บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำรูปทั้งหลายที่เป็น
อนุปาทินนธรรม ฯลฯ สัททะ ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น
อนุปาทินนธรรม ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ ราคะ ย่อมเกิดขึ้น
ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นอนุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
4. อนันตรปัจจัย
[373] 1. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนธรรม ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
ปัญจวิญญาณ เป็นปัจจัยแก่วิบากมโนธาตุ ด้วยอำนาจของอนันตร-
ปัจจัย.
วิบากมโนธาตุ เป็นปัจจัยแก่วิบากมโนวิญญาณธาตุ ด้วยอำนาจของ
อนันตรปัจจัย.
2. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทินนธรรม
ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
คือ ภวังค์ เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะ, วิบากมโนวิญญาณธาตุ เป็น
ปัจจัยแก่ กิริยามโนวิญญาณธาตุ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
3. อนุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทินนธรรม
ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนุปาทินนธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนุปาทินนธรรม ที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอนันตร-
ปัจจัย.
4. อนุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนธรรม
ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
คือ อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่ ปัญจวิญญาณ, ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น
อนุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
5. สมนันตรปัจจัย ฯลฯ 8. นิสสยปัจจัย
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัยฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย มี 5 วาระ
เหมือนกับปฏิจจวาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย มี 2 วาระ
เหมือนกับปฏิจจวาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย มี 5 วาระ
เหมือนกับนิสสยปัจจัยในปัจจยวาระ.
9. อุปนิสสยปัจจัย
[374] 1. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนธรรม ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
มี 2 อย่าง คือที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
สุขทางกาย เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย.
ทุกข์ทางกาย ฯลฯ อุตุ ที่เป็นอุปาทินนธรรม ฯลฯ โภชนะ เป็น
ปัจจัยแก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกาย ฯลฯ อุตุ ฯลฯ โภชนะ เป็นปัจจัย
แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
2. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทินนธรรม
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลอาศัยสุขทางกายแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
บุคคลอาศัยทุกข์ทางกายฯลฯ อุตุที่เป็นอุปาทินนธรรม ฯลฯ โภชนะ
แล้วให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ฯลฯ ทำลายสงฆ์.