เคารพในธรรมเทศนา ของภิกษุแม้ผู้ตั้งอยู่ในสังวร. อีกอย่างหนึ่ง หล่อนจะ
ยังความคิดให้เกิดขึ้นในอสัทธรรมนั่นเอง.
บทว่า วีสติวสฺโส วา มีความว่า ผู้มีพรรษา 20 โดยอุปสมบท
หรือว่า มีพรรษาเกินกว่า 20 แต่อุปสมบทนั้น. ภิกษุนั้น แม้จะคลุกคลีอยู่
กับวัตถุที่เป็นข้าศึกกัน มีรูปเห็นปานนั้นบ่อย ๆ ก็จะไม่พลันถึงความเสียศีล
เหมือนภิกษุหนุ่ม. ภิกษุนั้นพิจารณาดูวัยของตนแล้ว ย่อมเป็นผู้มีกำลังพอที่
จะขจัดฉันทราคะ ในฐานะอันไม่สมควรเสีย. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า วีสติวสฺโส วาโหติ อติเรกวสติวสฺโส วา.
ก็บรรดาองค์ 8 เหล่านี้ บัณฑิตพึงทราบว่า คำว่า เป็นผู้มีศีลเป็นต้น
เป็นองค์ที่ 1, คำว่า เป็นพหูสูตเป็นต้น เป็นองค์ที่ 2, คำว่า ก็ (ปาฏิโมกข์)
ทั้ง 2 แลของเธอ เป็นต้น เป็นองค์ที่ 3, คำว่าเป็นผู้มีวาจาไพเราะ มีเสียง
อ่อนหวาน เป็นองค์ที่ 4, คำว่า เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของพวกนางภิกษุณี
โดยมาก เป็นองค์ที่ 5, คำว่า เป็นผู้สามารถสั่งสอนพวกนางภิกษุณี เป็น
องค์ที่ 6, คำว่า ก็ข้อนั้นหามิได้แลเป็นต้น เป็นองค์ที่ 7, คำว่า มีพรรษา
20 เป็นต้น เป็นองค์ที่ 8.
บทว่า ญตฺติจตุตฺเถน ได้แก่ (ด้วยญัตติจตุตถกรรม) มีนัยดังกล่าว
แล้วในเรื่องก่อน ๆ นั่น แหละ.
[ว่าด้วยคุณธรรม 8 ของนางภิกษุณี]
บทว่า ครุธมฺเมหิ คือด้วยธรรมอันหนัก จริงอยู่ ธรรมเหล่านั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ครุธรรม เพราะเป็นธรรมอันภิกษุณีทั้งหลาย
พึงกระทำความเคารพรับรอง.
ในคำว่า เอกโต อุปสมฺปนฺนา นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ . ภิกษุ
ใด ย่อมกล่าวสอนด้วยครุธรรมแก่ภิกษุณีผู้อุปสมบท ในสำนักแห่งภิกษุณี
ทั้งหลายฝ่ายเดียว เป็นทุกกฏแก่ภิกษุนั้น. แต่เป็นอาบัติตานวัตถุทีเดียว (แก่
ภิกษุผู้สั่งสอนนางภิกษุณี) ผู้อุปสมบทในสำนักของพวกภิกษุ.
สองบทว่า ปริเวณํ สมฺมชฺชิตฺวา มีความว่า ถ้าบริเวณไม่เตียน
หรือแม้เตียนแล้วในเวลาเช้า กลับรกเพราะหญ้า และใบไม้เป็นต้น และเกิด
มีทรายกระจุยกระจาย เพราะถูกเท้าเหยียบย่ำ, ภิกษุผู้ได้รับสมมติพึงกวาด.
จริงอยู่ ภิกษุณีทั้งหลายเหล่านั้น เห็นบริเวณนั้นไม่เตียน พึงเป็นเหมือนผู้ไม่
อยากฟัง ด้วยสำคัญว่า พระผู้เป็นเจ้าไม่ชักนำแม้พวกภิกษุหนุ่ม ผู้เป็นนิสิตก์
ของตน ในวัตรปฏิบัติ, ดีแต่แสดงธรรมอย่างเดียว. เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า จึงตรัสคำว่า ปริเวณํ สมฺมชฺชิตฺวา.
ก็ภิกษุณีทั้งหลาย เดินมาจากภายในบ้าน ย่อมกระหายน้ำและเหน็ด
เหนื่อย. ภิกษุณีเหล่านั้น จึงหวังเฉพาะอยู่ซึ่งน้ำดื่ม และการกระทำให้มือ
เท้า และหน้าเย็น. และเมื่อน้ำนั้นไม่มี ภิกษุณีเหล่านั้น เกิดความไม่เคารพ
โดยนัยก่อนนั่นแล แล้วเป็นผู้ไม่ประสงค์จะพึงธรรม ก็ได้ เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า ปานียํ ปริโภชนียํ อุปฏฺฐเปตฺวา.
บทว่า อาสนํ มีความว่า ก็ภิกษุผู้ได้รับสมมตินั้น พึงจัดทั้งที่นั่ง
มีชนิดตั่งเล็ก ตั้งแผ่นกระดาน เสื่ออ่อน และเสื่อลำแพนเป็นต้น โดยที่สุด
แม้กิ่งไม่พอจะหักได้ ด้วยติดอย่างนี้ว่า นี้ จักเป็นที่นั่งของภิกษุณีเหล่านั้น
แล้วพึงปรารถนาบุรุษผู้รู้เดียงสาเป็นเพื่อน เพื่อเปลื้องอาบัติในเพราะการแสดง
ธรรม เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ทุติยํ คเหตฺวา ดังนี้.
