ไม่ยำเกรง ไม่ประพฤติให้ถูกอัธยาศัยในหมู่ภิกษุอยู่ ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย
การกระทำของพวกเธอนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
53.4. อนึ่ง ภิกษุใดยังอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมโดยบท
เป็นปาจิตตีย์.
เรื่อง พระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[285] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด .. .
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ...
นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .
ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน คือ ยกเว้นภิกษุ ภิกษุณี นอกนั้นชื่อว่า
อนุปสัมบัน.
[286] ที่ชื่อว่า โดยบท ได้แก่ บท อนุบท อนุอักขระ อนุพยัญชนะ.
ที่ชื่อว่า บท คือ ขึ้นต้นพร้อมกัน ให้จบลงพร้อมกัน.
ที่ชื่อว่า อนุบท คือ ขึ้นต้นต่างกัน ให้จบลงพร้อมกัน.
ที่ชื่อว่า อนุอักขระ คือ ภิกษุสอนว่า รูปํ อนิจฺจํ อนุปสัมบัน
กล่าวพร้อมกันว่า รู ดังนี้ แล้วหยุด.
ที่ชื่อว่า อนุพยัญชนะ คือ ภิกษุสอนว่า รูปํ อนิจฺจํ อนุปสัมบัน
เปล่งเสียงรับว่า เวทนา อนิจฺจา.
บท ก็ดี อนุบท ก็ดี อนุอักขระ ก็ดี อนุพยัญชนะ ก็ดี ทั้งหมด
นั้น ชื่อว่าธรรมโดยบท.
ที่ชื่อว่า ธรรม ได้แก่ บาลีที่เป็นพุทธภาษิต สาวกภาษิต อิสิภาษิต
เทวตาภาษิต ซึ่งประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยธรรม.
บทว่า ให้กล่าว คือ ให้กล่าวโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ บท
ให้กล่าวโดยอักขระ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ อักขระ.
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[287] อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ให้กล่าวธรรม
โดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ให้กล่าวธรรมโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ให้กล่าวธรรมโดยบท ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ให้กล่าวธรรมโดยบท ต้อง
อาบัติทุกกฏ.
อุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ให้กล่าวธรรมโดยบท ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ให้กล่าวธรรมโดยบท ไม่
ต้องอาบัติ.
อานาปัตติวาร
[288] ภิกษุให้สวดพร้อมกัน 1 ท่องพร้อมกัน 1 อนุปสัมบันผู้
กล่าวอยู่ สวดอยู่ ซึ่งคัมภีร์ที่คล่องแคล่วโดยมาก 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุ
อาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ 4 จบ
มุสาวาทวรรค ปทโสธัมมสิกขาบทที่ 4
พึงทราบวินิจฉัยในสิกขาบทที่ 4 ดังต่อไปนี้
[แก้อรรถบางปาฐะว่าด้วยการสอนธรรมโดยบท]
บทว่า อปฺปติสฺสา ได้แก่ ไม่ยำเกรง, อธิบายว่า เมื่อพวกภิกษุ
ฉัพพัคคีย์กล่าวว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย ! แม้ถ้อยคำก็ไม่อยากฟัง คือ ไม่
เอื้อเฟื้อ. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ไม่มีความยำเกรง ไม่ประพฤติอ่อนน้อม.
บทว่า อสภาควุตฺติกา ได้แก่ ผู้มีความเป็นอยู่ไม่ถูกส่วนกัน ;
อธิบายว่า ผู้มีความประพฤติไม่ดำเนินไปเหมือนอย่างที่พวกอุบาสกควร
ประพฤติในหมู่ภิกษุ
คำว่า ปทโส ธมฺมํ วาเจยฺย ความว่า ให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ
รวมกัน (กับ อนุปสัมบัน), อธิบายว่า ให้กล่าว (ธรรม) เป็นโกฏฐาส ๆ
(เป็นต้นส่วน ๆ). ก็เพราะบทที่มีชื่อว่าโกฎฐาสนั้น มีอยู่ 4 อย่าง. ฉะนั้น เพื่อ
แสดงบททั้ง 4 อย่างนั้น พระอุบาลีเถระจึงกล่าวไว้ในบทภาชนะว่า บท
อนุบท อนุอักขระ อนุพยัญชนะ.
บรรดาบทเป็นต้นนั้น บท หมายเอาคาถาบาทหนึ่ง. อนุบท หมายเอา
บาทที่สอง. อนุอักขระ หมายเอาอักขระตัวหนึ่ง ๆ (หมายเอาอักขระแต่ละตัว).
อนุพยัญชนะ หมายเอาพยัญชนะตัวท้ายคล้ายกับพยัญชนะตัวต้น. ผู้ศึกษาพึง
ทราบความต่างกัน ในบทเป็นต้นนั่นอย่างนี้ คือ อักขระแต่ละตัวชนิดใด
ชนิดหนึ่ง ชื่อว่า อนุอักขระ ประชุมอักขระ ชื่อว่า อนุพยัญชนะ, ประชุม
อักขระและอนุพยัญชนะ ชื่อว่า บท, บทแรก ชื่อว่า บทเหมือนกัน บท
ที่สอง ชื่อว่า อนุบท.
บัดนี้ บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปทํ นาม เอกโต ปฏฺฐ-
เปตฺวา เอกโต โอสาเปนฺติ ต่อไป เมื่อภิกษุให้กล่าวธรรม เนื่องด้วย
คาถา เริ่มบทแต่ละบทนี้ว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา พร้อมกันกับอนุปสัมบัน
แล้วให้จบลงก็พร้อมกัน. แม้สำหรับภิกษุผู้ให้กล่าวอย่างนี้ ก็พึงปรับปาจิตตีย์
หลายตัวตามจำนวนบท.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อนุปทํ นาม ปาเฏกฺกํ ปฏฺฐเปตฺวา
เอกโต โอสาเปนฺติ ต่อไป :- เมื่อพระเถระกล่าวว่า มโนปุพฺพงฺคมา
ธมฺมา ดังนี้ สามเณรกล่าวบทนั้นไม่ทัน จึงกล่าวบทที่สองพร้อมกันว่า
มโนเสฏฺฐา มโนมยา. ภิกษุและสามเณรทั้งสองรูปนี้ ชื่อว่าขึ้นต้นต่างกัน
ให้จบลงพร้อมกัน. แม้สำหรับภิกษุผู้ให้กล่าวอย่างนี้ ก็พึงปรับปาจิตตีย์หลายตัว
ตามจำนวนอนุบท.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อนฺวกฺขรํ นาม รูปํ อนิจฺจนฺติ
วุจฺจมาโน รูติ โอปาเตติ ต่อไป:- ภิกษุสอนสามเณรว่า แน่ะสามเณร !
เธอจงว่า รูปํ อนิจฺจํ กล่าวพร้อมกันเพียงรู- อักษรเท่านั้น แล้วหยุดอยู่.
แม้สำหรับภิกษุผู้ให้กล่าวอย่างนี้ ก็พึงปรับปาจิตตีย์หลายตัวตานจำนวนอนุ-
อักขระ. และแม้ในคาถาพันธ์ บัณฑิตก็ย่อมได้นัยเช่นนี้เหมือนกันแท้ทีเดียว.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อนุพฺยญฺชนํ นาม รูปํ อนิจฺจนฺติ
วุจฺจมาโน เวทนา อนิจฺจาติ สทฺทํ นิจฺฉาเรติ ต่อไป:- สามเณร
ให้บอกสูตรนี้ว่า รูปํ ภิกฺขเว อนิจฺจํ เวทนา อนิจฺจา เป็นต้น พระเถระ
บอกว่า รูปํ อนิจจํ ดังนี้ เปล่งวาจากล่าวอนิจจบทนี้ว่า เวทนา อนิจฺจา
พร้อมกับอนิจจบทของพระเถระว่า รูปํ อนิจฺจํ นี้ เพราะเป็นผู้มีปัญญาว่องไว.
แม้สำหรับภิกษุผู้ให้กล่าวอย่างนี้ พระวินัยธรก็พึงปรับปาจิตตีย์หลายตัวตาม
จำนวนอนุพยัญชนะ. ส่วนความสังเขปในบทเหล่านี้มีดังนี้ว่า บรรดาบท
เป็นต้นนี้ ภิกษุกล่าวบทใด ๆ พร้อมกัน ย่อมต้องอาบัติด้วยบทนั้น ๆ.
[ว่าด้วยภาษิต 4 มีพุทธภาษิตเป็นต้น]
วินัยปิฎกทั้งสิ้น อภิธรรมปิฎก ธรรมบท จริยาปิฎก อุทาน
อติวุทคกะ ชาตกะ สุตตนิบาท วิมานวัตถุ เปตวัตถุ และพระสูตรทั้งหลาย
มีพรหมชาลสูตรเป็นต้น ชื่อว่า พุทธภาษิต.
ธรรมที่พวกสาวกผู้นับเนื่องในบริษัท 4 ภาษิตไว้ มีอนังคณสูตร
สัมมาทิฏฐิสูจร อนุมานสูตร จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตรเป็นต้น ชื่อว่า
สาวกภาษิต.
ธรรมที่พวกปริพาชกภายนอกกล่าวไว้ มีอาทิอย่างนี้ คือ ปริพาชก
วรรคทั้งสิ้น คำปุจฉาของพราหมณ์ 16 คน ผู้เป็นอันเตวาสิกของพราหมณ์
ชื่อพาวรี ชื่อว่า อิสิภาษิต.