เป็นปัจจัย ด้วยอํานาจของสหชาตปัจจัย มี 9 วาระ เหมือน
กับปฏิจจวาระ.
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย มี 5 วาระ เหมือน
กับปฏิจจวาระ.
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ เหมือนกับ
ปฏิจจวาระ.
9. อุปนิสสยปัจจัย
[279] 1. อัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ.
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
จิต เป็นปัจจัยแก่จิต ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย มี 3 วาระ
(วาระที่ 1-2-3)
4. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ฯลฯ เสนาสนะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ผลสมาบัติ
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
พึงแจกให้บริบูรณ์ทั้ง 3 วาระ (วาระที่ 4-5-6) พึงแจกแก่จิต,
และสัมปยุตตขันธ์.
7. อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่
อัชฌัตติกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย มี 3 วาระ (วาระที่
7-8-9)
10. ปุเรชาตปัจจัย
[280] 1. อัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม
ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย
มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ.
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ กายะ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักษุเป็นต้นนั้น จิต ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัย
แก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.