บทว่า นิสีทิตพฺพํ มีความว่า ไม่พึงนั่งในที่สุดแดนวิหาร โดย
ที่แท้ พึงนั่งในสถานชุมนุมแห่งคนทั่วไป ใกล้ประตูแห่งโรงอุโบสถหรือโรง
ฉันในท่ามกลางวิหาร.
บทว่า สมคฺคตฺถ มีความว่า ท่านทั้งหลายมาพร้อมเพรียงกันหมด
แล้วหรือ ?
บทว่า วตฺตนฺติ แปลว่า (ครุธรรม 8) ยังจำกันได้อยู่หรือ ?
อธิบายว่า ชำนาญ คล่องปากหรือ ?
บทว่า นิยฺยาเทตพฺโพ แปลว่า พึงมอบให้.
บทว่า โอสาเรตพฺพา ได้แก่ พึงบอกบาลี.
คำว่า วสฺสสตูปสมฺปนฺนาย เป็นต้น เป็นคำแสดงบาลีที่ภิกษุผู้ได้
รับสมมติจะพึงบอก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สามีจิกมฺมํ ได้แก่ วัตรอันสมควร
มีการหลีกทางให้ พัดวี และถามโดยเอื้อเฟื้อด้วยน้ำดื่มเป็นต้น . ก็บรรดาวัตร
มีการอภิวาทเป็นต้นนี้ ชื่อว่าการกราบไหว้ภิกษุ อันภิกษุณีพึงกระทำแท้
ภายในบ้านก็ดี นอกบ้านก็ดี ภายในวิหารก็ดี ภายนอกวิหารก็ดี ในละแวก
บ้านก็ดี ในตรอกก็ดี โดยที่สุดแม้เมื่อการขับไล่ เพราะเหตุพระราชาเสด็จมา
เป็นไปอยู่ก็ดี เมื่อฝนกำลังตกก็ดี ในพื้นดินมีโคลนตมเป็นต้น ก็ดี มีร่มและ
บาตรอยู่ในมือก็ดี ถูกช้างและม้าเป็นต้น ไล่ติดตามก็ดี. ภิกษุณีเห็นพวกภิกษุ
เข้าสู่ที่ภิกขาจาร เดินเป็นแถวเนื่องกันเป็นแถวเดียว จะไหว้ในที่แห่งเดียว
ด้วยกล่าวว่า ดิฉันไหว้ พระคุณเจ้า ดังนี้ ก็ควร. ถ้าภิกษุทั้งหลายเดินเว้น
ระยะในระหว่าง ห่างกัน 12 ศอก พึงแยกไหว้, จะไหว้ภิกษุทั้งหลายผู้นั่งอยู่
* โยขนาปาฐะ 2/41 เป็น ฉตฺตปตฺตหตฺถายปิ... ผู้ชำระ.
ในที่ประชุมใหญ่ ในทำแห่งเดียวเท่านั้นก็ได้. แม้ในอัญชลีกรรมก็นัยนี้. ก็
ภิกษุณีนั่งแล้วในที่ใดที่หนึ่งพึงกระทำการลุกรับ พึงกระทำกรรมนั้น ๆ ในที่
และเวลาอันสมควรแก่สามีจิกรรมนั้น ๆ.
บทว่า สกฺกตฺวา คือ กระทำโดยประการที่ธรรมซึ่งคนทำแล้ว จะ
เป็นอันทำแล้ว ด้วยดี.
บทว่า ครุกตฺวา คือ ให้เกดความเคารพในกรรมนั้น.
บทว่า มาเนตฺวา คือ กระทำความรักด้วยใจ (จริง).
บทว่า ปูเชตฺวา คือ บูชาด้วยการทำกิจ 3 อย่างเหล่านี้แหละ.
บทว่า นาติกฺกมนีโย คือ อันภิกษุณีไม่พึงล่วงละเมิด.
[ภิกษุณีไม่พึงจำพรรษาในอาวาสไม่มีภิกษุ]
ในคำว่า อภิกฺขุเก อาวาเส นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ ถ้าภิกษุ
ทั้งหลายผู้ให้โอวาทไม่ได้อยู่ในโอกาสภายในระยะกึ่งโยชน์จากสำนักแห่งภิกษุณะ
อาวาสนี้ ชื่อว่า อาวาสไมีมีภิกษุ. ภิกษุณีทั้งหลาย ไม่พึงอยู่จำพรรษาใน
อาวาสไม่มีภิกษุนี้ . สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อาวาสที่ภิกษุณี
ทั้งหลาย ไม่อาจจะไปเพื่อโอวาท หรือเพื่ออยู่ร่วมกัน ชื่อว่า ไม่มีภิกษุ และ
ไม่อาจเพื่อจะไปที่อื่นจากสำนักภิกษุณีนั้นในภายหลังภัต ฟังธรรมแล้วกลับมา.
ถ้าหมู่ญาติหรือพวกอุปัฏฐาก กล่าวกะภิกษุณีทั้งหลายผู้ไม่ประสงค์จะอยู่
จำพรรษาในอาวาสนั้นอย่างนี้ว่า ขอจงอยู่เถิด แม่เจ้า พวกผมจักนำภิกษุ
ทั้งหลายมา. ดังนี้ ควรอยู่.
แต่ถ้า ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะอยู่ จำพรรษาในประเทศ มี
ประมาณดังเรากล่าวแล้ว มาพักค้างแม้ที่ปะรำกิ่งไม้คืนหนึ่ง ถูกพวกชาวบ้าน