2. อนารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สารัมมณธรรม ด้วย
อำนาจของอารัมมณปัจจัย
คือ พระอริยะทั้งหลายพิจารณานิพพาน.
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, แก่โวทาน, แก่มรรค, แก่ผล, แก่
อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูป ด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียง ด้วยทิพโสตธาตุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ.
อนารัมมณขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิญญาณ, แก่เจโตปริย-
ญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ
แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
3. อธิปติปัจจัย
[22] 1. สารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สารัมมณธรรม ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย
มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ กระทำกุศลกรรม
นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้วพิจารณา, ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง
เพราะกระทำกุศลกรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ ย่อมเกิดขึ้น
ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ
พิจารณากุศลกรรมที่สั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ ออกจากฌานแล้ว
ทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ
พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรคแล้ว ทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น ฯลฯ ทำผลให้เป็นอารมณ์หนักแน่น ฯลฯ
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำสารัมมณขันธ์
ทั้งหลายให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำสารัมมณขันธ์นั้นให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
สารัมมณอธิปติธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจ
ของอธิปติปัจจัย.
2. สารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อนารัมมณธรรม ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
สารัมมณอธิปติธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย.
3. สารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สารัมมณธรรม และ
อนารัมมณธรรม
มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
สารัมมณอธิปติธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐาน-
รูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
4. อนารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สารัมมณธรรม
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
พระอริยะทั้งหลายกระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้ว
พิจารณา.
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่ โคตรภู, แก่โวทาน, แก่มรรค, แก่ผล
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ
4. อนันตรปัจจัย
[23] 1. สารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สารัมมณธรรม ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย
คือ สารัมมณธรรมที่เกิดก่อน ๆ ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย.