถูกปลวกกัด แล้วกราบทูลเนื้อความ
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุสัตตรสวัคดีย์ ปูที่นอนในวิหารอันเป็นของสงฆ์แล้ว เมื่อหลีกไป
ไม่เก็บเอง ไม่ให้จนอื่นเก็บ ซึ่งที่นอนนั้น ไม่บอกมอบหมาย หลีกไปแล้ว
เสนาสนะถูกปลวกกัด จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษ
เหล่านั้น ปูที่นอนไว้ในวิหารเป็นของสงฆ์แล้ว เมื่อหลีกไป ไฉนจึงไม่เก็บเอง