คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอนุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
2. อารัมมณปัจจัย
[371] 1. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนธรรม ด้วย
อำนาจของอารัมมณปัจจัย
คือ พิจารณาจักษุ ฯลฯ กายะ ฯลฯ รูปทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม
คันธะ รสะ โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น ครั้นเมื่อกุศล และ
อกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตที่เป็นวิบาก ย่อมเกิดขึ้น.
รูปายตนะที่เป็นอุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ
คันธายตนะที่เป็นอุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพ-
พายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
2. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทินนธรรม
ด้วยอำนาจของอารัมณปัจจัย
คือ พิจารณาจักษุ ฯลฯ กายะ ฯลฯ รูปทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม
คันธะ รสะ โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูป ซึ่งเป็นอุปาทินนธรรม ด้วยทิพยจักษุ.
บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ซึ่งเป็นอุปาทินนธรรม
ด้วยเจโตปริยญาณ.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ, แก่
เจโตปริยญาณ, แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ, แก่อนาคตังสญาณ, แก่
อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
3. อนุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทินนธรรม
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
คือ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ กระทำอุโบสถกรรม แล้วพิจารณา
ซึ่งกุศลกรรมนั้น ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภกุศลกรรมนั้น
ราคะ ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
พิจารณากุศลทั้งหลายที่ได้สั่งสมไว้แล้วในกาลก่อนฯ ฯ จากฌาน ฯลฯ
พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค แล้วพิจารณามรรค, ผล ฯลฯ
นิพพาน ฯลฯ
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, แก่โวทาน, แก่มรรค, แก่ผล,
แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
พระอริยะทั้งหลาย พิจารณากิเลสที่ละแล้ว, พิจารณากิเลสที่ข่มแล้ว,
รู้กิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดแล้วในกาลก่อน, ฯลฯ พิจารณารูปทั้งหลายที่เป็น
อนุปาทินนธรรม ฯลฯ สัททะ ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น
อนุปาทินนธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นอนุปาทินนธรรม
ด้วยเจโตปริยญาณ.
อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ อากิญ-
จัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ, แก่
เจโตปริยญาณ, แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ, แก่ยถากัมมูปคญาณ, แก่
อนาคตังสญาณ, แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
4. อนุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทินนธรรม
ด้วยอํานาจของอารัมมณปัจจัย
คือ พิจารณารูปทั้งหลายที่เป็นอนุปาทินนธรรม ฯลฯ สัททะ ฯลฯ
โผฏฐัพพะ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนุปาทินนธรรม โดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น ครั้นเมื่อกุศลและอกุศล ดับไปแล้ว
ตทารัมมณจิต ที่เป็นวิบาก ย่อมเกิดขึ้น.
อากาสานัญจายตนกุศล เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนวิบาก ฯลฯ
อากิญจัญญายตนกุศล เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนวิบาก.
รูปายตนะ ที่เป็นอนุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ
สัททายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของ
อารัมมณปัจจัย.
3. อธิปติปัจจัย
[372] 1. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทินนธรรม
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย