เมนู

ที่สภาเป็นต้นนั้น จะไม่ไปไม่ได้, สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีจะไม่ไปสู่ที่นัดหมายไม่ได้, ภิกษุณีใดไม่ไป,
ภิกษุณีนั้น ต้องทุกกฏ1 ดังนี้.

[ข้อว่าพึงปวารณาในสงฆ์ 2 ฝ่ายโดย 3 สถาน]


ในคำว่า อุภโตสงฺเฆ ตีหิ ฐาเนหิ ปวาเรตพฺพํ นี้ มีวินิจฉัยว่า
ภิกษุณีทั้งหลาย ปวารณาด้วยตนเองในวัน 14 ค่ำ แล้วพึงปวารณาใน
ภิกษุสงฆ์ในวันอุโบสถ. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ (ภิกษุณีทั้งหลาย) ปวารณาในวันนี้แล้ว พึง
ปวารณากะภิกษุสงฆ์ในวันรุ่งขึ้นอีก2 ดังนี้.
ก็บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในคำนี้ โดยนัยดังที่ตรัสไว้ในภิกขุนีขันธกะ
นั่นแล. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ก็โดยสมัยนั้น แล ภิกษุณี
สงฆ์ทั้งปวง ขณะปวารณาได้ทำการไกลาหล. ภิกษุณีทั้งหลายบอกเรื่องนั้น
แก่ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้
สมมติภิกษุณีรูปหนึ่ง ผู้ฉลาด สามารถ ให้ปวารณากะภิกษุสงฆ์ เพื่อประโยชน์
แก่ภิกษุณีสงฆ์. ภิกษุทั้งหลาย ! ก็แลภิกษุณีสงฆ์พึงสมมติอย่างนั้น คือ
ภิกษุณีสงฆ์ พึงขอร้องภิกษุณีรูปหนึ่งก่อน. ครั้นขอร้องแล้ว ภิกษุณีผู้ฉลาด
สามารถ พึงเผดียงสงฆ์ว่า ข้าแต่แม่เจ้า ! ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ถ้าความ
พรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงสมมติภิกษุณีชื่อนี้ให้ปวารณาภิกษุสงฆ์
เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุณีสงฆ์, นี้เป็นคำญัตติ. ข้าแต่แม่เจ้า ขอสงฆ์จงพึง
ข้าพเจ้า, สงฆ์สมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้ปวารณาภิกษุสงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่
1-2 วิ. จุลฺล. 7/343.

ภิกษุณีสงฆ์ การสมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้ปวารณาภิกษุสงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่
ภิกษุณีสงฆ์ ย่อมควรแก่แม่เจ้ารูปใด แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่งอยู่, ย่อมไม่ควร
แก่แม่เจ้ารูปใด แม่เจ้ารูปนั้นพึงพูดขึ้น. ภิกษุณีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้ปวารณา
ภิกษุสงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุณีสงฆ์ ย่อมควรแก่สงฆ์ เพราะเหตุนั้น
สงฆ์จงนิ่งอยู่, ข้าพเจ้าจะทรงไว้ซึ่งความเป็นผู้นิ่งอยู่แห่งสงฆ์อย่างนี้*.
ภิกษุณีทีสงฆ์สมมตินั้น พาภิกษุณีสงฆ์เข้าไปหาภิกษุสงฆ์แล้ว ทำ
ผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประคองอัญชลี พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่
พระผู้เป็นเจ้า ! ภิกษุณีสงฆ์ ย่อมปวารณากะภิกษุสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วย
ได้ฟังก็ดี ด้วยรังเกียจก็ดี ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ขอภิกษุสงฆ์จงอาศัยความ
อนุเคราะห์ว่ากล่าวภิกษุณีสงฆ์, ภิกษุณีสงฆ์เห็นอยู่จักกระทำคืน ข้าแต่พระ
ผู้เป็นเจ้า ! แม้ครั้งที่ 2 . . .ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! แม้ครั้งที่ 3 ภิกษุณีสงฆ์
ฯลฯ จักทำคืน ดังนี้.
ถ้าภิกษุณีสงฆ์ ไม่ครบ (องค์เป็นสงฆ์), นางภิกษุณีทีสงฆ์สมมติ
พึงกล่าว 3 ครั้งอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ภิกษุณีทั้งหลายปวารณา
ภิกษุสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ตาม ด้วยได้ฟังก็ตาม ด้วยรังเกียจก็ตาม, ข้าแต่
พระผู้เป็นเจ้า ! ขอภิกษุสงฆ์จงอาศัยความอนุเคราะห์ว่ากล่าวพวกภิกษุณี
ภิกษุณีทั้งหลายเห็นอยู่ จักทำคืน และว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ดิฉันปวารณา
ภิกษุสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ตาม ด้วยได้ฟังก็ตาม ด้วยรังเกียจก็ตาม, ข้าแต่
พระผู้เป็นเจ้า ! ขอภิกษุสงฆ์จงอาศัยความอนุเคราะห์ว่ากล่าวดิฉัน . ดิฉันเห็น
อยู่จักทำคืน ดังนี้.
ถ้าภิกษุสงฆ์ไม่ครบ (องค์เป็นสงฆ์) พึงกล่าว 3 ครั้งอย่างนี้ว่า ข้าแต่
พระผู้เป็นเจ้า ภิกษุณีสงฆ์ปวารณากะพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ตาม
* วิ. จุลฺล. 7/362.

