บทว่า มนสานุเปกฺขิตา มีความว่า อันภิกษุเพ่งด้วยใจแล้ว ย่อม
เป็นดุจสว่างไสวด้วยแสงประทีปพันดวงแก่เธอผู้ใคร่ครวญ.
สองบทว่า ทิฏฺฐิยา สุปฺปฏิวิทฺธา มีความว่า ธรรมทั้งหลายย่อม
เป็นอันภิกษุนั้นแทงตลอดแล้วด้วยดี คือ กระทำให้ประจักษ์ชัดแล้วด้วยปัญญา
โดยอรรถและโดยการณ์.
[ว่าด้วยภิกษุพหูสูต 3 จำพวก]
ก็ภิกษุผู้ชื่อว่า พหุสสุตะนี้ มี 3 จำพวก คือ นิสัยมุจจนกะ ผู้พอ
พ้นนิสัย 1 ปริสูปัฎฐาปกะ ผู้ให้บริษัทอุปัฏฐาก 1 ภิกขุโนวาทกะ ผู้สั่งสอน
ภิกษุณี 1. บรรดาพหุสสุตะทั้ง 3 นั้น ภิกษุผู้นิสัยมุจจนกะมีพรรษา 5 โดย
อุปสมบท พึงท่องมาติกา* 2 ให้ช่ำชอง คล่องปาก โดยกำหนดอย่างต่ำกว่า
เขาทั้งหมด, พึงเรียนภาณวาร 4 จากสุตตันตปิฏก เพื่อประโยชน์แก่ธรรม-
สวนะในวันปักษ์ทั้งหลาย, พึงเรียนกถามรรคอันหนึ่ง เช่นกับอันธกวินทสูตร
มหาราหุโลวาทสูตร อัมพัฎฐสูตร เพื่อประโยชน์แก่การกล่าวธรรมเบ็ดเตล็ด
แก่เหล่าชนผู้มาหา, พึงเรียนคาถาอนุโมทนา 3 อย่าง เพื่อประโยชน์อนุโนทนา
ในสังฆภัตงานมงคลและอวมงคล, พึงเรียนวินิจฉัยกรรมและมิใช่กรรม เพื่อ
อุโบสถและปวารณาเป็นต้น พึงเรียนกรรมฐานอย่างหนึ่ง มีพระอรหัตเป็น
ที่สุด ด้วยสามารถแห่งสมาธิก็ดี ด้วยสามารถแห่งวิปัสสนาก็ดี เพื่อกระทำ
สมณธรรม, พึงเรียน (พุทธพจน์มีพระสูตร 4 ภาณวารเป็นต้น ) เพียงเท่านี้
แท้จริง ด้วยการเรียนเพียงเท่านี้ ภิกษุนี้ย่อมชื่อว่า เป็นพหุสสุตะ เป็นผู้
ปรากฏในทิศ 4 ย่อมได้เพื่อยู่โดยความเป็นอิสระของตนในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง.
* สารัตถทีปนี 3/292 แก้ว่า มาติกา 2 ได้แก่ภิกขุมาติกา และ ภิกขุนีมาติกา. -ผู้ชำระ.
ภิกษุผู้ปริสูปัฏฐาปกะ มีพรรษา 10 โดยอุปสมบท พึงกระทำวิภังค์
ทั้ง 2 ให้ช่ำชอง คล่องปาก เพื่อแนะนำบริษัทในอภิวินัย โดยกำหนดอย่างต่ำ
ที่สุด. เมื่อไม่อาจ พึงกระทำ (วิภังค์ทั้ง 2 คัมภีร์ ) ให้ควรแก่การผลัดเปลี่ยน
กันกับภิกษุ 3 รูป. พึงเรียนกรรมและมิใช่กรรม และขันธกวัตร. แต่เพื่อจะ
แนะนำบริษัทในอภิธรรม ถ้าเป็นผู้กล่าวมัชฌิมนิกาย พึงเรียนมูลปัณณาสก์.
ผู้กล่าวทีฆนิกาย พึงเรียนแม้มหาวรรค. ผู้กล่าวสังยุตตนิกาย พึงเรียน 3
วรรค ข้างต้น หรือมหาวรรค. ผู้กล่าวอังคฺตตรนิกาย พึงเรียนครึ่งนิกาย
ข้างต้น หรือข้างปลาย. ผู้ไม่สามารถ แม้จะเรียนข้างต้น ตั้งแต่ติกนิบาตไปก็ได้
แต่ในมหาปัจจรีกล่าวว่า ผู้จะเรียนเอานิบาตเดียวแม้จะเรียนเอาจตุกกนิบาต
หรือปัญจกนิบาต ก็ได้. ผู้กล่าวชาดก พึงเรียนเอาชาดกพร้อมทั้งอรรถกถา.
จะเรียนต่ำกว่าชาดกพร้อมทั้งอรรถกถา ไม่ควร. ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า
จะเรียนเอาแม่ธรรมบท พร้อมทั้งวัตถุนิทาน ก็ควร.
ถามว่า จะเลือกเรียนเอาจากนิกายนั้น ๆ มีทีฆนิกายเป็นต้น แม้เพียง
มูลปัณณาสก์ ควรหรือไม่ควร.
ตอบว่า ท่านปฏิเสธไว้ในอรรถกถากุรุนทีว่า ไม่ควร. ในอรรถกถา
นอกนี้ ไม่มีการวิจารณ์ไว้เลย. ในอภิธรรมท่านไม่ได้กล่าวว่า ควรเรียนเอา
อะไร. ก็ภิกษุใดช่ำชองวินัยปิฏกและอภิธรรมปิฎกพร้อมทั่งอรรถกถา, แต่ไม่มี
คัณฐะมีประการดังที่กล่าวในสุตตันปิฏก ภิกษุนั้น ย่อมไม่ได้เพื่อจะให้
บริษัทอุปัฏฐาก. แต่ภิกษุใดเรียนคัณฐะมีประมาณดังกล่าวแล้ว จากสุตตันต-
ปิฎกบ้าง จากวินัยปิฏกบ้าง, ภิกษุนี้เป็นปริสูปัฏฐาปกะ เป็นพหุสสุตะ เป็น
ทิศาปาโมกข์ ไปได้ตามความปรารถนา ย่อมได้เพื่อจะให้บริษัทอุปัฏฐาก.
ส่วนภิกษุผู้สั่งสอนภิกษุณี พึงเรียนปิฎก 3 พร้อมทั้งอรรถกถา. เมื่อ
ไม่อาจ พึงทำอรรถกถาแห่งนิกายหนึ่ง บรรดา 4 นิกายให้ชำนาญ. เพราะว่า
ด้วยนิกายเดียว ก็จักสามารถเพื่อกล่าวแก้ปัญหาแม้ในนิกายที่เหลือได้. บรรดา
ปกรณ์ 7 พึงทำอรรถกถาแห่ง 4 ปกรณ์ให้ชำนาญ . เพราะว่า ด้วยนัยที่ได้
ในอรรถกถาแห่ง 4 ปกรณ์นั้น ก็จักสามารถเพื่อกล่าวแก้ปัญหาในปกรณ์ที่
เหลือได้. ส่วนวินัยปิฏกมีอรรถต่าง ๆ กัน มีเหตุต่าง ๆ กัน เพราะเหตุนั้น
ภิกษุผู้สั่งสอนนางภิกษุณีพึงกระทำวินัยปิฎกนั้นพร้อมทั้งอรรถกถาให้ชำนาญ
ทีเดียว. ก็ด้วยการเรียนสุตะมีประมาณเท่านี้ ภิกษุผู้สั่งสอนภิกษุณี ชื่อว่า
เป็นผู้มีสุตะมากแล.
[ปาฏิโมกข์ทั้งสองของเธอมาดีแล้วโดยพิสดาร]
ส่วนคำว่า อุภยานิ โข ปนสฺส เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ต่างหาก ก็เพราะเมื่อพาหุสัจจะ แม้มีองค์ 9 อย่างอื่นมีอยู่ครบทั้งหมด
จะเว้นวินัยปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถาเสีย ย่อมไม่ควรทีเดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิตฺถาเรน ได้แก่ พร้อมด้วยอุภโตวิภังค์.
บทว่า สฺวาคตานิ คือ มาแล้วด้วยดี. ก็ปาฎิโมกข์ทั้ง 2 มาแล้ว
โดยประการใด จึงจัดว่ามาแล้วด้วยดี เพื่อแสดงประการนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสคำว่า สุวิภตฺตานิ เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุวิภตฺตานิ ได้แก่ จำแนกได้ดี คือเว้น
จากโทษ คือบทที่ตกหล่นภายหลังและสับสนกัน.
บทว่า สุปฺปวตฺตินี ได้แก่ ช่ำชอง คล่องปาก.
สองบทว่า สุวินิจฺฉิตา สุตฺตโส ได้แก่ มีวินิจฉัยดีแล้ว ด้วยอำนาจ
แห่งสูตรที่จะพึงนำมาจากขันธกะและบริวาร.