มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปปติ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุ ฯลฯ กายะ ฯลฯ
รูปทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม ฯลฯ คันธะ รสะ โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำจักษุ
เป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อม
เกิดขึ้น.
2. อนุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทินนธรรม
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย
มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ กระทำอุโบสถกรรมแล้ว ย่อมยินดี
ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว
พิจารณา ครั้นกระทำกุศลกรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ
ฯลฯ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
พิจารณากุศลที่ได้สั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ
ออกจากฌาน ฯลฯ
พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น แล้วพิจารณา ฯลฯ ผล ฯลฯ นิพพาน ฯลฯ
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, แก่โวทาน, แก่มรรค, แก่ผล
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำรูปทั้งหลายที่เป็น
อนุปาทินนธรรม ฯลฯ สัททะ ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น
อนุปาทินนธรรม ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ ราคะ ย่อมเกิดขึ้น
ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นอนุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
4. อนันตรปัจจัย
[373] 1. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนธรรม ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
ปัญจวิญญาณ เป็นปัจจัยแก่วิบากมโนธาตุ ด้วยอำนาจของอนันตร-
ปัจจัย.
วิบากมโนธาตุ เป็นปัจจัยแก่วิบากมโนวิญญาณธาตุ ด้วยอำนาจของ
อนันตรปัจจัย.
2. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทินนธรรม
ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
คือ ภวังค์ เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะ, วิบากมโนวิญญาณธาตุ เป็น
ปัจจัยแก่ กิริยามโนวิญญาณธาตุ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.