มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
พระอริยะทั้งหลายทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้ว
พิจารณา.
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู. แก่โวทาน, แก่มรรค, แก่ผล,
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตวิปปยุตตธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้น
กระทำจักษุเป็นต้นนั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น
ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
4. อนันตรปัจจัย ฯลฯ 8. นิสสยปัจจัย
[137] 1. จิตตสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสัมปยุตต-
ธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสัมปยุตตธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็น
ปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย มี 1 วาระ.
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย มี 7 วาระ เหมือน-
กับปฏิจจวาระ ปัจจัยสงเคราะห์ไม่มี.
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย มี 6 วาระ
เหมือนกับปฏิจจวาระ.
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย มี 7 วาระ เหมือนกับ
ปัจจยวาระ ปัจจัยสงเคราะห์ไม่มี.
9. อุปนิสสยปัจจัย
[138] 1. จิตตสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสัมปยุตต-
ธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้ว ให้ทาน ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ
ทุกข์ทางกาย แล้วให้ทาน ฯลฯ ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
ศรัทธา ฯลฯ ทุกข์ทางกาย ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ แก่มรรค
ฯลฯ แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
2. จิตตวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสัมปยุตต-
ธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยอุตุ ฯลฯ โภชนะ เสนาสนะ แล้วให้ทาน ฯลฯ
ทำลายสงฆ์.
อุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ แก่
ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.