สองบทว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า ก็เพราะเมื่อภิกษุปูลาด
ที่นอน 10 อย่าง มีประการดังที่กล่าวแล้วในภายในห้อง เป็นต้น และในที่
คุ้มกันได้ แล้วไปเสีย, ที่นอนก็ดี เสนาสนะก็ดี ย่อมเสียหายเพราะปลวก
เป็นต้น จะกลายเป็นจอมปลวกไปทีเดียว ฉะนั้น ท่านจึงปรับเป็นปาจิตตีย์.
แต่สำหรับภิกษุผู้ปูไว้ในที่มีอุปัฏฐานศาลาเป็นต้น ในภายนอกแล้วไป เพียง
แต่ที่นอนเท่านั้นเสียหายไป เพราะสถานที่คุ้มกันไม่ได้, เสนาสนะไม่เสียหาย.
เพราะฉะนั้น ท่านจึงปรับเป็นทุกกฏในอุปัฏฐานศาลาเป็นต้นนี้.
วินิจฉัยในคำว่า มญฺจํ วา ปีฐํ วา เป็นต้นนี้ พึงทราบดังนี้
ก็เพราะตัวปลวกทั้งหลายไม่อาจเพื่อจะกัดเตียงและตั่งทันที ฉะนั้นภิกษุวาง
เตียงตั่งนั้นไว้แม้ในวิหารแล้วไป ท่านก็ปรับเป็นทุกกฏ. ส่วนในอุปจารแห่ง
วิหาร พวกภิกษุแม้เมื่อเที่ยวตรวจดูวิหาร เห็นเตียงและตั่งนั้นแล้วจักเก็บ.
วินิจฉัยในคำว่า อุทฺธริตฺวา คจฺฉติ นี้ พึงทราบดังนี้ ภิกษุ
เมื่อจะเก็บเองแล้วไป พึงรื้อเอาเครื่องถักร้อยเตียงและตั่งออกหมดแล้ว ม้วน
แขวนไว้ที่ราวจีวรแล้วจึงไป. ถึงภิกษุผู้มาอยู่ภายหลัง ถักเตียงและตั่งใหม่
เมื่อจะไป ก็พึงกระทำอย่างนั้นเหมือนกัน. ภิกษุผู้ปูที่นอนจากภายในฝาไปถึง
ภายนอกฝาแล้วอยู่ ในเวลาจะไป พึงเก็บไว้ในที่ที่คนถือเอามาแล้ว ๆ นั่นเทียว.
แม้ภิกษุผู้ยกลงมาจากชั้นบนแห่งปราสาทแล้วอยู่ภายใต้ปราสาท ก็นัยนี้นั่นแล
แม้ภิกษุจะตั้งเตียงและตั่งไว้ในที่พักกลางวัน และที่พักกลางคืนแล้ว ในเวลา
จะไปพึงเก็บไว้ตามเดิม ในที่ซึ่งคนถือเอามานั่นแล.
[ว่าด้วยสถานที่ต้องบอกลาและไม่ต้องบอกลา]
ในคำว่า อาปุจฺฉํ คจฺฉติ นี้ มีวินิจฉัยสถานที่ควรบอกลา และ
ไม่ควรบอกลา ดังต่อไปนี้
ศาลาใด เป็นศาลายาวก็ดี เป็นศาลาใบไม้ก็ดี อยู่บนพื้นดิน, หรือว่า
เรือนที่เขาสร้างบนเสาไม้ทั้งหลายหลังใด เป็นที่ปลวกขึ้นได้ก่อน, ภิกษุเมื่อ
จะหลีกไปจากศาลายาวเป็นต้นนั้น พึงบวกลาก่อนแล้วจึงหลีกไป. เพราะว่า
เมื่อสถานที่นั้นไม่มีใครปฏิบัติเพียง 2-3 วัน ตัวปลวกทั้งหลายย่อมตั้งขึ้น
ส่วนเสนาสนะใด เป็นเสนาสนะที่เขาสร้างไว้บนหินดาด หรือบนเสา
หินก็ดี ถ้าที่ภูเขาหินก็ดี เสนาสนะที่ฉาบโบกปูนขาวก็ดี ในเสนาสนะใดไม่มี
ความสงสัยในเรื่องปลวก (จะขึ้น), เมื่อภิกษุจะหลีกไปจากที่นั้น จะบอกลา
ก็ตาม ไม่บอกลาก็ตาม ไปเสีย ก็ควร. แต่การบอกลาย่อมเป็นธรรมเนียม
(ของผู้เตรียมจะไป). ถ้าตัวปลวกทั้งหลายจะขึ้นทางข้างหนึ่งในเสนาสนะแม้
เช่นนั้นได้ ควรบอกลาก่อนแล้วจึงไป.
ฝ่ายภิกษุอาคันตุกะใดประพฤติตามภิกษุผู้ถือเสนาสนะของสงฆ์อยู่ ไม่
ถือเสนาสนะสำหรับคนอยู่. เสนาสนะนั้น เป็นธุระของภิกษุรูปก่อนนั่นแล
ตราบเท่าที่ภิกษุนั้นยังไม่ถือ (เสนาสนะสำหรับคน). ก็จำเดิมแต่ภิกษุนั้นถือ
เอาเสนาสนะแล้วอยู่โดยอิสระของตน เป็นธุระของภิกษุอาคันตุกะนั่นเอง. ถ้า
แม้ทั้ง 2 รูปแจกกันแล้วถือเอา, เป็นธุระแม้ของท่านทั้ง 2 รูป.
