พระบัญญัติ
59. 10. อนึ่ง ภิกษุใด ขุดก็ดี ให้ขุดก็ดี ซึ่งปฐพี เป็น
ปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี จบ
สิกขาบทวิภังค์
[350] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .
ที่ชื่อว่า ปฐพี ได้แก่ปฐพี 2 อย่าง คือ ปฐพีแท้อย่างหนึ่ง ปฐพี
ไม่แท้อย่างหนึ่ง.
ที่ชื่อว่า ปฐพีแท้ คือ มีดินร่วนล้วน มีดินเหนียวล้วน มีหินน้อย
มีกรวดน้อย มีกระเบื้องน้อย มีแร่น้อย มีทรายน้อย มีดินร่วนมาก มีดิน
เหนียวมาก แม้ดินที่ยังไม่ได้เผาไฟก็เรียกว่า ปฐพีแท้.
กองดินร่วนก็ดี กองดินเหนียวก็ดี ที่ฝนตกรดเกิน 4 เดือนมาแล้ว
แม้นี้ก็เรียกว่า ปฐพีแท้.
ที่ชื่อว่า ปฐพีไม่แท้ คือ เป็นหินล้วน เป็นกรวดล้วน เป็น
กระเบื้องล้วน เป็นแร่ล้วน เป็นทรายล้วน มีดินร่วนน้อย มีดินเหนียวน้อย
มีหินมาก มีกรวด มีกระเบื้อง มีแร่ มีทรายมาก แม้ดินที่เผาไฟแล้ว ก็
เรียกว่า ปฐพีไม่แท้.
กองดินร่วนก็ดี กองดินเหนียวก็ดี ที่ฝนตกรดยังหย่อนกว่า 4 เดือน
แม้นี้ก็เรียกว่า ปฐพีไม่แท้.
[351] บทว่า ขุด คือ ขุดเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า ให้ขุด คือ ใช้ให้คนอื่นขุด ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
สั่งครั้งเดียว เขาขุดแม้หลายครั้ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
[352] ปฐพี ภิกษุสำคัญว่า ปฐพี ขุดเองก็ดี ใช้ให้เขาขุดก็ดี ทำลาย
เองก็ดี ใช้ให้เขาทำลายก็ดี เผาไฟเองก็ดี ใช้ให้เขาเผาไฟก็ดี ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
ปฐพี ภิกษุสงสัย ขุดเองก็ดี ใช้ให้เขาขุดก็ดี ทำลายเองก็ดี ใช้ให้
เขาทำลายก็ดี เผาไฟเองก็ดี ใช้ให้เขาเผาไฟก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
ปฐพี ภิกษุสำคัญว่า มิใช่ปฐพี ขุดเองก็ดี ใช้ให้เขาขุดก็ดี ทำลาย
เองก็ดี ใช้ให้เขาทำลายก็ดี เผาไฟเองก็ดี ใช้ให้เขาเผาไฟก็ดี ไม่ต้องอาบัติ.
มิใช่ปฐพี ภิกษุสำคัญว่า ปฐพี . . . ต้องอาบัติทุกกฏ.
มิใช่ปฐพี ภิกษุสงสัย ...ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
มิใช่ปฐพี ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ปฐพี. . .ไม่ต้องอาบัติ.
อานาปัตติวาร
[353] ภิกษุกล่าวว่า ท่านจงรู้ดินนี้ ท่านจงให้ดินนี้ ท่านจงนำ
ดินนี้มา เรามีความต้องการด้วยดินนี้ ท่านจงทำดินนี้ให้เป็นกัปปิยะ ดังนี้ 1
ภิกษุไม่แกล้ง 1 ภิกษุไม่มีสติ 1 ภิกษุไม่รู้ 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุ-
อาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ 10 จบ
ปาจิตตีย์ วรรคที่ 1 จบ
หัวข้อประจำเรื่อง
1. มุสาวาทสิกขาบท ว่าด้วยพูดเท็จ
2. โอมสวาทสิกขาบท ว่าด้วยพูดเสียดสี
3. เปสุญญสิกขาบท ว่าด้วยพูดส่อเสียด
4. ปทโสธัมมสิกขาบท ว่าด้วยสอนธรรมว่าพร้อมกัน
5. ปฐมสหเสยยสิกขาบท ว่าด้วยนอนร่วมกับอนุปสัมบัน
6. ทุติยสหเสยยสิกขาบท ว่าด้วยนอนร่วมกับมาตุคาม
7. ธัมมเทสนาสิกขาบท ว่าด้วยแสดงธรรม
8. ภูตาโรจนสิกขาบท ว่าด้วยบอกอุตริมนุสธรรม
9. ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบท ว่าด้วยบอกอาบัติชั่วหยาบ
10. ปฐวีขนนสิกขาบท ว่าด้วยขุดดิน.
มุสาวาทวรรค ปฐวีขนนสิกขาบทที่ 10
พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ 10 ดังต่อไปนี้
[แก้อรรถ เรื่องปฐพีแท้ไม่แท้]
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปฐพีแท้ และปฐพีไม่แท้ ด้วยบทเหล่านี้
ว่า ชาตา จ ปฐวี อชาตา จ ปฐวี ดังนี้.
ในบททั้งหลายมีบทว่ามีหินน้อยเป็นต้น ผู้ศึกษาพึงเห็นใจความอย่าง
นี้ว่า ที่ปฐพีแท้นี้มีหินน้อย ฉะนั้น จึงชื่อว่า อัปปปาสาณะ. ในบทว่า
มีหินน้อย เป็นต้นนั้น พึงทราบว่า มีหินเกินกว่าขนาดกำมือหนึ่ง. กรวด
ก็พึงทราบว่า มีขนาดกำมือหนึ่ง. เศษกระเบื้องชื่อ กถลา. ก้อนกรวดที่
ปรากฏ (หินกรวดคล้ายวลัย) ชื่อ มรุมพา. ทรายนั่นแหละ ชื่อว่า วาลุกา.
สองบทว่า เยภุยฺเยน ปํสุ มีความว่า ใน 3 ส่วน 2 ส่วน เป็น
ดินร่วนเสีย, ส่วนหนึ่ง เป็นหินเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า อทฑฺฒาปี มีความว่า ยังไม่ได้เผาไฟ โดยประการใด
ประการหนึ่ง ด้วยอำนาจแห่งเตาไฟ ที่ระบมบาตร และเตาช่างหม้อเป็นต้น
ก็ปฐพีที่ยังไม่ได้เผาไฟนั้น ไม่มีต่างหาก, พึงทราบว่าเป็นปฐพีชนิดใดชนิดหนึ่ง
มีดินซุยล้วนเป็นต้น .
สองบทว่า เยภุยฺเยน สกฺขรา ได้แก่ มีก้อนกรวดมากกว่า. ได้ยินว่า
ในหัตถิกุจฉิประเทศ พวกภิกษุให้ขนดินมาเต็มกระบุงหนึ่ง แล้วล้างในลำราง
รู้ว่าเป็นปฐพีมีกรวดโดยมาก จึงขุดสระโบกชรณีเสียเอง.
ก็สองบทว่า อปฺปปํสุ อปฺปมตฺติกา ซึ่งมีอยู่ตรงกลาง ผนวกเข้า
หมวด 5 มีหินโดยมากเป็นต้นนั่นแล. แท้จริง คำนี้ เป็นคำแสดงชนิดแห่ง
ปฐพีทั้ง 2 นั้น นั่นแล.
ในคำว่า สยํ ขนติ อาปตฺต ปาจิตฺติยสฺส นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบว่า
เป็นปาจิตตีย์ทุก ๆ ครั้งที่ขุด.
คำว่า สกึ อาณตฺโต พทุกํปิ ขนติ มีความว่า ถ้าแม้นว่า ผู้รับ
สั่งขุดตลอดทั้งวัน ก็เป็นปาจิตตีย์ตัวเดียวเท่านั้นแก่ผู้สั่ง. แต่ถ้าผู้รับสั่งเป็นคน
เกียจคร้าน ผู้สั่งต้องสั่งบ่อย ๆ เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้สั่งให้เขาขุดทุก ๆ คำ.
พรรณนาบาลีเท่านี้ก่อน.
[บาลีมุตตกวินิจฉัยว่าด้วยการขุดดินเป็นต้น]
ส่วนวินิจฉัยนอกพระบาลี ดังต่อไปนี้ ภิกษุกล่าวว่า เธอจงขุด
สระโบกขรณี ดังนี้ ควรอยู่. เพราะว่า สระที่ขุดแล้วเท่านั้น จึงชื่อว่า เป็น
สระโบกขรณี ฉะนั้น โวหารนี้ เป็นกัปปิยโวหาร. แม้ในคำเป็นต้นว่า
จงขุด บึง บ่อ หลุม ดังนี้ ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. แต่จะกล่าวว่า จงขุด
โอกาสนี้ จงขุดสระโบกขรณี ในโอกาสนี้ ดังนี้ ไม่ควร. จะกล่าวไม่กำหนด
แน่นอนลงไปว่า จงขุดเหง้า จงขุดราก ดังนี้ ควรอยู่ จะกล่าวว่า จงขุด
เถาวัลย์นี้ จงขุดเหง้า หรือรากในโอกาสนี้ ดังนี้ ไม่สมควร. เมื่อชำระ
สระโบกขรณี อาจจะเอาหม้อวิดเปือกตมเหลว ๆ ใดออกได้, จะนำเปือกตม
นั้นออก ควรอยู่. จะนำเปือกตมที่ข้นออก ไม่ควร. เปือกตมแห้งเพราะ
แสงแดด แตกระแหง ในเปือกตมแห้งนั้น ส่วนใดไม่เนื่องกับแผ่นดินใน