ด้วยได้ฟังก็ตาม ด้วยรังเกียจก็ตาม ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย จงอาศัยความ
อนุเคราะห์ว่ากล่าวภิกษุณีสงฆ์, ภิกษุณีสงฆ์เห็นอยู่ จักทำคืน, และว่า ข้าแต่
พระผู้เป็นเจ้า ! ภิกษุณีสงฆ์ปวารณากะพระผู้เป็นเจ้า ด้วยได้เห็นก็ตาม ด้วย
ได้ฟังก็ตาม ด้วยรังเกียจก็ตาม, ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอาศัยความอนุเคราะห์
ว่ากล่าวภิกษุณีสงฆ์, ภิกษุณีสงฆ์เห็นอยู่ จักคำคืน ดังนี้.
เมื่อไม่ครบสงฆ์แม้ทั้ง 2 ฝ่าย พึงกล่าว 3 ครั้ง อย่างนี้ว่า ข้าแต่
พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ! ภิกษุณีทั้งหลายปวารณากะพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ด้วย
ได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยรังเกียจก็ดี, พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจงอาศัยความ
อนุเคราะห์ว่ากล่าวภิกษุณีทั้งหลาย ๆ เห็นอยู่ จักกระทำคืน, และว่า ข้าแต่
พระผู้เป็นเจ้า ! ภิกษุณีทั้งหลายปวารณากะพระผู้เป็นเจ้า ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วย
ได้ฟังก็ดี ด้วยรังเกียจก็ดี, ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอาศัย
ความอนุเคราะห์ ว่ากล่าวภิกษุณีทั้งหลาย ๆ เห็นอยู่ จักกระทำคืน ดังนี้, ว่า
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ! ดิฉันปวารณากะพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ด้วย
ได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยรังเกียจก็ดี, ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจงอาศัย
ความอนุเคราะห์ว่ากล่าวดิฉัน ๆ เห็นอยู่ จักกระทำคืน และว่า ข้าแต่พระผู้-
เป็นเจ้า ! ดิฉันปวารณากะพระผู้เป็นเจ้า ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วย
รังเกียจก็ดี ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอาศัยความอนุเคราะห์ว่ากล่าวดิฉัน ๆ เห็นอยู่
จักกระทำคืน ดังนี้.
การประพฤติมานัต และการแสวงหาการอุปสมบท จักมีแจ้งในที่
ตามควรแก่ฐานะนั่นแล.
ข้อว่า น ภิกฺขุนิยา เกนจิ ปริยาเยน มีความว่า ภิกษุณีอย่า
พึงด่า อย่าพึงบริภาษภิกษุด้วยอักโกสวัตถุ 1. หรือด้วยคำเปรียบเปรยอะไร
อย่างอื่น และไม่พึงขู่ภิกษุด้วยภัย.

บทว่า โอวโฏ ได้แก่ ปิด คือ กั้น ห้าม. ถ้อยคำนั้น แหละ ชื่อว่า
พจนบถ.
บทว่า อโนโฏ ได้แก่ ไม่ปิด คือ ไม่กั้น ไม่ห้าม. เพราะเหตุนั้น
ภิกษุณีทั้งอยู่ในฐานแห่งความเป็นผู้ใหม่ คือ ในฐานแห่งผู้เป็นหัวหน้า อย่า
พึงว่ากล่าว อย่าพึงสั่งสอนภิกษุโดยปริยายใด ๆ ว่า ท่านจงเดินหน้าอย่างนี้,
จงถอยกลับอย่างนี้, จงนุ่งอย่างนี้, จงห่มอย่างนี้. แต่เห็นโทษแล้ว จะแสดง
โทษที่มีอยู่โดยนัยเป็นต้นว่า พระมหาเถระทั้งหลายในปางก่อน ย่อมไม่เดินไป
ข้างหน้า ไม่ถอยหลัง ไม่นุ่ง ไม่ห่มอย่างนั้น, ย่อมไม่ทรงแม้ผ้ากาสาวะเช่นนี้
ไม่หยอดนัยน์ตาอย่างนั้น ดังนี้ ควรอยู่.
ส่วนภิกษุทั้งหลาย ว่ากล่าว สั่งสอนภิกษุณี คามสะดวกว่า แม่
สมณีแก่นี้ ย่อมนุ่งอย่างนี้ ย่อมห่มอย่างนี้, อย่านุ่งอย่างนี้ อย่าห่มอย่างนี้,
อย่ากระทำกรรมเกี่ยวด้วยเมล็ดงา และเกี่ยวด้วยใบไม้เป็นต้น ควรอยู่.
สองบทว่า สมคฺคมฺหยฺยาติ ภณนฺตํ ได้แก่ กะภิกษุณีสงฆ์ ผู้กล่าว
อยู่ว่า พวกดิฉันพร้อมเพรียงกัน พระผู้เป็นเจ้า !
คำว่า อญฺญํ ธมฺมํ ภณติ ได้แก่ (สั่งสอน) สูตร หรืออภิธรรม
อย่างอื่น, ก็พวกภิกษุณีย่อมหวังเฉพาะโอวาทด้วยคำว่า สมคฺคมฺหยฺย.
เพราะเหตุนั้น จึงเป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้กล่าวธรรมอื่นเว้นโอวาทเสีย.
สองบทว่า โอวาทํ อนิยฺยาเทตฺวา ได้แก่ ไม่กล่าวว่า ดูก่อน
น้องหญิง ! ในโอวาท, กรรม คือ ภิกขุโนวาทกสมมติ (การสมมติภิกษุผู้
สั่งสอนภิกษุณี) ผู้ศึกษาพึงทราบว่า กรรม ในคำว่า อธมฺมกมฺเม เป็นต้น .
บรรดากรรม มีกรรมไม่เป็นธรรมเป็นต้นนั้น ในกรรมไม่เป็นธรรม เป็น
ปาจิตตีย์ 18 ตัว ด้วยอำนาจแห่งหมวด 9 2 หมวด. ในกรรมเป็นธรรม

ไม่เป็นอาบัติ ในบทสุดท้ายแห่งหมวด 9 หมวดที่ 2. ในบทที่เหลือเป็น
ทุกกฏ 17 ตัว.
สองบทว่า อุทฺเทสํ เทนฺโต ได้แก่ ผู้แสดงบาลีแห่งครุธรรม 8.
สองบทว่า ปริปุจฺฉํ เทนฺโต มีความว่า ผู้กล่าวอรรถกถาแห่งบาลี
ครุธรรมที่คล่องแคล่วนั้นนั่นแล.
หลายบทว่า โอสาเรหิ อยฺยาติ วุจฺจมาโน โอสาเรติ มีความว่า
ภิกษุผู้อันภิกษุณีทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ ย่อมสวดบาลีครุธรรม 8 ภิกษุผู้ให้อุเทศ
ผู้ให้ปริปุจฉาอย่างนี้ และภิกษุผู้อันภิกษุณีกล่าวว่า นิมนต์สวดเถิด สวด
ครุธรรม 8, ไม่เป็นอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุนั้น ไม่เป็นอาบัติทุกกฎแก่ภิกษุผู้
กล่าวธรรมอื่น.
หลายบทว่า ปญฺหํ ปุจฉติ ปญฺหํ ปุฏฺโฐ กเถติ มีความว่า
ภิกษุณีย่อมถามปัญหาอิงครุธรรม หรืออิงธรรมมีชันธ์เป็นต้น . ไม่เป็นอาบัติ
แม้แก่ภิกษุผู้กล่าวแก้ปัญหานั้น.
สองบทว่า อญฺญสฺสตฺถาย ภณนฺตํ มีความว่า ภิกษุณีทั้งหลาย
เข้าไปหาภิกษุผู้กำลังแสดงธรรมในบริษัท 4 แล้วฟังอยู่. แม้ในการกล่าวเพื่อ
ประโยชน์แก่คนอื่นนั้น ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุ.
สองบทว่า สิกฺขมานาย สามเณริยา คือ ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุ
ผู้แสดงแก่สิกขมานาและสามเณรีเหล่านั้น. บทที่เหลือ มีอรรถตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนปทโสธรรมสิกขาบท เกิดขึ้นทางวาจา 1
ทางวาจากับจิต 1 เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัติวัชชะ
วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ดังนี้แล.
โอวาทสิกขาบทที่ 1 จบ

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ 2


เรื่องพระจูฬปันถกเถระ


[42 ] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระเถระ
ทั้งหลาย ผลัดเปลี่ยนกันกล่าวสอนพวกภิกษุณี สมัยนั้น ถึงวาระของท่าน
พระจูฬปันถกที่จะกล่าวสอนพวกภิกษุณี ๆ พูดกัน อย่างนี้ว่า วันนี้โอวาทเห็น
จะไม่สำเร็จประโยชน์ เพราะประเดี๋ยวพระคุณเจ้าจูฬปันถกจะกล่าวอุทานอย่าง
เดิมนั่นแหละซ้ำ ๆ ซาก ๆ แล้วพากันเข้าไปหาท่านพระจูพปันถก อภิวาท
แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
ท่านพระจูฬปันถกได้ถามภิกษุณีเหล่านั้น ผู้นั่งเรียบร้อยแล้ว ดังนี้ว่า
พวกเธอพร้อมเพรียงกันแล้วหรือ น้องหญิงทั้งหลาย.
ภิกษุณี. พวกดิฉันพร้อมเพรียงกันแล้ว เจ้าข้า
จูฬ. ครุธรรม 8 ประการยังเป็นไปดีอยู่หรือ น้องหญิงทั้งหลาย.
ภิกษุณี. ยังเป็นไปดีอยู่ เจ้าข้า.
ท่านพระจูฬปันถกสั่งว่า นี่แหละเป็นโอวาทละ น้องหญิงทั้งหลาย
แล้วได้กล่าวอุทานนี้ซ้ำอีก ว่าดังนี้.
ความโศก ย่อมไม่มีแก่มนุษย์ ผู้มีจิตตั้ง
มั่น ไม่ประมาท ศึกษาอยู่ในโมเนยยปฏิปทา
ผู้คงที่ ผู้สงบระงับ มีสติทุกเมื่อ.

[425] ภิกษุณีทั้งหลายได้สนทนากันอย่างนี้ว่า เราได้พูดแล้วมิใช่
หรือว่า วันนี้ โอวาทเห็นจะไม่สำเร็จประโยชน์ เพราะประเดี๋ยวพระคุณเจ้า
จูฬปันถกจะกล่าวอุทานอย่างเดิมนั่นแหละซ้ำ ๆ ซาก ๆ.