แต่ในมหาปัจจรีท่านกล่าวไว้ว่า ถ้าภิกษุ 2-3 รูป ร่วมกันจัดตั้ง,
ในเวลาจะไปควรบอกลาทุกรูป. ถ้าบรรดาภิกษุเหล่านั้น รูปหนึ่งไปก่อน ทำ
ความผูกใจว่า รูปหลัง จักปฏิบัติ แล้วไป ย่อมสมควร. ความพ้น (จาก
อาบัติ) ย่อมไม่มีแก่รูปหลัง เพราะความผูกใจ. ภิกษุมากรูป ส่งภิกษุรูปหนึ่ง
ให้ไปปู. ในเวลาจะไป ภิกษุทั้งหมดจึงบอกลา, หรือพึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไป
บอกลา. ภิกษุนำเอาเตียงและตั่งเป็นต้นมาจากที่อื่น แม้อยู่ในที่อื่น ในเวลา
จะไป พึงนำไปไว้ในที่เดิมนั้นนั่นแหละ. ถ้าเมื่อภิกษุนำมาจากที่อื่นแล้วใช้อยู่,
ภิกษุอื่นผู้แก่กว่ามา อย่าพึงห้ามท่าน พึงเรียนว่า ท่านขอรับ เตียงตั่ง
กระผมนำมาจากอาวาสอื่น ท่านพึงทำให้เป็นปกติเติม. เมื่อภิกษุผู้แก่กว่านั้น
รับรองว่า เราจักทำอย่างนั้น ดังนี้ ภิกษุนอกนี้จะไป ก็ควร. จริงอยู่ เมื่อ
ภิกษุแม้นำไปในที่อึ่นอย่างนี้ ใช้สอยอย่างใช้สอยเป็นของสงฆ์ เตียงและตั่งนั้น
จะเสียหายไปก็ตาม เก่าชำรุดไปก็ตาม ถูกพวกโจรลักไปก็ตาม ไม่เป็นสินใช้
แต่เมื่อภิกษุใช้สอยอย่างใช้สอยเป็นของบุคคล ย่อมเป็นสินใช้. อนึ่ง ภิกษุ
ใช้สอยเตียงตั่งของผู้อื่น อย่างใช้สอยเป็นของสงฆ์ก็ตาม อย่างใช้สอยเป็นของ
ส่วนบุคคลก็ตาม เตียงตั่งเสียหายไป เป็นสินใช้เหมือนกัน .
ข้อว่า เกนจิ ปลิพุทฺธํ โหติ มีความว่า เสนาสนะมีเหตุบางอย่าง
บรรดาเหตุมีภิกษุผู้แก่กว่า อิสรชน ยักษ์ สีหะ เนื้อร้าย และงูเห่าเป็นต้น
ขัคขวาง.
ในคำว่า สาเปกฺโข คนฺตฺวา ตตฺถ ฐิโต อาปุจฺฉติ เกนจิ
ปลิพุทฺโธ โหติ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ ภิกษุยังมีห่วงใยอย่างนี้ว่า เรา
จักมาปฏิบัติในวันนี้นั่นแหละ ไปยังฝั่งแม่น้ำ หรือละแวกบ้านแล้ว ยืนอยู่ใน
ที่ที่เธอเถิดความคิดที่จะไปนั้นนั่นเอง ส่งใคร ๆ ไปบอกลา. หรือมีเหตุบ้าง
อย่าง บรรดาเหตุมีแม่น้ำเต็มฝั่ง พระราชาและโจรเป็นต้น ขัดขวาง. ภิกษุ
ถูกอันตรายขัดขวาง ไม่อาจจะกลับมาได้. ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ไม่เป็นอาบัติ
แม้แก่ภิกษุนั้น . บทที่เหลือพร้อมทั้งสมุฏฐานเป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วใน
ปฐมสิกขาบทนั่นแล.
ทุติยเสนาสนสิกขาบทที่ 5 จบ
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ 6
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[383] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น
พระฉัพพัคคีย์เกียดกันที่นอนดี ๆ ไว้ให้พระเถระทั้งหลายย้ายไปเสีย แล้วคิด
กันว่า ด้วยอุบายอะไรหนอ พวกเราจะพึงอยู่จำพรรษา ณ ที่นี้แหละ แล้ว
สำเร็จการนอนแทรกแซงพระเถระทั้งหลายด้วยหมายใจว่า ผู้ใดมีความดับใจ
ผู้นั้นจักหลีกไปเอง บรรดาภิกษุที่มักน้อย . . .ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนา
ว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้สำเร็จการนอนแทรกแซงพระเถระทั้งหลาย แล้ว
กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถานว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอ
สำเร็จการนอนแทรกแซงพระเถระทั้งหลาย จริงหรือ.
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงได้สำเร็จการนอนแทรกแซงพระเถระทั้งหลายเล่า การกระทำของ
พวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ
ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .