เมนู

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก และจิต ปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก
และจิต ย่อมเกิดขึ้น.

3. อธิปติปัจจัย


[101] 1. ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก
เจตสิก ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นเจตสิก ทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิกให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย.
พึงถามถึงมูล. (วาระที่ 2)
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
จิต ทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิกให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว
ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่

อธิปติธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่จิต และจิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
พึงถามถึงมูล. (วาระที่ 3)
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก และจิต ทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิกให้
เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย, จิต
และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
4. ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่
เจตสิก ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
พระอริยะทั้งหลาย ฯลฯ ทำนิพพาน ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว
พิจารณา.
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, แก่โวทาน, แก่มรรค, แก่ผล ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย.
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่เจตสิก ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำจักษุ
เป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว จิต ย่อมเกิดขึ้น.

ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
5. ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็น
เจตสิก ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
พระอริยะทั้งหลาย ฯลฯ ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ
มีคำอธิบายเหมือนกับคำภาษาบาลีข้างต้น.
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะการกระทำจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่เจตสิกให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำจักษุ
เป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อม
เกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย
6. ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็น
เจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก ด้วยอำนาจอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่

พระอริยะทั้งหลาย ฯลฯ พิจารณานิพพาน ฯลฯ มีคำอธิบายเหมือนกับ
ข้อความตามบาลีข้างต้น.
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำขันธ์หลายที่ไม่ใช่
เจตสิกให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่นแล้ว ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก และจิต ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
7. ธรรมที่เป็นเจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก
เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ.
มี 3 วาระ เป็นอารัมมณาธิปติอย่างเดียว (วาระที่ 7-8-9)

4. อนันตรปัจจัย


[102] 1. ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็น
เจตสิก ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ทั้งหลายทั้งเป็นเจตสิก ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจอนันตรปัจจัย.
พึงถามถึงมูล. (วาระที่ 2)