พระอริยะทั้งหลาย ฯลฯ พิจารณานิพพาน ฯลฯ มีคำอธิบายเหมือนกับ
ข้อความตามบาลีข้างต้น.
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำขันธ์หลายที่ไม่ใช่
เจตสิกให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่นแล้ว ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก และจิต ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
7. ธรรมที่เป็นเจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก
เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ.
มี 3 วาระ เป็นอารัมมณาธิปติอย่างเดียว (วาระที่ 7-8-9)
4. อนันตรปัจจัย
[102] 1. ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็น
เจตสิก ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ทั้งหลายทั้งเป็นเจตสิก ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจอนันตรปัจจัย.
พึงถามถึงมูล. (วาระที่ 2)
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิกที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่จิตที่เกิดหลัง ๆ
ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
พึงถามถึงมูล (วาระที่ 3)
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิกที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่
เป็นเจตสิกที่เกิดหลัง ๆ และจิต ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
4. ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่
เจตสิก ด้วยอำนาจอนันตรปัจจัย
คือ จิตที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่จิตที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของ
อนันตรปัจจัย.
5. ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็น
เจตสิก ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
พึงกระทำเป็น 3 วาระ (วาระที่ 4-5-6) ดังที่กล่าวมา พึงยังคำ
อธิบายให้บริบูรณ์ เหมือนกับบาลีข้างต้น ไม่มีแตกต่างกัน.
7. ธรรมที่เป็นเจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก
เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
มี 3 วาระ (วาระที่ 7-8-9)
อาวัชชนะก็ดี วุฏฐานะก็ดี ไม่มี.
5. สมนันตรปัจจัย ฯลฯ 8. นิสสยปัจจัย
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย มี 9 วาระ
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย มี 9 วาระ
เหมือนกับปฏิจจวาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย มี 9 วาระ
เหมือนกับปฏิจจวาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ
เหมือนกับปัจจยวาระ.
9. อุปนิสสยปัจจัย
[103] 1. ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็น
เจตสิก ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
พึงถามถึงมูล (วาระที่ 2) มี 3 อุปนิสสยะ.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่จิต ด้วยอำนาจของอุปนิสสย-
ปัจจัย.
พึงถามถึงมูล (วาระที่ 3) มี 3 อุปนิสสยะ.