7. ธรรมที่เป็นจิต และธรรมที่ไม่ใช่จิต เป็นปัจจัยแก่
ธรรมที่เป็นจิต ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
คือ จิต ปรารภจิต เเละสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย มี 3 วาระ (วาระ
ที่ 7-8-9)
3. อธิปติปัจจัย
[63] 1. ธรรมที่เป็นจิต เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นจิต ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
จิต ทำจิตให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมเกิดขึ้น.
2. ธรรมที่เป็นจิต เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิต ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย
มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่จิต ทำจิตให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว
ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
จิตตาธิปติธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
3. ธรรมที่เป็นจิต เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นจิต และ
ธรรมที่ไม่ใช่จิต ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
จิต และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ทำจิตให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
แล้ว ย่อมเกิดขึ้น.
4. ธรรมที่ไม่ใช่จิต เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิต
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย
มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ
บุคคลกระทำกุศลธรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา
ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำกุศลธรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
พิจารณากุศลธรรมที่ตนอบรมมาดีแล้วในกาลก่อน ฯลฯ
ออกจากฌาน ฯลฯ
พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรคแล้ว พิจารณามรรค, ผล ฯลฯ
นิพพาน ฯลฯ กระทำให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, แก่โวทาน แก่มรรค, แก่ผล, ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย.
บุคคลกระทำจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่จิต
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะ
กระทำจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ
ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่ไม่ใช่จิต เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
5. ธรรมที่ไม่ใช่จิต เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นจิต ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย
คำอธิบายทั้งสองอย่างนี้ เหมือนกับคำอธิบายตามบาลีตอนต้น ไม่มี
แตกต่างกัน พึงกระทำทั้งอารัมมณาธิปติ และสหชาตาอธิปติ.
6. ธรรมที่เป็นจิต และธรรมที่ไม่ใช่จิต เป็นปัจจัย
แก่ธรรมที่เป็นจิต ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ แม้ทั้ง 3 วาระ (วาระที่7 - 9)
ธรรมที่พึงทำให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ก็เป็นอารัมมณาธิปติ
อย่างเดียว.
4. อนันตรปัจจัย
[64] 1. ธรรมที่เป็นจิต เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นจิต ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย
คือ จิตที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่จิตที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของ
อนันตรปัจจัย.
2. ธรรมที่เป็นจิต เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่เป็นจิต
อำนาจของอนันตรปัจจัย