เมนู

14. วิปากปัจจัย ฯลฯ 15. อาหารปัจจัย


[214] 1. จิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสหภูธรรม
ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย
. เหมือนจิตตสมุฏฐานทุกะ.
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย มี 9 วาระ เหมือน
จิตตสมุฏฐานทุกะ แม้ทุกะนี้ก็มี 1 วาระ เหมือนกพฬีการาหาร.

16. อินทริยปัจจัย ฯลฯ 19. สัมปยุตตปัจจัย


[205] 1. จิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสหภูธรรม
ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย
มี 9 วาระ เหมือนจิตตสมุฏฐานทุกะ ไม่มี
ต่างกัน.
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย มี 3 วาระ.
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย มี 3 วาระ.
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย มี 5 วาระ.

20. วิปปยุตตปัจจัย


[216] 1. จิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสหภูธรรม
ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลายที่เป็นจิตตสหภูธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

2. จิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตต-
สหภูธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้ง
หลายที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม ด้วยวิปปยุตตปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสหภูธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายที่ไม่
ใช่จิตตสหภูธรรมนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
3. จิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสหภูธรรม
และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้ง
หลาย ที่เป็นจิตตสหภูธรรม และไม่ใช่จิตตสหภูธรรม ด้วยอำนาจของวิปป-
ยุตตปัจจัย.
4. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

จิต เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลายที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม ด้วย
อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ จิต เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจ
ของวิปปยุตตปัจจัย.
จิต เป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย, หทยวัตถุ
เป็นปัจจัยแก่จิต ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่ จักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของวิปปยุตต-
ปัจจัย ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่จิต ด้วยอำนาจของ
วิปปยุตตปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
จิตที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรมที่เกิดก่อน
ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
5. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตต-
สหภูธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปุเรชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
จิต เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลายที่เป็นจิตตสหภูธรรม ด้วย
อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่

จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ
ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสหภูธรรม ด้วยอำนาจ
ของวิปปยุตตปัจจัย.
6. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตต-
สหภูธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม ด้วยอำนาจของ
วิปปยุตตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปุเรชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
จิต เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลายที่เป็นจิตตสหภูธรรม และ
ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณและสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วย
อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่จิต
และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
7. จิตตสหภูธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม
เป็นปัจจัยแก่จิตตสหภูธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสหภูธรรมและจิต เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน-
รูปทั้งหลายที่เป็นจิตตสหภูธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
8. จิตตสหภูธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม
เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตต-
ปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสหภูธรรม และจิตเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน-
รูปทั้งหลายที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสหภูธรรม และจิตที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัย
แก่กายนี้ที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
9. จิตตสหภูธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม
เป็นปัจจัยแก่จิตตสหภูธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม ด้วย
อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสหภูธรรม และจิตเป็นปัจจัยแก่จิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ที่เป็นจิตตสหภูธรรม และไม่ใช่จิตตสหภูธรรม ด้วย
อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

21. อัตถิปัจจัย


[217] 1. จิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสหภูธรรม
ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

คือ ขันธ์ 1 ที่เป็นจิตตสหภูธรรม ฯลฯ เหมือนกับปฏิจจวาระ
2. จิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตต-
สหภูธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ ฯลฯ
3. จิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสหภูธรรม
และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

คือ ขันธ์ 1 ที่เป็นจิตตสหภูธรรม ฯลฯ เหมือนกับปฏิจจวาระ
4. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 5 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ
อินทริยะ
ฯลฯ
5. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตต-
สหภูธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปุเรชาตะ
6. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตต-
สหภูธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิ-
ปัจจัย